2/2 CIID DESIGNING FOR PUBLIC OUTCOMES เมื่อการออกแบบมีความหมายมากกว่างานออกแบบ ฉบับคนง่าวรีวีว

มาต่อกันใน Part 2/2 กันเลย!

Sarawuth Chinbenjapol
odds.team
3 min readApr 20, 2023

--

วันที่ 1

“เราไม่ได้เป็นเพียงนักออกแบบ (Designer)แต่เราเป็นผู้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง (Changemarker)”

วันแรกเป็นวันที่ผมประหม่าและตื่นเต้นมาก เพราะเป็นวันแรกที่ได้เจอสถานที่ใหม่ๆและเพื่อนใหม่ๆ แต่ทาง CIID เขาก็ค่อนข้างสร้าง vibe ได้ค่อนข้างน่าสนใจ คือการที่มีพื้นที่กินของว่างยามเช้าให้ แต่มีโต๊ะบาร์เพียง 4 โต๊ะเอาไว้ที่ห้องอาหาร ทำให้เราต้องวางของกินไว้บนโต๊ะ พร้อมกับพูดคุยกับคนใหม่ๆหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา ซึ่งผมว่าเป็นการทำ Ice Breaking ได้อย่างแยบยลเลยทีเดียวล่ะ

Design for Public Outcome คือ การออกแบบเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชน

บอกตรงๆว่ายังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่นะครับ งงๆ อิหยังหว่าพอสมควร แต่จะเข้าใจมากขึ้นในวันที่ 4 เพราะเหมือนในวันแรกๆ ทางผู้สอนพยายามยกงานตัวอย่างที่เคยทำให้เรามาค่อนข้างน่าสนใจ อย่างการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของการวางแผนครอบครัวในประเทศเอธิโอเปีย มีวีธีการอย่างไรบ้าง ซึ่งตอนนั้นก็คิดในใจว่าโหหห มันเปลี่ยนได้ขนาดนั้นเลยเหรอ งานออกแบบนี้มัน Impact ขนาดนั้นเลยจริงๆเลยแฮะ (โดนสะกดจิต ฮ่าๆๆๆ)

มีกิจกรรมเล็กๆทำให้เราเห็นว่า การจะเปลี่ยนพฤติกรรมมันมีหลายปัจจัยที่อยู่รอบๆตัวเรา ซึ่งผ่านการออกแบบทั้งสิ้น ตั้งแต่ถนน เสียง โต๊ะ เก้าอี้ ประตู ทุกอย่างมีการออกแบบมาหมด

เราจะสร้างเงื่อนไขเหล่านั้นเพื่อมาปรับพฤติกรรมอย่างไรได้บ้าง? ซึ่งก็จะเป็นกิจกรรมหลักในสี่วันนี้ที่จะเกิดขึ้น !

กิจกรรมทั้งหมดจะพุ่งเป้าไปที่

  • การตั้ง Challege ภาพที่เราอยากจะเห็นฝันเอาไว้
  • Mission ในการไปถึง Challege นั้นมีอะไรบ้าง และ Mission นั้นต้องวัดผลได้
  • มีองค์ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ที่เกี่ยวเนื่องไปถึงมุมต่างๆ เพื่อที่เราจะได้เข้าไปร่วมแก้ปัญหานั้น
  • ต้องทำอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นงานออกแบบงานบริการ ออกแบบผลิตภัณฑ์ทุกอย่าง สามารถเกี่ยวโยงได้หมด

ทั้งหมดนี้เรียกว่า Mission-oriented innovation จ้า

“เส้นทางแห่งการมีนวัตกรรมคือการโอบกอดความฝันให้มั่น และพร้อมจะต่อสู้กับปัญหาระยะสั้นอยู่ตลอดเวลา”

Work to other — — -> Work together

วันที่ 2

“การได้ข้อมูลที่แจ่มแมว มักจะมากจากการร่วมแรงร่วมใจของข้อมูลที่หลากหลาย จากหลายๆคน หลากหลายกลุ่ม มาทำงานร่วมกัน”

วันที่สองกับการเข้าประตูไปเรียนไม่ได้เพราะมันล๊อคอยู่ รอนานถึงจะมีคนมาเปิด กับบาร์อาหารเช้าที่หายไป👨‍🦰 วันนี้ช่วงเช้าเป็นวันที่เรามาเรียนเกี่ยวกับเรื่อง “พลังของความหลากหลาย” พลังความหลากหลายมาจากการที่เราหาผู้ที่มีส่วนร่วมหลายๆศาสตร์ หลายๆแขนงมาให้ไอเดียที่มุมมองที่แตกต่าง

เป็นรูปที่ติดหัวของผมมาก เพราะมัน Visual ความสัมพันธ์ขององค์ความรู้ที่หลากหลายมาผสมผสานกันเพื่อให้เกิดข้อมูลและองค์ความรู้ใหม่ๆ

