รีวิว DJI Spark EP.2 ออกบินจริง
--
จาก EP ที่แล้ว ที่เป็นการรีวิวแกะกล่องเจ้า DJI Spark ว่าในกล่องมีอะไรมาให้บ้าง รวมไปถึงรีริวตัวลำและสเป็คคร่าวๆ ไปแล้ว มาถึง EP นี้ เราจะพาเจ้า DJI Spark ออกไปบินจริงกันบ้าง ใน EP ผมจะลองใช้ลองเล่นในทุกโหมดของ Spark และสรุปว่าแต่ละ feature ของมัน ใช้งานดีจริงอย่างที่สเป็คว่ามั๊ย?
เตรียมตัวก่อนบิน
- ชาร์ตแบตให้เต็มก่อนครับทั้งมือถือและตัวลำ แบตเตอรี่ของ Spark มีความจุอยู่ที่ 1480 mAh ต่อก้อน
สามารถบินได้ 16 นาที(ตามสเป็ค) และใช้เวลาชาร์ตประมาณ 1 ชั่วโมง ซึ่งไฟจะตัดเองถ้าแบตเต็มครับ - microSD เนื่องจาก Spark จะไม่แถมการ์ดมาให้เราแล้ว เราต้องเตรียม microSD เองครับ แนะนำเป็นตัวที่ write ได้ 40 mb/s ขึ้นไปครับ ไม่ต้องแรงมากก็ได้เพราะไม่ได้ record วิดิโอ 4K ครับ
- เปิดเครื่องและใช้มือถือต่อ wifi ที่ตัวเครื่องปล่อยออกมาตอลดเวลาที่เล่นครับ แม้ว่าจะใช้งานโหมด Palm control เพื่อป้องกันความผิดพลาด
- สถานที่และเวลา หาที่ที่ค่อนข้างโล่งและสว่างครับ สำหรับไฟล์ทแรก ยังไม่แนะนำให้บิน ในอาคารนะครับ
พร้อมแล้วไปกันเลย
Palm Control ระบบควบคุมด้วยฝ่ามือ
ในโหมดนี้เราสามารถบังคับ DJI Spark ได้โดยไม่ต้องใช้มือถือหรือรีโมทในการควบคุมเลย การบังคับที่เราสามารถทำได้ก็คือ
- ขึ้นบินออกจากมือเรา ถือตัวลำหันกล้องเข้าหาหน้าเรา จากนั้นกดปุ่มหนึ่งจึ๊กและลากยาวอีกหนึ่งครั้ง( -| — ) เพื่อเปิดเครื่อง จากนั้น กดปุ่ม 2 ครั้งเพื่อเข้าโหมด Palm Control ตัวลำจะทำการจำใบหน้าของเรา จากนั้นใบพัดจะเริ่มหมุนและบินขึ้นในระดับเดียวกับใบหน้าเรา และตัวกล้องจะ Track ตัวเราให้อยู่ในเฟรมตลอดเวลา
- ควบคุมตำแหน่งด้วยฝ่ามือ หลังจากที่ Takeoff สำเร็จ เราสามารถใช้ฝ่ามือยกขึ้นมาบังคับตำแหน่งของเครื่อง
- ทำมือเป็นรูปเฟรมเพื่อสั่งให้ถ่ายภาพได้ตลาดเวลาที่โดรนบินอยู่
- โบกมือบ๊ายบายเพื่อให้โดรนถอยออกห่างจากตัวเราไป เพื่อเก็บภาพมุมกว้าง
- กางมือเฉียงๆเป็นรูปตัว Y เพื่อเรียกโดรนกลับมา
- เอามือรองใต้ตัวเครื่องเพื่อสั่งให้โดรนบินลงบนฝ่ามือเราและดับเครื่อง
จากการลองเล่นโหมด Palm Control จริง พบว่า
- สามารถขึ้นบินและถ่ายภาพได้เร็วมากๆ นับจากควักออกมาจนถึงแช๊ะถ่าย ใช้เวลาประมาณ 20 วินาทีเท่านั้น
- แบต 1 ก้อน เราสามารถใช้งานในโหมดการบินแบบ Palm Control ได้จริงที่ 12 นาที หรือปล่อยบินไปกลับสักประมาณ 7 รอบ
- มีบางมุมที่ตัวโดรนจับใบหน้าและฝ่ามือของเราไม่เจอ เพราะย้อนแสง แต่โดรนจะไม่มีการบินมั่วๆไปที่ไหน มันก็จะแค่ลอยอยู่อย่างนั้น เราสามารถหยิบมือถือมาบังคับต่อได้ทันที (ควร connect ไว้ทุกครั้ง)
- ไฟสัญญาณ แรงและสื่อสารกับเราได้รู้เรื่องชัดเจนดี
- บินนิ่งและรักษาระดับได้ดีมาก ไม่มีไหลตามลม
บินด้วย Smart Phone และโหมด Quick Shots
ชาร์ตแบตให้เต็มอีกรอบและลองไปบินโดยใช้มือถือกัน!
