Google Tag Manager

ตอนที่ 1 : มาทำความรู้จักกันก่อน

Siphong Tanavongchinda
2 3 Perspective
Published in
2 min readAug 7, 2017

--

ก่อนที่จะไปรู้จักกับ Google Tag Manager ท่าน Developer หรือ Project Manager หรือ Makerting ที่ทำงานกับ Developer ทั้งหลายเคยเจอปัญหาเหล่านี้หรือไม่???

A: ติด Pixel / Google Analytic ให้หน่อยสิ

B : รอ Version หน้านะพี่สัก 2 Week
A: ช้าจูงงงง

หรือ

A: เหมือนลูกค้าบ่นมาว่า website เราช้าแปลกๆ

B: อ่อ Web มันรอ Google analytic กะ Pixel โหลดอยู่อะครับ

A: อ่ออออ ……

หรือกระทั่ง

A: เอเราเคยเปลี่ยน code Google Analytics ไปเมื่อไหร่บ้างนะพอจะมี Code Version ให้ดูหน่อยมะ

B: อะพี่เอา Git ไปดูเอาเอง

A: ……. (อะไรคือ git ฟะ)

ปัญหากวนใจเหล่านี้กำลังจะหมดไปถ้าคุณได้ลองใช้…….. Google Tag Manager คนนี้นี่เอง

A, B : ขนาดนั้นเลยรึ??????!!!!!!

Google Tag manager

ถ้าคิดว่าดีตามเรามาดูความสามารถ เด่นๆของมันต่อละกันนะ

1 . Google Tag manager มันทำตัวเอง เป็น Container(ตัวบรรจุ) สามารถ บรรจุ 3rd party Tag เช่น Google Analytics(GA) , Facebook Pixel , Adwords และ อื่นๆ อีกมากมาย ดูได้ที่นี่นะ

มันก็จะง่ายมากเลยนะสำหรับปัญหาเรื่องการติด Tag อื่นๆ ทีหลัง แค่ไปที่หน้า Dashboard ของ Google Tag manager แล้วก็ Add & Publish ก็เสร็จเรียบร้อย (เดี๋ยวไว้จะทำวิธีการใน Article ถัดๆไปนะ)

2. มันทำงาน แบบ Asynchronous loading สำหรับคนที่เป็น Developer เข้าใจเนอะไม่ต้องอธิบายมาก

สำหรับคนที่ไม่ใช่ Developer อาจจะงง Asynchronous คือไรของมันฟะ????

คืองี้เอาง่ายๆ สมมติ browser เรามี นาย A และ B หน้าที่ดังนี้

นาย A: หน้าที่คือติดต่อประสานงานกับชาวบ้านเพื่อเตรียมทรัพยากรต่างๆให้พร้อม(เช่น Css, javascript, images เป็นต้น)

นาย B: หน้าที่คือเอา ทรัพยากรจากนาย A ไปสร้างหน้า Website

ปกติถ้า script โดย Default จะทำงานแบบ ให้นาย A ทำงานเสร็จก่อน แล้ว นาย B ค่อยทำงานได้ กล่าวคือ นาย B นอนนิ่งๆ รอนาย A มาเรียกจะเห็นว่านาย B จะมีเวลาว่างตอนนาย A ทำงานเนาะ

ทีนี้การทำงานแบบ Asynchronous มันเข้ามาช่วยให้นาย B ทำงานคู่กับนาย A ได้

เช่น Google Tag Manager เมื่อมันทำงานใน Asynchronous mode มันก็จะบอกกับ นาย B ว่า เหยๆ เวลานาย A กำลังโหลดทรัพยากรของเราอยู่นายทำงานนายที่มีไปก่อนสิ หรือ เอางานของเรา(นาย A) ไปทำก่อนได้นะ เพราะงานของเราจะไม่ยุ่งกะใคร (หมายถึงว่าทำงานเราก่อนหรือหลัง ก็ไม่กระทบกับงานหลัก)

ก็จะเห็นได้ว่า การทำงานแบบ Asynchronous จะทำงานทั้งหมดเสร็จไวขึ้น เนอะ แค่เราจัด task งานดีๆ เท่านั้นเอง

3. Version History มันตอบปัญหาข้างบนได้อย่างดีเรื่อง Version ของ analytics หมายถีงว่าแต่ละ Version ของ Tag Manager ที่ปล่อยออกจะไปจะมีการเก็บไว้เสมอ รวมถึงสามารถ Rollback กลับมาใช้ Version เก่าได้ด้วยนะ :D แจ๋วว

4. มันสามารถจัดการ Event ต่างๆในหน้า dashboard ได้เช่น เวลา User ทำการ submit form register คนที่คุม Tag manager สามารถส่ง event ไปให้กับ 3rd party ต่างๆได้เองเลยไม่ง้อ Developer ก็ได้ฟะ :D อะไรแบบนี้ เดี๋ยวทำยังไงไว้ค่อยว่ากันเนอะ

5. มันทำงานได้ทั้งบน Website( Javascript ) รวมถึง iOS และ Android เลยนะ

ไว้ Article ต่อไปจะมาลองติดตั้งกันดูนะว่าจะง่ายหรือจะยากอย่างไร

ไว้แจกัน

ตอนสอง

--

--