หลังจากที่ทางผู้สอนพยายามร่ายมนต์สะกดให้เราภูมิใจในพลังในความหลากหลายของทีมเพื่อส่งมอบความคิดสร้างสรรค์ จากนั้นผมก็โดนแบ่งกลุ่มกันไปปนๆกับกลุ่มคนอื่นที่ต้องการจะศึกษาในหัวข้อที่ไม่เหมือนเรา เพื่อที่จะไปเปิดมุมมองที่หลากหลายมากขึ้น

เข้าใจปัญหา

จริงๆตอนในคลาสทางผู้สอนพยายามบอกว่าการได้ซึ้งข้อมูลนั้นมีหลายแบบมากไม่ว่าจะเป็นการ สัมภาษณ์คน การสอบถามผู้เชียวชาญ การสังเกตการณ์ การศึกษาจากสิ่งที่ใกล้เคียงกับเรา หรือแม้กระทั่งการหาข้อมูลการวิจัยขั้นทุติยภูมิ (พวกหาในอินเตอร์เน็ตต่างๆ)

อยากรู้ต้องออกจากห้อง

เที่ยงวันของวันที่สองเราต้องไปสัมภาษณ์ทำความรู้จักกับผู้สูงอายุในเมืองจริงๆที่ทาง CIID ได้ขอความร่วมมือไว้โดยมีเพื่อนในทีมที่เป็นคนอิตตาเลียนช่วยแปลให้เป็นพักๆ และคนที่สองที่เราไปสัมภาษณ์จะเป็นนักจิตวิทยาผู้สูงอายุที่ร่วมงานกับนักสังคมสงเคราะห์ ซึ่งส่วนตัวผมมีข้อน่าสนใจกับกิจกรรมนี้คือ หลังจากที่เราไปทำความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมายแล้วเราคุยกับผู้เชี่ยวชาญอีกครั้ง เหมือนเป็นการแมพข้อมูลสองข้อมูลได้อย่างน่าสนใจ เราจะเห็นพื้นที่ที่เหมือนกัน และช่องว่างที่ไม่เหมือนกัน เกิดเป็นข้อสงสัยใหม่ๆ ทำให้เราได้ต่อยอดต่อสมมุติฐานได้กว้างขึ้น แน่นอนผมก็เดาว่าหากเราได้ทำความรู้จักกับคนอื่นๆมากขึ้น เราจะมีข้อมูลในการแมพสิ่งที่น่าสนใจและมองปัญหาได้ลึกมากขึ้นเช่นกัน

ที่จริงตอนไปสัมภาษณ์ทางผู้สอนก็มีเทคนิคเล็กๆน้อยๆก่อนลงพื้นที่ครับ คือ

  • เตรียมตัวในการตั้งคำถาม : เตรียมตัวว่าอะไรบ้างที่เราอยากจะรู้
  • แบ่งหน้าที่ : แบ่งหน้าที่ว่าใครเป็นคนจด คนถาม ถ่ายรูป
  • โปร่งใส : บอกกับผู้ถูกสัมภาษณ์ว่าเรามาทำอะไร อะไรที่จะเกิดขึ้นบ้าง
  • สร้างพื้นที่ปลอดภัย : ทำให้ผู้สัมภาษณ์รู้สึกปลอดภัย เป็นกันเอง
  • จดและเปิดใจ : จดในสิ่งที่น่าสนใจ มีประเด็นอะไรที่น่าจะถามไปคำถามต่อยอด
ภาพที่อยู่ในหัวตอนคุยกับ Information ที่ 1 และ ที่ 2

วันที่ 3

“สิ่งที่เราตัดสินใจและออกแบบในวันนี้ส่งผลกระทบต่อชีวิตรุ่นที่ยังไม่เกิด”

วันที่สามเม้าส์มอยกับทางทีมว่าแต่ละคนไปเจออะไรมาบ้างตั้งแต่เช้า ซึ่งในแววตาของทุกคนในกลุ่มเหมือนตื่นเต้นกับบ่ายของเมื่อวาน และแน่นอนที่สุดสิ่งที่สำคัญคือการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดให้ Visualize มากที่สุดไม่ว่าจะเป็นการเขียนลงไปใน Post-it การวาดรูป การทำ User Journey เป็นต้น

หากเราอยากจะหาทางออกให้กับผู้ใช้งาน เราต้องเข้าใจปัญหาก่อน ดูปัจจัยและผลกระทบในมิติอื่นๆด้วย ด้วยวิธีการที่แสนเรียบง่ายอย่าง Mind Mapping ในรูปแบบที่เรียกว่า Futures Wheel