จัดการกดเปิดเครื่อง (-| — ) จนได้ยินเสียงสัญญาณ ตัว DJI Spark จะปล่อยสัญญาณ wifi ออกมาอัตโนมัติ ให้เราใช้ Smartphone ต่อกับ Hotspot นั้นให้เรียบร้อย ซึ่งพาสเวิร์ดจะอยู่ที่กล่องครับ
สเต็ปถัดไปที่สำคัญมากๆคือการรอสัญญาณ GPS จากดาวเทียมให้หลายดวงที่สุดครับ App จะแจ้งว่า Takeoff ได้เมือเจอดาวเทียม 9 ดวง แต่รอเอาให้ชัวร์ที่ 15 ดวง จะทำให้การคำนวนตำแหน่งของเครื่องเราละเอียดและแม่นยำมากขึ้นครับ
ระยะการบังคับโดยใช้สัญญาณ wifi ของ DJI Spark จะอยู่ที่ ความสูง 50 เมตร และ ความไกล 300 เมตร และถ้าสัญญาณหลุดไป ตัวโดรนจะบินกลับเข้ามาหาจุด Home โดยอัตโนมัติ และถ้าระหว่างนั้นเรากลับไป connect ได้ ก็จะสามารถบังคับได้ต่อทันที
สามารถกดสั่ง Take off จาก App ได้ทันทีที่ Status เป็น Ready(GPS) ครับ โดยที่ตัวเครื่องจะขึ้นมาลอยนิ่งๆที่ความสูง 1.2 เมตร
สำหรับการบังคับก็จะใช้ตัว Visual Joystick ที่หน้าจอมือถือได้เลย การตอบสนองเรียกได้ว่าไม่รู้สึกว่ามี Delay เลย และเราสามารถใช้การเอียงจอมือถือในการปรับเงย Gimbal ได้ด้วย
ถ้าจะลง สามารถบังคับจอยซ้าย ลง ค้างไว้เพื่อให้เครื่องเข้า Landing sequence ได้เลยครับ หรือกด return home เครื่องจะบินกลับไปยังจุดเริ่ม และถามว่าจะ Landing มั๊ยอีกครั้งครับ
และความพิเศษเฉพาะของ DJI Spark ที่รุ่นอื่นไม่มีคือ
QuickShots
ท่าการบินสำเร็จรูปที่ DJI ใส่มาให้ ซึ่งโหมดการบินพวกนี้จะทำงานร่วมกับระบบ Active Tracking ซึ่งกล้องจะตามตัวเราให้อยู่ในเฟรมตลอด และตัว Spark จะบินถ่ายจากท่าการบินที่เราเลือก มี 4 แบบดังนี้
- Rocket โดรนจะบินมาเหนือหัวเราและเก็บภาพระหว่างพุ่งตัวขึ้นไปบนฟ้าตรงๆ
- Dronie โดรนจะบินถอยห่างและสูงขึ้นจาตัวเราเพื่อเก็บภาพมุมกว้าง
- Circle โดรนจะบินเก็บภาพจากมุมรอบๆตัวเราเป็นวงกลม 1 รอบ
- Helix โดรนจะบินเก็บภาพจากมุม
รอบๆตัวเราโดยขยายวงกว้างขึ้น
จากการลองเล่น QuickShots จริง พบว่า
ติดใจโหมด Dronie มากๆ เพราะมันไม่สามารถทำได้อัตโนมัติในโดรนรุ่นใหญ่ ภาพที่ออกมาจะเป็นเรากำลังก้มมองรีโมทเพื่อบังคับ แต่เจ้า Spark เป็น Auto ทั้งหมด คุณจะกระโดด ตีลังกา หรือวิ่งหนีไปสุดท้ายมันก็จะบินกลับไปหาคุณ
อีกอันคือ Circle เหตุผลก็เช่นเดิม มันไม่สามารถทำได้อัตโนมัติในโดรนรุ่นใหญ่ คุณจะต้องเซ็ตค่าจุดหมุน เซ็ตค่า radius ซึ่งวุ่นวายมากกว่าจะได้ภาพบินถ่ายเป็นวงกลม
แต่ Spark มันทำให้ทันทีเลย
มาลองโหมด rocket ดูบ้าง โหมดนี้โดรนจะบินเข้ามาเหนือหัวเราแล้วพุ่งตัวขึ้นไปตรงๆ
