การออกแบบในโลกของทุกคน “Inclusive Design”

20Scoops CNX Technology Blog
20Scoops CNX
Published in
3 min readNov 11, 2022

เกริ่นสักนิดว่าช่วงก่อนหน้านี้ ได้เห็นฉากหนึ่งที่น่าสนใจในซีรียส์ Extraordinary Attorney Woo ทนายออทิสติกที่ได้ใช้ชีวิตการทำงานจริงในชั้นศาล ซึ่งก็คือฉากที่นางเอกพูดถึงประตูหมุนอัติโนมัติของสำนักงานทนายความว่า

“ข้อดีของประตูหมุน คือสามารถให้ผู้สัญจรเข้าออกอาคารได้ ในขณะที่มีการปิดกั้นทิศทางอาการระหว่างภายนอกและภายในโดยสมบูรณ์ค่ะ มีประโยชน์ต่อการคุมอากาศเย็นและร้อนค่ะ แต่ความเร็วในการจัดการสัญจรช้ากว่าประตูปกติ เด็กและคนชราอาจจะติดอยู่ในประตูได้ ผู้ใช้วีลแชร์ยังใช้งานยากด้วยค่ะ

ข้อดีมีหนึ่งข้อ แต่ข้อเสียปาไปสามเลยค่ะ”

-Extraordinary Attorney Woo Ep.1 43:51

ประโยคนี้ของนางเอกเป็นที่มาที่ทำให้เราอยากเขียนบทความนี้นั่นเอง :)

— — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — -

เราจะออกแบบผลิตภัณฑ์ X เพื่อผู้ใช้ Y

ย้อนกลับไปสมัยที่ยังเป็นนักศึกษา ตอนที่เราได้โจทย์ให้ออกแบบอะไรสักอย่าง สารภาพว่าสิ่งที่เราเอาแต่โฟกัสมีเพียงแค่ จะทำ อะไร ให้ ใคร เท่านั้นเอง ซึ่งหลายครั้งเลยทีเดียวที่คำว่า ใคร คนนั้นของเรา มักเป็นเพื่อนในจินตนาการที่มีภาพแทนชัดเจน พื้นเพไม่หนีจากตัวเราหรือไม่ซับซ้อนมาก พอได้ภาพกลุ่มตัวแทนแล้ว นักศึกษาไฟแรงอย่างเราก็ลุยไปต่อเลยทั้งอย่างนั้น

สุดท้ายได้ Product ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ไหม… ก็… ก็ได้นะ….แต่เมื่อลองเปลี่ยนกลุ่มผู้ใช้ หรือผู้ใช้เดิมในอีกสถานการณ์หนึ่ง ผลิตภัณฑ์นั้นก็ดูจะสร้างปัญหาขึ้นมาทันที :( ระหว่างที่เอาแต่คิดว่าทำไมกันล่ะนี่ ก็มีโอกาสรู้จักคำว่า “Inclusive Design” แล้วถึงเริ่ม อ๋ออออ ขึ้นมาบ้าง

เมื่อเอาแต่คิดว่าจะออกแบบให้ ”ใคร” เราก็เผลอกีดกัน “ใครอีกหลายคน” ออกไปเสียแล้ว

Inclusive Design เป็นแนวคิดที่เราได้ยินมาบ้างควบคู่มากับ Universal Design หรือ Accessibility ทั้งนี้ต้องขอบคุณ Microsoft ที่จัดสรุปเนื้อหาเป็น Toolkit สั้นๆ ให้นักออกแบบอย่างเราได้ศึกษาแนวคิดนี้ด้วยค่ะ

“Inclusive Design is a methodology, born out of digital environments, that enables and draws on the full range of human diversity. Most importantly, this means including and learning from people with a range of perspectives.”

จากด้านบน พอจะเห็น Key สำคัญบ้างไหมคะ? ใช่แล้ว มันคือ “Range of Diversity” กับ “Perspective” นั่นเอง

แน่นอนว่าใน Digital Product นั้น การจะจำกัดให้ User ของเราเป็นเพียงคนๆ เดียวนั้นยากมากๆ เนื่องจากผู้คนที่มีความหลากหลายไม่ว่าจะ เพศ กายภาพ อายุ เชื้อชาติ ศาสนา ความสามารถ ไปจนถึงประสบการณ์ และความหลากหลายนั้นก็เป็นสิ่งที่กว้างขวางมากเลยด้วย ดังนั้นจะให้มีมุมมองต่อสิ่งสิ่งหนึ่งในทางเดียวกันก็คงไม่ได้หรอกนะ จริงไหม? ถ้าเราเริ่มออกแบบโดยคำนึงถึงเรื่องเหล่านี้ก่อน ก็จะทำให้ Product ของเรารองรับผู้คนได้หลากหลายมากขึ้น หรือก็คือ ครอบคลุม (Inclusive) มากขึ้นนั่นเอง

