“Friendly” ความรู้สึกที่จับต้องได้ผ่านทาง UI

Hanii
20Scoops CNX
Published in
3 min readMay 15, 2017

--

ในบทความนี้ผมจะพูดถึง ความรู้สึก Friendly ที่สัมผัสได้ผ่านทาง UI (User Interface)📱 หลายคนอาจจะสงสัยว่า เอ๋~ มันคืออะไรนะไอ้ความรู้สึกนี้ แล้วมันจะรู้สึกผ่าน UI ได้ยังไง เริ่มแรกเลย เราจะย้อนไปพูดถึงในส่วนของรากฐานของมนุษย์ ที่เรียกว่า “สัญชาตญาณ” ว่าเรารับความรู้สึกนี้มาได้อย่างไร

Sigmund Freud by Max Halberstadt, 1921 Credit: Wikiwikipedia

บุลคลด้านซ้ายมือคือ Sigmund Freud ซึ่งเป็นนักจิตวิทยากลุ่มจิตวิเคราะห์อธิบายว่า ความเชื่อ
พื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์คือ มนุษย์เกิดมาพร้อมกับสัญชาตญาณ (instinctual drives) “สัญชาตญาน” นั้นคือความสามารถในการรับรู้ กระทำ และตอบสนอง ต่อบางสิ่งบางอย่างโดยที่ไม่ต้องผ่านประสบการณ์ หรือไม่ต้องมีใครสั่งสอนมาก่อน และส่วนมากสัญชาตญาณเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับการมีชีวิตรอดของเราทั้งสิ้น เราจึงเรียกมันว่าการตอบสนองอัตโนมัติ (Reflex)

โดยในที่นี้ผมจะขอยกตัวอย่างการตอบสนองต่อสภาวะแวดล้อมที่เป็นอันตราย และเป็นมิตรต่อมนุษย์ผ่านทางความรู้สึกเพื่อตรงกับหัวข้อการนำเสนอของบทความนี้ครับ 😀

ตั้งแต่เราเป็นเด็กจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่เราจะมีสัญชาตญาณติดตัวบวกกับได้รับการสอน และการเรียนรู้ต่างๆไม่ว่าจะเป็นโดยการเรียนรู้ด้วยตัวเอง และคนรอบข้าง แต่สิ่งที่เรารับรู้ด้วยสัญชาตญาณนั้นยังคงไม่หายไปโดยผ่านทางความรู้สึกที่จับต้องได้
บางคนก็ยังอาจจะนึกไม่ออกว่ามันหมายความว่าอย่างไร แล้วมันเกี่ยวอะไรกับ UI ด้วยวะ!! เรามายกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพกันเลย

ภาพตัวอย่าง จำลองวัตถุสามแบบ ที่มีลักษณะที่ต่างกัน

เราจะสังเกตได้จากภาพตัวอย่าง จำลองวัตถุสามแบบที่มีลักษณะที่ต่างกัน ซ้ายสุดจะเป็น วัตถุที่มีความเหลี่ยมเยอะ ตรงกลางจะเป็นวัตถุที่มีความเหลี่ยมน้อยลงมา ขวาสุดจะเป็นวัตถุลักษณะกลม มีความโค้งมนสูง ทั้ง 3 ตัวอย่างนี้มีการตอบสนองอัตโนมัติ (Reflex) ทางด้านความรู้สึก หากผมตั้งคำถามว่าวัตถุ 3 ชิ้นนี้ อันไหนที่เรารู้สึกว่าเราอยากจับมันที่สุดหรือรู้สึกเป็นมิตรที่สุด เชื่อว่าหลายคนคงไม่โกหกตัวเองที่จะตอบว่า
วงกลมขวาสุด หลายคนสงสัยว่าทำไมนะเราจึงรู้สึกได้ว่าวงกลมขวาสุดมีความเป็นมิตรมากกว่าชิ้นอื่น นั้นก็เพราะว่ามันเกิดจาก “สัญชาตญาณ” ที่เรารับรู้ได้ว่ามันจะไม่ทำให้เราเป็นอันตรายจากการจับ หรือการเข้าใกล้วัตถุชิ้นนี้ อาจจะด้วยการเรียนรู้หรือเกิดจากสัญชาตญาณที่เราเคยได้รับอันตรายจากวัตถุลักษณะนี้ ทำให้เรามีการตอบสนองที่เป็นอันตรายตามมา หลายคนอ่านแล้วอาจจะยังรู้สึก ไม่จริ๊งงงงงงงงงง งั้นเรามายกตัวอย่างต่อไปกัน