ซึ่ง QuickShots ทั้งหลายนี้จะทำงานในพื้นฐานของ Active Tracking ครับ ตัวกล้องจะจับภาพและถ่ายวิดีโอเราตลอดเวลา และที่เจ๋งกว่านั้น ตอนนี้ Firmware ตัวล่าสุด เปิดให้เราเลือกระยะที่โดรนจะบินออกห่างไปหรือบินสูงขึ้น ได้แล้ว แก้ปัญหาการบินในพื้นที่จำกัดไปได้
ผมประมาณได้ว่าแบตเต็มๆหนึ่งก้อน จะใช้งานการถ่ายภาพ QuickShots สัก 5 ครั้ง ครับ แต่ถ้าบิน dronie อย่างเดียวผมว่า 4 รอบก็น่าจะเข้าเตือนให้ return home แล้วครับ
สรุป ถูกใจระบบ QuickShots ทั้งสี่แบบมาก ส่วนตัวคิดว่าเป็น Freature ชูโรงของจริงของ DJI Spark เลยครับ
ความพิเศษเฉพาะของ DJI Spark ที่รุ่นอื่นไม่มีอีกอย่างคือ
Panorama และ Shallow Focus
สองโหมดพิเศษที่เพิ่มเข้ามาในเมนูการถ่ายภาพ เอาใจสายเซลฟี่ มาดูการทำงานของ Panorama กันก่อนครับ
หลังจากที่บินขึ้นไปแล้ว เมื่อเรากดถ่ายภาพแบบ Panorama โดรนจะถ่ายภาพทั้งหมด 9 ภาพเพื่อนำมาต่อกัน โดยที่จะทำการหมุนตัวเองขยับ Gimbal ไปหาตำแหน่งที่จะถ่ายเอง โดยที่จะมีให้เราเลือกว่าจะถ่าย Panorama แนวตั้งหรือแนวนอน ส่วนการรวมไฟล์ ตัว App DJI Go จะทำการรวมให้เมื่อเรากดเข้าไปดู ไม่ใช้การประมวลผลจากตัวโดรน
เราสามารถใช้โหมด Panorama ถ่ายคนได้ด้วย แต่ว่าต้องอยู่นิ่งๆจนกว่าโดรนจะถ่ายเสร็จทั้ง 9 ภาพ ไม่งั้นแขนอาจจะหายแบบในรูปด้านบนครับ
อีกโหมดที่เอาใจสายเซลฟี่อย่างแท้จริง Shallow Focus หรือถ่ายหน้าชัดหลังเบลอนั่นเอง!
หลักการทำงานทั่วไปของโหมดหน้าชัดหลังเบลอ(เบลอปลอม) ในทุกกล้องไม่ว่าจะเป็นมือถือหรือกล้องคอมแพ็คตอนนี้คือ การพยายามแยกตัวแบบ ออกจากพื้นหลัง จากนั้นใส่ความเบลอลงไปที่พื้นหลังโดยซอฟแวร์
ภาพด้านบนจะเห็นได้ว่า ผมใส่เสื้อสีเข้มซึ่งน่าจะแยกออกจากต้นไม้ด้านหลังได้ยาก แต่ DJI Spark ก็ยังแยกออกมาและใส่เบลอได้น่าพอใจ เทคนิคคือการบินขึ้นลงนิดนึงเพื่อให้พื้นหลังขยับ แต่แบบยังนิ่งอยู่ ทำให้แยกได้ว่าตรงไหนคือพื้นหลัง
และที่สำคัญ การเก็บข้อมูลภาพแบบเบลอๆ ไม่ได้ Render จบมาจากตัวโดรน แต่จะส่งข้อมูลดิบๆมาที่ App DJIGo ทำให้เรายังสามารถเลือกความเบลอได้อีก ว่าจะเอาเบลอขนาดไหน
จากการลองเล่น Panorama / Shallow Focus จริง พบว่า
- Panorama เป็นโหมดที่ดีงาม สามารถเก็บภาพมุมกว้างได้สวย มี Distortion Effect เหมือนเราใช้เลนส์พวก Ultrawide น่าจะใช้ในการถ่ายรูปหมู่ได้ ถ้านิ่งกันพอ ในอนาคตอยากให้ทำ 360 องศาได้จะเจ๋งมากๆ
- Shallow Focus สามารถแยกแบบกับฉากได้ดี และปรับค่าความเบลอได้ทีหลังจากนั้นจึงเซฟเป็นไฟล์จริง