เรียบง่ายแต่ทรงพลัง

หลังจากที่ลองคิดนั่น ฟุ้งนี้ไปทั่วมีไอเดียต่างๆนาๆมากมายในการคิด Feature ที่อยากแก้ปัญหา…. แต่เดี๋ยวก่อน! ก่อนจะไปถึงตรงนั้น

“ อย่าเพิ่งกระโดดไปที่ Solution สิ ” เพื่อนในทีมพูดมา

ทันใดนั้นทางผู้สอนก็ได้เริ่ม Slide หน้าถัดไปกับสิ่งที่เรียกว่า “Identify Opportunities” สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เหมือนจะง่ายสำหรับกลุ่มอื่น(แอบไปถามมา) แต่มันใช้เวลาค่อนข้างนานสำหรับกลุ่มผม เพราะระบุโอกาสที่ดีมันต้องมีองค์ประกอบอยู่ 3 อย่างก็คือ

  • เราต้องการสื่อสารว่าอะไรเป็นสิ่งที่ผู้ใช้งานต้องการมากที่สุด
  • หลีกเลี่ยงการฝังการแก้ปัญหาลงในปัญหา
  • สามารถแก้ไขปัญหาได้หลายวิธี

เป็นไปตามคาดครับพวกเราติดกับการฝังวิธีการแก้ปัญหาลงในปัญหา เพราะว่าเรามีไอเดียทุกครั้งที่เราพูดถึงเป็นหา ซึ่งทำให้เราไม่สามารถมองการแก้ปัญหาในมิติอื่นๆได้อย่างครอบคลุม แต่ท้ายที่สุดเราก็ทำมันได้! 🤩🤩🤩🤩

“การมีไอเดียที่เยอะ และมีข้อสงสัยกังวลกับไอเดียนั้นไม่ใช่ปัญหา เพราะมันจะเริ่มนิ่งต่อเมื่อคุณเริ่ม Validate มัน”

User Journey เป็นสิ่งที่เรียบง่ายแต่ยังทรงพลังในการปะติดปะต่อสิ่งที่เราอยากจะให้เป็น โดยทางผู้สอนได้แบ่ง User Journey เป็น 4 State คือ

  1. Connect : ผู้ใช้งานรู้จักเราได้อย่างไร
  2. Orient : ผู้ใช้งานเรียนรู้ ศึกษาเพิ่มเติมการใช้งานของเราได้อย่างไร
  3. Interact : ผู้ใช้งานจะใช้บริการหรือผลิตภัณฑ์ของเราได้อย่างไร
  4. Retain : เราจะรักษาให้ผู้ใช้งาน ยังคงใช้งาน หรือกลับมาใช้งาน ระบบเราได้อย่างไร
Concept Idea ในรูปแบบ Story Board บน User Journey

จะเห็นได้ว่า Interact กับ Retain ต้องหาทางทำให้มันเกิดซ้ำๆเพราะการทำซ้ำๆจะทำให้เกิดเป็นพฤติกรรม รวมเป็นชุมชน และขยายผลเป็นภาพใหญ่ที่สุดคือวัฒนธรรมที่ฝังลงไปในชุมชนเลย (อันนี้เจ๋งมากคนง่าวอย่างผมชอบ 😝😝😝)

“แก้ปัญหาให้คนเพียงหนึ่งคนเพื่อขยายผลไปยังหลายๆคน”

วันที่ 4

“โปรเจ็คของคุณจะเข้าที่เข้าทางได้โดยปัจจัยทางสังคม การเมือง ปัญหาเชิงเทคนิค”

ปล่อยของ

หลังจากที่เราตั้งเป้าหมาย ทำความเข้าใจ หาปัญหา วิเคราะ สังเคราะห์ หาความเป็นไปได้ ทำเป็น Prototype ซึ่งหลายทีมทำเป็น Concept Idea ในรูปแบบ Story Board บน User Journey เพื่อนำเสนอกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องดู

แต่ในส่วนที่น่าสนใจและส่วนตัวผมรู้สึกค่อนข้างชอบคือ ทางผู้สอนให้เราเขียนบทพูดโฆษณาทางวิทยุ เพื่อเป็น Connect แรกก่อนจะเข้าสู่ Orient (ย้อนไปดูของวันที่ 3 ของส่วน User Journey) เป็น Prototype ง่ายๆว่า เราขายไอเดียหลักได้ไหม

รายการวิทยุให้กับผู้ที่คาดว่าจะใช้งานฟังจริงๆไปเลยจ้า 📻 🎙📻 🎙

พอเสนอโฆษณาสุดครีเอทีฟเรียบร้อยแล้ว เราก็เปิดโต๊ะกลมให้กับทาง User ได้ให้ความเห็นกันว่าเขาอยากปรับปรุงตรงไหนบ้าง มีตรงไหนที่เป็นกังวล ตรงไหนที่เป็นจุดที่โดดเด่น จากผู้ที่คาดว่าน่าจะใช้งานจริง และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