credit picture: ucapkanlah.blogspot.com /MedThai

เห็นภาพแล้วอย่าเพิ่งหิวกันนะครับ😆 จากผลไม้ตัวอย่างที่ผมนำรูปมาจากซ้ายไปขวามี ทุเรียน, ขนุน, แตงโม ผลไม้ทั้งสามชนิดนี้ผมเชื่อว่าหลายคนอาจจะไม่เคยกินหรือไม่ชอบ แต่นั้นไม่ใช่ประเด็น ผมเชื่อว่าต่อให้ไม่เคยกินหรือไม่ชอบ ทุกคนที่เห็นผลไม้สามชนิดนี้ต้องเกิดสัญชาตญาณและส่งผลให้มีการตอบสนอง(Reflex) โดยไม่ทางใดก็ทางนึงโดยผ่านทางการมองเห็น นั้นก็เพราะว่ามนุษย์เรามีสัญชาตญาณ และการตอบสนองของการเอาตัวรอดอยู่ เราสามารถรับรู้ได้ว่า พื้นผิวของผลไม้ชนิดนี้เป็นอันตรายต่อเราถ้ามีคนโยนทุเรียนใส่เรา เราต้องวิ่งหนีแน่นอน!! คงไม่มีใครอยู่รอรับหรอกนะครับ 🙄 หรือ หากเราเอามือไปจับทุเรียนมันอาจจะทำให้เราเจ็บมือได้ ใช่มั้ยครับ ไม่เชื่อลองจับดูก็ได้ครับ 55555+

ต่อมา ขนุน ผลไม้ชนิดนี้หากเรามองมันพื้นผิวมันจะมีลักษณะไม่เรียบ ซึ่งหากคนไม่เคยจับแน่นอนว่าเราอาจจะรู้สึกว่า จับได้หรือป่าว? หรือไม่ก็ไม่น่าจับเอาซะเลย มันจะทำอะไรมือเราหรือป่าวนะ จับหรือไม่จับดีนะ นั้นก็เพราะว่าลักษณะของมันเมื่อเรามองสัญชาตญาณมันบอกเราว่า เห้ย.. มันอาจจะเป็นอันตรายก็ได้นะ

แตงโม ผลไม้ที่มีผิวเรียบลูกกลม คงไม่มีใครไม่กล้าจับแตงโมใช่มั้ยครับ นั้นก็เพราะสัญชาตญาณของเราผ่านการมองเห็นที่เป็นตัวบอกว่า มันเป็นมิตรนะ จับมันได้ มันไม่ทำอันตรายเราแน่นอน จากตัวอย่างที่ผมอธิบายไปพอจะเห็นภาพรวมแล้วใช่มั้ยครับว่า “Friendly” ความรู้สึกที่จับต้องได้ มันเป็นอย่างไร มันเกิดได้อย่างไร มันมีที่มาที่ไปนะแล้วไอ้ความรู้สึกที่จับต้องได้ผ่านทาง UI มันเป็นอย่างไร ในทางออกแบบ(Design) เราจะรู้สึกมันได้อย่างไร ว่า UI แบบนี้ “Friendly”

จากตัวอย่างข้างบน เราจะสังเกตได้ว่า UI ที่ผมได้นำมาเป็นตัวอย่างมีความ “Friendly” ซึ่งเกิดจากสัญชาตญาณของเราเอง ด้วยองค์ประกอบโดยรวมของ App ไม่ว่าจะเป็น สี ที่มีความเป็นธรรมชาติ ดูไม่มีพิษมีภัย ไม่ใช่เป็นสีที่ดูรุนแรงหรืออันตรายแก่เรา หรือไม่ว่าจะเป็นลักษณะของ UI ที่ถูกขึ้นรูปด้วยรูปแบบมุมมน (Rounded) ทำให้เรารู้สึกน่าเล่นนะ มันน่าจับต้อง รู้สึกเข้าถึงง่าย

