ART LERD
3 min readMay 19, 2019

LIDO CONNECT จาก [ “ลิโด” สู่ “ลิโด้” ] ความเปลี่ยนแปลงที่ไม่เปลี่ยนไป

หลังจาก ‘โรงภาพยนตร์ ลิโด มัลติเพล็กซ์’ ได้ปิดตัวลงหลังจากฉายหนังรอบสุดท้ายไปเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2561 ทำให้สำนักจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU) ผู้ถือสัมปทานพื้นที่สยามสแควร์ต้องทำการจัดสรรกับพื้นที่แห่งนี้ และก็เป็นกระแสฮือฮาอยู่พักใหญ่ว่าจะนำพื้นที่นี้ไปทำอะไรต่อ หลายคนคิดว่าอาจจะไปทำห้างสรรพสินค้าอีก

ด้วยวิสัยทัศน์ การร่วมมือกันระหว่าง LOVEiS Entertainment และ สำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาฯ (PMCU) ที่ต้องการให้สยามสแควร์ ยังคงเป็นแหล่งรวบรวมศิลปะวัฒนธรรม นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ ด้วยตำนานกว่า 50 ปี ของโรงภาพยนตร์ ลิโด มัลติเพล็กซ์ กำลังจะกลับมาอีกครั้งในชื่อ LIDO CONNECT

[ภาพจาก เว็บ beartai]

LIDO CONNECT มีคอนเซ็ปต์ Co-Cultural Space
ให้พื้นที่ใจกลางสยามอย่างลิโด้ เป็นแหล่งรวบรวมศิลปะวัฒนธรรม นวัตกรรม
ความคิดสร้างสรรค์และไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม ่เป็นพื้นที่ในการแสดงออก
ที่สามารถต่อยอดในอาชีพด้านความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างไม่จำกัด

[ภาพจาก เว็บ บ้านและสวน] รองศาสตราจารย์ ดร.วิศณุ ทรัพย์สมพล

รองศาสตราจารย์ ดร.วิศณุ ทรัพย์สมพล รองอธิการบดีด้านการจัดการทรัพย์สินและนวัตกรรม ให้เหตุผลในการเลือก LOVEiS เข้ามาบริหารลิโด้ว่า

“พื้นที่ลิโด้มีขนาดไม่เล็กและไม่ใหญ่ ตัวจุฬาฯ เองไม่มีกำลังไปบริหารเองได้ ที่ผ่านมาเราก็มองหาพาร์ทเนอร์ที่มีศักยภาพมาร่วมกับเรา เราจึงมองที่ LOVEiS ก็คือ Bakery Music ซึ่งมีจุดกำเนิดมาจากสยามสแควร์ มีความผูกพันกับพื้นที่นี้มีประวัติศาสตร์ร่วมกัน ”

[ภาพจาก เว็บ beartai ] ชื่อลิโด้เหมือนเดิม เพิ่มเติมคือ “ไม้โท”

Change to Unchanged ชื่อลิโด้เหมือนเดิม เพิ่มเติมคือ “ไม้โท”

ยังคงใช้ชื่อโครงการว่า “LIDO” เพื่อความเคารพสถานที่เดิม แต่เติมคำว่า CONNECT เข้าไปเป็น LIDO CONNECT เพื่อให้ย้ำเป้าหมายที่ต้องการเชื่อมทุกกลุ่มเข้าด้วยกันอย่างไม่ปิดกั้น

การเปลี่ยนผ่านจาก “ลิโด” สู่ “ลิโด้ คอนเน็ค” เลือกที่จะเติมเต็มสิ่งที่พื้นที่ในย่านสยามสแควร์ยังขาดอยู่ โดยเฉพาะพื้นที่ในการแสดงออกทางด้านดนตรีได้อย่างเสรี ​ซึ่งจะเป็นตัวกลางที่จะนำมาสู่การต่อยอดในการสร้าง Art Community ในแขนงอื่นๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นด้านการละคร การแสดง ทอล์กโชว์​ งานออกแบบ งานสร้างสรรค์​ ​หรือการแสดงนวัตกรรมต่างๆ

“ลิโด” สู่ “ลิโด้ ” LIDO CONNECT

บอย โกสิยพงษ์ เสริมว่า จริงๆ แล้วคอนเซ็ปต์ของลิโด้ในคร้ังนี้มาจากคำเขียนที่เป็นโลโก้ของลิโด้เดิม ปกติแล้วพวกเราทุกคนจะอ่านกันว่าลิโด้ แต่จริงๆ แล้วคำเขียนจะเขียนว่า “ลิโด” มาตลอด ตั้งแต่ที่ลิโด้ก่อตั้งเมื่อยุค 70's