“เราสร้างแนวทางร่วมกันระว่างผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อระบุช่องว่างทางทรัพยากร หรือทักษะ เพื่อให้ทราบว่าแนวทางไหนนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด”

เติมเต็มและจัดเก็บข้อมูลด้วย Contectual Logic Model

เป็นเฟรมเวิร์คสุดเท่ ที่ทำให้เราเติมเต็มสิ่งที่ขาด เป็นการค้นหาและจัดเก็บข้อมูลกับความสัมพันธ์ได้อย่างเป็นระบบ โดยกรอกข้อมูล 5 ช่องหลักๆดังนี้

  1. Input : ต้องอาศัยสิ่งใดบ้างเพื่อให้สิ่งที่เราจะทำสำเร็จ
  2. Activities : ต้องอาศัยกิจกรรมไหนบ้างล่ะเพื่อทำให้สิ่งที่เราจะทำสำเร็จ
  3. Outputs : หลังจากทำเสร็จแล้วจะได้อะไรบ้างที่เป็นรูปธรรม
  4. Short Term Outcomes : จะส่งผลอย่างไรกับพฤติกรรมเบื้องต้นกับผู้ใช้งานบ้าง
  5. Long Term Outcomes : จะส่งผลในระยะยาวได้ประมาณไหน

ที่จริงก็จะต้องกรอกพวกมีปัจจัยทาง สังคม การเมือง เทคนิก อะไรบ้างแต่ไม่กล้าเขียนในนี้ครับ เพราะผมทำไม่ทัน ฮ่าๆๆๆๆ 🙏🏻🙏🏻🙏🏻🙏🏻

หลังจากนั้นก็ทำแบบนี้ซ้ำๆตั้งแต่การปรับปรุงตั้งแต่ User Journey และทดลองปรับปรุง Prototype อยู่เรื่อยๆ

________________________________________________________________

แด่ผู้ที่เกี่ยวข้อง

ขอขอบคุณ ทีมทั้ง Maike, Alberto, Jessica, Francesca ที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขและอดทนต่อผมเป็นอย่างมาก ต้องขอสารภาพเลยว่า ผมไม่ได้สื่อสารภาษาอังกฤษขนาดเข้าใจทุกอย่าง สื่อสารได้ก็มี ไม่ได้ก็มาก แต่ทีมคอยใจเย็นกับผมอยู่เสมอมา พูดช้าๆเพื่อให้ผมเข้าใจมากขึ้น และหลายครั้งผมก็ขอความช่วยเหลือจากพวกเขา ช่วยทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผู้สอนอธิบายและสอนให้ชัดขึ้น ขอบคุณพวกเขาจริงๆ

ขอขอบคุณทีม Odds ทั้งทางพี่เต๋าพี่ใหญ่ที่น่ารักที่คอยดูแลจัดหาอำนวยความสะดวกทุกอย่างให้กับพวกเรา ถ้าไม่มีพี่เต๋าคงลำบากมากจริงๆ ขอบคุณทางพี่เฟิร์สที่คอยดูแลน้องคนนี้อย่างดีมาตลอด บางทีผมก็กวนใจรบกวนยืมนั่นนี่บ้าง อยากให้ไม่ถือสา ฮ่าๆๆ ขอบคุณพี่บิลที่เป็นคนที่เดินเที่ยวด้วยแล้วรู้สึกตื่นเต้นตลอดหัวเราะตลอดทาง ขอบคุณน้องฟ้าที่เป็นเหมือนอาจารย์ติวภาษาอังกฤษให้ แล้วก็นางสตรองมากจริงๆ ขอบคุณความกลมกล่อมนี้ครับ 🤩 🤩 🥳

ขอขอบคุณ Odds ที่มอบความไว้ใจให้กับเด็กตัวน้อยๆคนนี้ได้ไปเปิดโลกกว้างมากขึ้น ต้องเรียกได้ว่าเป็นผู้สนับสนุนหลักให้พวกเราได้เติบโตอย่างมีวุฒิภาวะ หากไม่มี Odds คอยผลักดันคงเป็นเรื่องยากที่จะเกิดคลาสในวันนี้

วันนี้ผมเติบโตเป็นวัยรุ่น ที่มีความแข็งแกร่งกับโลก และยังจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง ไปเป็นผู้ใหญ่ที่นำพาเด็กตัวน้อยๆ ให้สนุกกับการแก้ปัญหา ด้วยจิตวิญญาณแห่งการเรียนรู้

ขอบคุณทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจริงๆครับ 🙏🏻🙏🏻🙏🏻🙏

ท้ายที่สุดผมชอบประโยคนี้มาก ^_^

“Design builds bridges between people and possible futures through facilitation, mediation, and creation”

Our Team
Odds Team
ODDS

--

--