มารันเทส Robot Framework ด้วย Jenkins กันเถอะ

Aekachai Boonruang
20Scoops CNX
Published in
3 min readOct 10, 2017

สวัสดีครับ วันนี้ผมจะมานำเสนอวิธีการใช้งานร่วมกัน ระหว่าง Robot Framework กับ Jenkins เพื่อที่เราจะสามารถกำหนดเวลาในการเทสในแต่ละครั้งได้โดยที่เราไม่ต้องมาคอยกดรันเทสในทุกๆครั้ง ซึ่งตัวผมเองก็พึ่งได้ลองทำดู หากมีตรงไหนผิดพลาดก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

ก่อนอื่นต้องเรามาทำความรู้จักกับเจ้า Robot Framework กันก่อนว่ามันคืออะไร ?

ผมขอสรุปคร่าวๆเลยนะครับ Robot Framework มันก็คือ Tool ตัวหนึ่ง ที่เอาไว้สำหรับทำ Test Automate ซึ่งเป็นที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง และได้พัฒนามาจาก ภาษา Python สามารถไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

แล้ว Jenkins ล่ะคืออะไร ?

Jenkins ก็คือเครื่องมือที่นำมาใช้ในการ Continuous Integration หรือ CI นั่นเอง หากใครยังไม่รู้จัก CI สามารถติดตามอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

สิ่งที่ต้องเตรียม

1.Script Test Robot Framework

ด้านบนคือตัวอย่าง Script Test Robot Framework ที่ผมเขียนไว้นะครับ

2.Jenkins ที่ติดตั้งเรียบร้อยแล้ว วิธีติดตั้งและการตั้งค่า Git สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ (อย่าลืมติดตั้ง ​Robot Framework ในเครื่องที่ลง Jenkins ด้วยนะครับ)

3.Git ของไฟล์ Robot Framework ในบทความนี้ผมขอใช้วิธี Clone Script Test Robot Framework จาก Git แล้วกันนะครับ

มาเริ่มกันเลยครับ

  1. ขั้นแรก หากติดตั้งตัว Jenkins เรียบร้อยแล้วหน้าตาจะเป็นดังภาพ แล้วให้เราทำการเพิ่มโปรเจค Robot Framework ของเราเข้าไปครับ โดยกดที่ New Item

2. ให้เราตั้งชื่อโปรเจคให้เรียบร้อย แล้วกดเลือกหัวข้อ Freestyle project แล้วกด OK

3.เมื่อกด OK เรียบร้อยแล้วจะแสดงหน้าให้กรอกรายละเอียด เขียนเลื่อนลงมาด้านล่างจะเจอหัวข้อ Source Code Management ให้เลือกช่อง Git

แล้วให้นำ URL ของ Git ที่เรานำไฟล์ Robot Framework ไปอัพไว้มาใส่ในช่อง Repository URL

4.ต่อมาให้เลื่อนลงมาในหัวข้อ Build Triggers ให้ติ๊กถูกตรงช่อง Build periodlcaly มันคือ cron job นั่นเอง cron job คือคำสั่งที่ระบุไว้เพื่อให้ระบบทำตามเวลาที่กำหนด เหมาะสำหรับงานบางอย่างที่ต้องทำซ้ำๆหลายๆครั้ง อาจจะเป็นทุกๆชั่วโมง ทุกๆวันหรือทุกๆเดือนก็ได้ เช่น การแบ็คอัพไฟล์,แบ็คอัพฐานข้อมูล ผมใส่เป็น * * * * * Jenkins จะ Build ทุกๆ 1 นาทีครับ (การกำหนดเวลาสามารถไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่)

5.เลื่อนลงมาด้านล่างจะเจอหัวข้อ Build ให้กด Add build step เพื่อใส่คำสั่งการรันไฟล์ Robot Framework (ในที่นี้ผมใช้ windows เลยเลือกเป็น Execute windows batch command) แล้วก็ใส่ คำสั่งเพื่อรันเทส Robot Framework เข้าไป เช่น pybot run.robot ในกรณีที่ ไฟล์เทส ชื่อ run.robot นะครับ จากนั้นกด save

6.เมื่อ save เสร็จเรียบร้อยละแสดงหน้านี้ขึ้นมา แล้วให้กด Build now ทางด้านซ้ายมือเพื่อให้ jenkins build เจ้าตัว Robot Framework ของเราครับ

7.เมื่อกด Build now เรียบร้อยแล้ว เราสามารถเข้าไปดู สถานะการ Build ได้โดยกดตรงที่ผมวงกลมไว้ครับ

8.เมื่อ Jenkins Build เสร็จเรียบร้อยจะแสดงรายละเอียดดังภาพครับ จะเห็นได้ว่ามันจะทำงานเหมือน Command prompt ใน Windows นั่นเอง

เพียงเท่านี้เราก็สามารถรันเทส Robot Framework ใน Jenkins ได้แล้วครับ :D

สรุป

  • การใช้งานร่วมกัน ระหว่าง Robot Framework กับ Jenkins นั้นจะสามารถทำให้เราสามารถตรวจเช็คได้ว่า Script ที่เราได้เขียนนั้นสามารถใช้งานได้จริง ๆหรือไม่
  • สามารถตั้งค่าให้ Jenkins รัน Script Robot Framework ได้ตามเวลาที่เรากำหนดโดยที่เราไม่ต้องมาคอยกดรันเทส ในทุกๆครั้ง
  • Jenkins มี Robot Framework plugin ที่ช่วยให้สามารถดู Results ของการเทสได้อีกด้วย

--

--