[รีวิว] Yashica Electro35 : rangefinder สำหรับมือใหม่

รีวิว Yashica Electro35 : rangefinder สำหรับมือใหม่

Pichaya Punyakhetpimook
7singha
3 min readJul 24, 2014

--

ถ้าคุณกำลังอยากจะเล่นกล้องฟิล์มแล้วหล่ะก็ เจ้า Electro35 นี่แหล่ะ คือสิ่งที่มือใหม่ตามหา!! ด้วยรูปร่างหน้าตาของมันที่คลาสสิค เท่ห์ หล่อสุดๆ สำหรับการพกพา และการใช้งานที่ง่าย(มาก) บวกกับของแต่งที่เราสามารถหามาเพิ่มความสามารถให้กับตัวกล้องได้หลากหลายในราคาย่อมเยาว์ และคุณภาพของภาพที่เรียกได้ว่าเกินตัวเกินราคาไปมาก(ตัวอย่างภาพ) ทำให้มันเป็นกล้อง rangefinder ของผู้เริ่มต้นอย่างแท้จริง!

รีวิว Yashica Electro 35

เรามาดูประวัติมันสักนิดนึง เจ้านี่ผลิตโดยบริษัท Yashica (ก็ใช่สิวะ!) ออกวางตลาดเมื่อปี 1966 หรือเมื่อประมาณ 48 ปีมาแล้ว อายุอานามก็เรียกได้ว่าใกล้คำว่า “ลุง” แล้ว แต่เป็นธรรมดาสำหรับกล้องฟิล์มสมัยก่อนที่จะอยู่ทนอยู่นานเพราะเค้าใช้วัสดุคุณภาพจริงๆ ไม่เหมือนกล้องสมัยนี้ที่ก๊องแก้งหล่นก็พังซะและ

ซึ่งในซีรี่ย์ Electro 35 นี่ก็จะมีรุ่นต่างๆดังนี้

  • Electro 35 รุ่นแรก ออกมาเมื่อปี 1966 สามารถปรับ ASA (หรือ ISO) ได้ที่ 12–400 ใช้ แคดเมี่ยมซํลไฟล์(CdS) และพลังงานจากแบตเตอรี่ในการวัดแสง ลั่นชัตเตอร์ด้วยระบบอิเลคทรอนิค เลือกความเร็วระหว่าง 30วิ-1/500วิ (เป็น auto ที่กว้างมาก ปิดฝาแล้วเผลอถ่ายนี่รอ 30s นะครับ) ถ้าไม่มีแบตจะลั่นชัตเตอร์ที่ 1/500s เป็นค่า default
  • Electro 35G ออกมาเมื่อปี 1969 โดยได้ทำการเพิ่ม ASA ได้ถึง 500 และเปลี่ยนแปลงภายนิกนิดหน่อย
  • Electro 35 GS/GT ออกมาเมื่อปี 1970 เพิ่มเรนจ์ของ ASA ไปถึง 1000 และเปลี่ยนแปลงเรื่องขั้วแบตและจุดเชื่อมต่อในแผงวงจรให้เป็นทอง เพื่อกันการ Oxidation(หาคำไทยมาใส่ไม่ถูก) แล้ววงจรพัง
  • Electro 35 GSN(สีเงิน/ดำ)/GTN(สีดำ) ออกมาปี 1973 มีการเพิ่มเติมเรื่อง hot shoe
รีวิว Yashica Electro 35

รายละเอียดสเป็คเพิ่มเติ่ม

  • Leaf shutter ม่านชัตเตอร์เป็นแผ่นๆเบาๆ ทำให้ไม่สั่นตอนลั่น แต่ก็ไม่ได้อารมณ์ “แชะ!” หลังจากถ่ายเสร็จ ตรงนี้ถ้าใครถ่าย SLR มาก่อนแล้วมาจับตัวนี้จะตกใจว่า “เฮ้ย! มึงถ่ายแล้วหรอวะ”
  • Lens Yashinon DX 1:1.7 f=45mm ที่ติดมาด้วย เจ้าตัวนี้มีรูรับแสงกว้างสุดที่ 1.7 และแคบสุดที่ 16 ประกอบด้วย 6 ชิ้นเลนส์ ใช้กับฟิล์เตอร์ขนาด 55mm ระยะใกล้เคียงกับตาเรา ไม่ได้กว้างมาก แต่ที่ขัดใจคือโฟกัสใกล้สุดได้ที่ 45cm ถือว่าไกลมากก ยกถ่ายมือตัวเองยังไม่ค่อยจะได้เลย แต่ภาพที่ออกจากเลนส์ตัวนี้คมใช้ได้เลยหล่ะ
  • น้ำหนัก 750 กรัม ขนาด 180 x 84 x 73.5 mm ใหญ่กว่า Rangefinder ในคลาสนี้พอสมควร
รีวิว Yashica Electro 35