หลักการสำคัญของ Inclusive Design จาก Toolkit ของ Microsoft ที่นักออกแบบควรตระหนักไว้มี 3 ข้อด้วยกัน คือ

  1. Recognize Exclusion ระลึกไว้เสมอว่ามีคนที่ถูกมองข้ามอยู่
    อาจจะฟังดูเหมือนคำคมไปซักนิสสส แต่สิ่งสำคัญแรกในฐานะนักออกแบบที่ทำงานให้ผู้คน ควรนึกถึงอยู่เสมอ คือ การยอมรับว่าจะมี “คนที่ถูกหลงลืมและถูกกีดกัน ออกจากชีวิตประจำวันที่เรามองว่าแสนปกติ” เพื่อไม่ให้เราเผลอยึดตัวเอง หรือคนเพียงกลุ่มเดียวเป็นศูนย์กลาง และช่วยให้ทุกคนรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอย่างเท่าเทียม

2. Learn from diversity
มนุษย์เรามีความหลากหลาย และแต่ละคนมีความสามารถในการปรับตัวสูง ถึงแม้ว่าบางครั้งจะอยู่ในสถานการณ์ที่ติดขัดในชีวิตประจำวันบ้าง ก็มักจะหาทางปรับตัวให้ตนเองสะดวกสะบายขึ้นได้เสมอ ทำให้เรามีปฏิสัมพันธ์ต่อสิ่งสิ่งหนึ่งไม่เหมือนกัน สิ่งสำคัญที่ควรระลึกไว้ก็คือเรื่อง การบังคับพฤติกรรม มากจนเกินไป เพราะแม้ว่าผู้คนจะสามารถปรับตัวได้ง่าย แต่ก็ไม่ใช่ว่าเราควรจะบังคับให้เขามีประสบการณ์ตามที่เราอยากให้มี พวกเขาควรมีปฏิสัมพันธ์กับงานของเราตามประสบการณ์ที่พวกเขาคุ้นเคยและพอใจมากกว่า

3. Solve for one, Extend to many
มุ่งแก้ปัญหาให้ผู้ที่มีข้อจำกัดมากที่สุด แต่ก็ให้ประโยชน์กับคนหมู่มากด้วยก่อนจะไปต่อในข้อสุดท้ายนี้ อยากพูดถึงเรื่อง Disability หรือ ภาวะไร้ความสามารถ เก่อน เพราะพอได้ยินคำนี้ทีไร ในหัวก็จะนึกถึงเรื่องความพิการทางร่างกายก่อนเป็นอันดับแรกใช่ไหมคะ แต่จริงๆ แล้ว เพียงแค่เราอยู่ในสถานการณ์ที่มีอุปสรรคบางอย่างเกิดขึ้น คนทั่วไปก็สามารถกลายเป็นผู้ไร้ความสามารถได้ง่ายๆ เหมือนกันนะ

Persona Spectrum 3 ระดับ ที่ Microsoft อธิบายไว้ด้านล่างนี้จะทำให้เราเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้นค่ะ

เพียงดูจากตัวอย่าง Persona ที่ยกตัวอย่างขึ้นมาเราก็พอจะเข้าใจแล้วนะคะ ว่าทำไมการออกแบบให้แก่ผู้ที่มีข้อจำกัดมากที่สุด ถึงสร้างประโยชน์กับอีกหลายๆ คนได้

— — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — -

Digital product for everyone

หลังจากที่เราเริ่มรู้หลักแล้วว่า Inclusive Design คืออะไร และ ทำไมจึงสำคัญ เราจะมาต่อกันที่ตัวอย่างคร่าวๆที่บางทีทุกคนอาจจะเคยใช้งานอยู่แล้ว แต่แค่ไม่รู้ตัวก็ได้นะคะ

Dark Mode / High Contrast Mode
ระบบสีที่ช่วยให้ผู้มีปัญหาทางสายตาและคนชราเห็นการแสดงผลชัดเจนมากขึ้น แล้วยังช่วยให้คนทั่วไปที่มีสบายตาปกติสามารถใช้งานได้อย่างสบายตาขึ้นด้วย

ตัวอย่าง Dark mode ของหน้าเว็ป google.com

Video Caption
ระบบแคปชั่นใน Video ที่ไม่เพียงแต่ช่วยให้ผู้บกพร่องทางการได้ยิน หรือผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของภาษาดูวีดีโอรู้เรื่องมากขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่ยังช่วยใหคนทั่วไปสามารถดู Video ในสถานที่ที่มีเสียงรบกวนดังๆ หรือในสถานการณ์ที่ไม่สามารถฟังเสียงได้รู้เรื่องอีกด้วย

ตัวอย่าง Closed Captioning ของ Youtube

Emoji or Icon
การออกแบบให้สามารถเลือกสีผิวของ Emoji ได้หลากหลายเฉด เรื่องของ เพศวิถี และอื่นๆ หรือแม้กระทั่งการไม่ระบุความหลากหลายใดๆ ไว้เลยก็ตาม ทั้งหมดนี้จะทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกมีส่วนร่วม และสบายใจในการใช้ Emoji เหล่านั้นมากขึ้น