แต่!! ไม่ใช่ว่าผมจะหมายความว่า UI ที่เป็นสไตล์การออกแบบอื่นมันไม่น่าเล่นนะครับ เพราะการออกแบบที่ต่างออกไปมันก็เป็นการแสดงถึงความรู้สึกที่อยากให้ผู้ใช้งานของ UI นั้นๆ รู้สึกต่างออกไป เช่น เรียบง่าย สวยดูแพง ดูน่ากลัว ดูน่าเชื่อถือ จึงเป็นที่มาขององค์ประกอบศิลป์ของสไตล์การออกแบบต่างๆในทุกวันนี้ครับ บวกกับปัจจัยของ UX(User experience)ในการออกแบบเพื่อให้ผู้ใช้งาน มีความรู้สึกที่จับต้องได้ผ่านทาง UI นั้นเองครับ

เดี๋ยวจะมีคนสงสัยว่า ไหนๆช่วยยกตัวอย่าง UI ที่มันอันตราย เหมือนมีคนกำลังจะโยนทุเรียนใส่ ให้ดูหน่อยได้มั้ยครับ😆 5555+ ได้ครับ ผมจะขอยกตัวอย่าง Dialog UI จากรูปด้านล่างนี้เลยครับ

https://dribbble.com/shots/2727129-Alert-on-Profile

เดิมที่จะเอา Popup Alert มาให้ดูมันก็ออกจะง่ายไป เลยอยากยกตัวอย่างเป็น UI ตัวนี้ที่นำมาให้ดูแทน เราจะสังเกตได้ว่าเดิมที่ My Profile เราสามารถตั้งค่าได้ว่าจะให้มันแจ้งเตือนมั้ย เดิมที่เป็นแบบเงียบ(Slient) แต่การเปลี่ยนเป็นสวิตซ์เปิดใช้งาน พื้นหลังจะกลายเป็นสีส้ม!! คำก็เปลี่ยนเป็น Loud(ส่งเสียงดัง) ด้วยสองอย่างนี้ทำให้เรารู้สึกได้เลยว่า ควรเปิดมันดีมั้ยนะ มันจะรำคาญหรือป่าวนะแม้ว่าจะไม่มี Icon Alert ใดๆ ประกอบใน UI เลยก็ตาม

ทิ้งท้าย ~ ก่อนจากกันไป ปิดท้ายบทความนี้โดยการอธิบายเพิ่มเติมกันอีกเล็กน้อยครับ ในการออกแบบเพื่อให้ผู้ใช้งาน มีความรู้สึกที่จับต้องได้ในลักษณะนี้ไม่ได้ถูกใช้ในแค่เฉพาะ UI เท่านั้นนะครับ เพราะมันถูกแฝงอยู่ในการออกแบบส่ิงที่อยู่รอบตัวเราไม่ว่าจะเป็น เครื่องใช้ในบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้า ผมก็ขอยกตัวอย่างมือถือที่กำลังมาแรงเลยตอนนี้ Samsung Galaxy S8 เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจน มันถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้งานรู้สึก Friendly สุดๆ ด้วยความมนโค้งของตัวเครื่อง มนกระทั้งขอบจอ มนกระทั่งมุมจอ!! พร้อมถล่มด้วยการโปรโมตอย่างหนักหน่วงจากทางค่าย Samsung เพื่อกลบข่าวระเบิดและทำลายกำแพงความไว้ใจในการใช้งานมือถือของเขาอีกครั้ง และก็ทำสำเร็จซะด้วย (ผมไม่ได้มาขายของเด้อ ยกตัวอย่างเฉยๆจะได้เห็นภาพ 😆)

Credit: Galaxy S8 | DroidSans

สุดท้ายของบทความ ขอขอบคุณ Sansern Wutthirat สำหรับข้อมูลในหนังสือ Johny Ive The Genius Behind Apple’s Greatest Product — Leander Kahney พี่ Ive แกบอกไว้ว่า

Credit: Laughing Squid

“การใช้ผิวโค้งและวัสดุที่ทำด้วยยาง ทำให้ได้ความรู้สึกน่าสนิทสนมและนุ่ม น่าสัมผัส”

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยนช์ไม่มากก็น้อยสำหรับคนที่เข้ามาอ่านนะครับ ขอบคุณครับ 🙏🏻 ไว้เจอกันใหม่บทความหน้า บับบาย👋🏻

--

--