สรุป สองโหมดที่เพิ่มเข้ามานี้ใช้งานได้จริงและทำให้รูปแบบการใช้งานโดรนหลากหลายขึ้น ซึ่งต้องแลกกับโหมด HDR ที่ไม่มีให้มาใน Spark แล้ว คิดว่าคุ้มค่าในบริบทถ่ายชิวๆ
จบรายละเอียดการทดลองบินไปแล้วครับ ขอสรุปข้อดีข้อเสียสักหน่อยครับ
ข้อดี
- DJI Spark เป็นโดรนขนาดเล็ก พกง่าย ไม่ต้องพับแขน ทำให้รู้สึกแน่นหนาเวลาพกหรือถือ ตัวกล่องโฟมก็ออกแบบมาให้กันกระแทกได้เป็นอย่างดี
- Palm Control ทำให้เกิดรูปแบบการใช้งานโดรนแบบใหม่ที่ง่ายและน่าสนใจ
- Quick Shots เด็ดมากๆ ทำให้เราไม่ต้องกังวลเรื่องการบังคับตัวโดรน แค่แตะให้มันตามเรา จากนั้นกดเริ่ม แค่นี้เราก็จะได้วิดีโอซีนสวยๆแล้ว
- Panorama การหันเก็บภาพจากหลายๆมุม และการต่อไฟล์อัตโนมัติทำได้สวย
- Shallow Focus สวยและใช้งานได้จริง
- การออกแบบ Gimbal และตำแหน่งติดตั้ง ดูแน่นหนา ทำให้ไม่ต้องห่วงเรื่องกล้องเวลาเราพกจริง
- ระยะเวลาตั้งแต่เปิดเครื่องถึงการถ่ายแช๊ะแรกเร็วมาก ไม่ต้องเซ็ตอะไรมาก
- Props Guard ดูดีมาก สามารถบินชนผนังแล้วไม่ตก (800 บาท)
ข้อเสีย
- แบตหมดเร็ว ถ้าจะใช้งานจริงในหนึ่งวันควรมีแบตอย่างน้อย 2 ก้อน
- การถ่ายวิดีโอยังได้สูงสุดที่ fullHD(1080p 30fps)
- Photo mode ไม่มี HDR mode และไม่สามารถถ่าย RAW ได้
- การบังคับโดยใช้ Visual joystick ค่อนข้างลำบากถ้าเทียบกับรีโมท คนเคยบิน รีโมท อาจจะรู้สึกอึดอัด (แก้ได้โดยการซื้อเพิ่มซะ)
- Gimbal ยังขยับได้แค่ 2 แกน
- ระยะการบินยังใกล้ (ไกลสุด 2km)
- ระบบ VPS เปลี่ยนมาใช้ Infrared ในการวัดระยะแทน Ultrasonic ซึ่งน่าจะละเอียดน้อยกว่า
DJI Spark เหมาะกับใคร ?
จากการลองเล่นแล้ว ส่วนตัวผมคิดว่า Spark เหมาะกับนักเดินทาง / Backpacker หรือแม้กระทั่งคนที่อยากบินโดรนตัวแรก ด้วยเหตุผลที่ว่ามันสามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ความคล่องตัวที่สูง แต่ด้วยเรื่องแบต,คุณภาพของไฟล์วิดีโอและระยะการบินที่ไม่ไกลมาก ทำให้เจ้า Spark อาจจะไม่ใช่ทางเลือกสำหรับคนที่ซีเรียสเรื่องคุณภาพของภาพและวิดีโอ
ตอนนี้ในตลาดมาหลายร้านที่นำ DJI Spark เข้ามาขาย ซึ่งราคาจะอยู่ที่ 20,000 บาท สำหรับชุดเล็กนี้(ตัวลำ + แบต 1 ก้อน) และ 28,000 บาท สำหรับชุด Fly more (ลำ + รีโมท + กระเป๋า + แบตสองก้อน + แท่นชาร์ต )
แนะนำร้านนี้เลยครับ เจ้าเก่าเจ้าเดิมของเรา ร้าน DJI Bangkok เป็น Authorized Reseller ประกันศูนย์ งานเซอร์วิสระดับคุณภาพ ส่งเร็ว ส่งด่วน ติดต่อคุณตูนได้เลย