ตัวอย่าง Diversity ของ Emoji

UX Writing แบบไม่สื่อสารกับเพศใดเพศหนึ่งโดยตรง
การใช้คำกลางๆ ไม่ระบุเพศ หรือแม้กระทั่งโทนที่ไม่บ่งบอกความเป็น Mascline หรือ Faminine มากเกินไปจะสามารถทำให้ Product เข้าถึงกลุ่มคนที่กว้างขวางมากขึ้นได้

https://tvtropes.org/pmwiki/pmwiki.php/Main/GenderNeutralWriting

“แล้วถ้าต้องการออกแบบ Product นึง ให้เป็น Inclusive Design เราควรคำนึงถึงประเด็นไหนบ้าง?”

Provide comparable experience
คือการมอบประสบการณ์ที่เทียบเคียงกันได้โดยไม่ลืมที่จะนึกถึงความเป็นไปได้หลายอย่างที่ผู้ใช้จะพบเจอ และมอบวิธีที่ทดแทนกันได้เพื่อให้ผู้ใช้สามารถไปถึงเป้าหมาย และรู้สึกพึงพอใจไปพร้อมๆ กันยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราต้องออกแบบหน้าเว็บแสดงสถิติในรูปแบบกราฟ ก็ควรเลือกคู่สีที่ Friendly และ Contrast มากพอสำหรับคนตาบอดสีในระดับต่างๆ ด้วย หรือจะให้ดีก็เลี่ยงการพึ่งพาสีและใช้จุดสัญลักษ์แทนก็ได้

ตัวอย่างการสร้าง comparable experience

Consider situation
คือการออกแบบให้ user สามารถใช้งานได้ในหลากหลายสถานการณ์ ดังนั้นต้องทำให้มั่นใจได้ว่าการถ่ายทอดประสบการณ์ไปยั Userนั้น เป็นประสบการณ์ที่มีค่าในแต่ละสถานการณ์ที่แตกต่างกัน เช่น User ที่ใช้งานครั้งแรก, User ที่ใช้งานอยู่ที่ทำงาน หรือแม้กระทั่ง User ที่กำลังอยู่ในคอนเสิร์ต

Be consistent
คือการใช้ Pattern อย่าง ฟังก์ชั่น, พฤติกรรม, บทความ และการนำเสนอ ซึ่ง
ก็คือการสื่อสารในสิ่งที่ User สามารถทำในสิ่งเดียวกันด้วยวิธีเดียวกันได้ เช่น การวาง Architecture ที่มีความคล้ายคลึงกัน

Give control
คือการทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกว่าสามารถควบคุมหรือเข้าถึงสิ่งที่ต้องการได้ เช่น User สามารถซูมได้ หรือเห็นเนื้อหาได้มากขึ้นตามความต้องการ

Offer choice
คือการให้ User ได้มีตัวเลือกมากขึ้นในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จ โดยเฉพาะในเวลาที่ตัวเลือกเหล่านั้นมีความซับซ้อน เนื่องจากเราไม่สามารถคาดเดาได้ว่าวิธีการไหนจะเหมาะกับใคร เราจึงจำเป็นต้องมีทางเลือกเตรียมไว้ให้มากพอสำหรับใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป

Prioritize content
คือการให้ User โฟกัสที่เนื้อหาหลักด้วยการจัดลำดับความสำคัญของเนื้อหา โดยใช้ Layout, ขนาดตัวอักษร หรือ สี เข้ามาช่วย

Add value
ใส่คุณค่าของฟีตเจอร์ และวิธีให้ผู้ใช้งานพัฒนาประสบกาณ์สำหรับการเข้าถึงได้ด้วยวิธีอื่นๆ เช่น การใช้เสียงในการควบคุม หรือการใช้ตำแหน่งของผู้ใช้งานให้เป็นประโยชน์

— — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — -

Conclusion

โค้งสุดท้ายแล้วของบทความ หวังว่าทุกคนจะเข้าใจมากขึ้นว่า Inclusive design คืออะไร, สำคัญอย่างไรกับผู้ใช้งาน และจะสามารถพัฒนา Product อย่างไรให้สามารถเข้าถึงทุกคนได้ ผู้เขียนหวังว่าจะได้เห็น Product ที่เป็น Inclusive Design มากขึ้นในอนาคต แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นในแต่ละ Digital Product ก็จะมีความต้องการที่ไม่เหมือนกัน การเลือกแนวทาง หรือ Principle ก็อาจจะแตกต่างกันออกไปด้วย

-Special Thanks to 20ScoopsCNX Design Team

--

--

20Scoops CNX Technology Blog
20Scoops CNX

Learn more about how 20scoops CNX designs, builds, and operates our systems and engineering organizations