ลงสนามจริง

First impression ของผมกะเจ้านี่คือ “แม่งใหญ่จังวะ” เพราะมืออีกข้างผมถือ Olympus OMG อยู่ ซึ่งเจ้าตัวนี้มันใหญ่กว่า ทั้งที่เป็นกล้อง Rangefinder แท้ๆ ใหญ่กว่า SLR ได้ไงฟระ ระบบโฟกัสก็เป็นคนละแบบกับ SLR เลย คือมันจะมีจุดเหลืองๆให้หมุนภาพให้ซ้อนกัน จุดนี้น่าจะโฟกัสง่ายว่า SLR ในกรณีแสงน้อย

รีวิว Yashica Electro 35

ผมได้เจ้า Electro35 นี้มาในราคา 2,000 ต้นๆ สภาพภาพนอกโอเคมาก แต่ในเลนส์มีจุดราเล็กๆกำลังน่ารัก ไม่เป็นไรถือว่าซื้อมาลอง ของส่งมาถึงผมในวันที่มีทริปไปภูกระดึงพอดี เลยจับเจ้าฟิล์ม Kodak Colorplus 200 ยัดเข้าไปเลย การใส่ฟิล์มก็ใส่ง่าย ปกติธรรมดาทั่วไป

รีวิว Yashica Electro 35

แต่ที่จะลำบากก็คือเรื่องถ่าน เพราะถ่านตรงรุ่นของตัวนี้(PX32A)มันเลิกผลิตไปแล้ว แต่เราสามารถแปลงได้ โดยใช้ CR123 หนึ่งก้อน แล้วเอา LR44 ปิดหัวท้าย ใส่เข้าไปเลย มันจะแน่นนิดหน่อย แต่บิดล๊อคไปก็โอเคครับ ่ส่วนการใช้งานอื่นๆถือว่าง่ายเหมาะกับมือใหม่มาก ปุ่ม แหวน operations ต่างๆไม่ซับซ้อนเลย เข้าใจง่าย

Mode การถ่าย Electro35 นี่มี 3Mode ให้เราเลือกใช้ถ่ายครับ เราสามารถปรับ Mode การถ่ายได้โดยหมุนแหวนหน้าเลนส์

  1. Flash (รูปสายฟ้าหัวลูกศร) ใช้เมื่อเราเสียบแฟลช กล้องจะคำนวนปริมาณแสงและค่า ISO เพื่อจะตัดสินใจว่าจะยิงแฟลชหรือไม่
  2. Automatic กล้องจะคำนวนปริมาณแสงและเลือก Shutter speed ให้เราอัตโนมัติ เราเลือกแค่รูรับแสงเท่านั้น
  3. Bulb โหมดนี้จะเปิดม่านชัตเตอร์ค้างไว้จนกว่าเราจะปล่อยปุ่มชัตเตอร์ ใช้ในกรณีตั้งถ่ายดาว ถ่ายลากไฟ (ควรใช้ขาตั้งและสายลั่นชัตเตอร์แบบล๊อคได้)

นอกจากนี้เรายังสามารถหน่วงเวลาถ่าย(self timer) ได้โดยคันโยกที่ตัวเลนส์ โดยจะหน่วงเวลาถ่ายนานสุดได้ 8วิ

รีวิว Yashica Electro 35

ข้อดี

  • หล่อมาก ขาวินเทจน่าจะชอบ การออกแบบถูกใจประชาชนมาก
  • ใช้งานง่าย ปุ่มควบคุมและแหวนต่างๆมีไม่มาก มือใหม่ใช่ได้สบายๆ
  • ถ่ายง่าย Mode auto ทำให้เราได้ภาพชัวร์ๆ ไม่ต้องปรับอะไรอีกมาก แค่ปรับรูรับแสง โฟกัส แล้วก็กด
  • ชัตเตอร์เงียบและเบา ไม่มีเสียง แชะ! ดังๆให้แบบแตกตื่น และทำให้กล้องไม่สั่นเวลาลั่นชัตเตอร์
  • แข็งแรง บอดี้เป็นเหล็ก กระแทกอะไรไม่ค่อยบุบง่ายๆ แต่ก็ยังถือว่าบอบบางกว่ากล้องเก่าหลายๆรุ่น
  • อุปกรณเสริมเยอะมาก ทั้ง filter wide/tele , ขาตั้ง หาซื้อได้ในราคาที่พอเอื้อมถึง

ข้อเสีย

  • ใหญ่ ในความคิดผมเจ้าตัวนี้มันใหญ่เกินไปที่จะเป็น rangefinder สำหรับสะพายชิลล์ๆ
  • แบตต้องแปลง เนื่องจากหาแบตตรงรุ่นไม่ได้แล้ว การแปลงแบตอาจทำให้กำลังไฟไม่ตรงกับ spec ทำให้วัดแสงเพี๊ยนได้ (ยังไม่เจอปัญหานี้)
  • ระยะโฟกัสใกล้สุด 45cm ซึ่งถือว่าไกลมากสำหรับ เลนส์ fix

ราคา

สำหรับใครที่ตามหากันอยู่ ตอนนี้ราคาในตลาดจะอยู่ที่ 2500–3800 บาท แล้วแต่สภาพความเนี๊ยบ

ภาพประกอบถ่ายโดย

  • Olympus Pen-f + Kodak Colorplus200
  • Nokia Lumia 920

ขอบคุณข้อมูลจาก

--

--