อัตลักษณ์ของสถานที่นี้ว กิมมิคของมันอยู่ที่การสะกดคำกับการออกเสียง
ที่ภาษาไทยจะสะกดว่า “ลิโด” แต่อ่านออกเสียงว่า “ลิโด้” ดังนั้นจึงเป็นที่มาของ
การเติมไม้โทลงไปในโปรเจกต์นี้ เพื่อจะสื่อว่าเราจะทำสิ่งที่มากกว่า เพิ่มเติมไปอีกสองเท่า แถมลิโดยังเป็นสถานที่ที่ตัวเขาเองเดินผ่านทุกวันในช่วงทำงานที่ เบเกอรี่มิวสิค เรียกได้ว่าเป็นที่ที่อยู่ในความทรงจำของหลายๆ คนมาโดยตลอด ด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้การเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของโปรเจกต์นี้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น

[ภาพจาก Chula News] นายเทพอาจ กวินอนันต์

นายเทพอาจ กวินอนันต์ ประธานบริหารกลุ่ม LOVEiS Entertainment
กล่าวว่า เลิฟอีสไม่ใช่แค่ค่ายเพลง แต่เป็นสังคมของคนที่เชื่อในสิ่งเดียวกัน มีความรัก และแรงบันดาลใจ โดยต้องขอขอบคุณทั้งทาง APEX ผู้ดูแลลิโดก่อนหน้านี้ และสำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาฯ ที่ให้ความไว้วางใจให้เลิฟอีสเข้ามาดูแล

Change to Unchanged ความเปลี่ยนแปลงที่ไม่เปลี่ยนไป

สำหรับรูปแบบของลิโดที่จะมีการปรับปรุงด้วยแนวคิด Back to Original เพื่อการเคารพโรงภาพยนตร์เดิม และดึงเอาเสน่ห์ของสถาปัตยกรรมยุค 70’s ซึ่งคือยุคที่โรงภาพยตร์ลิโดถูกสร้างขึ้นกลับมาใช้ เก็บโครงสร้าง และ element การตกแต่งภายในของยุค 90's ไว้ ผสมผสานกับ design ในยุคปัจจุบัน

โรงภาพยนตร์ที่ 1 ที่นั่งเดิม มีจำนวนเก้าอี้ 147 -150 และจอฉายยังคงอยู่เหมือนเดิม แต่ทว่าเอาพรมออกเพราะว่าสภาพการใช้งานที่ผ่านมาเนิ่นนาน เป็นที่สะสมของเชื้อโรค ทำความสะอาดยาก และอาจไม่คุ้มค่าต่อค่าบำรุงรักษา ส่วนการเลือกโปรแกรมหนังมาฉายนั้น ในเบื้องต้นมีเพียงความตั้งใจไว้ว่าจะไม่ให้โปรแกรมการฉายชนกับเรื่องที่ฉายอยู่ในสกาล่า ส่วนจะเลือกโปรแกรมมาฉายอย่างไรบ้างนั้นคงต้องติดตามต่อไป

ส่วนโรงภาพยนตร์ที่ 2 ที่มีขนาดใหญ่กว่าโรงภาพยนตร์ที่ 1 เก้าอี้ยังคงเก้บไว้ 234 ที่นั่ง เพิ่มไฟที่สามารถส่องเวทีได้ แต่เอาจอฉายภาพยนตร์ออก แล้วก็เพิ่มหลังเวทีที่เป็น Backstage แทน ให้เหมาะสำหรับกิจกรรมประเภทดนตรี หรือเรียกว่า Live House

ส่วนโรงที่ 3 “ได้ถูกเปลี่ยนแปลงใหม่ทั้งหมดให้กลายเป็น Black Box Theater โดยรื้อจอภาพยนตร์ออก รวมทั้งตกแต่งใหม่ด้วยการล้อมรอบโรงด้วยผ้าม่านดำ เติม Stage วางระบบไฟและเสียง ​เพื่อให้เหมาะสำหรับการนำไปใช้งานได้หลายรูปแบบ หรือมีความเป็น Multi Purpose โดยเฉพาะในกลุ่ม Performing Art ​ไม่ว่าจะเป็นดนตรีสด ละคร ทอล์ก ​รวมทั้งงานโชว์หรือรองรับการจัดกิจกรรมต่างๆ นำมาซึ่งการเกิด Community ใหม่ๆ ในพื้นที่นี้ด้วย ซึ่งจะมีงานระบบส่วนกลาง ทั้งการจองบัตร การประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการบริหารและพัฒนาลิโดให้มีกิจกรรมสม่ำเสมอ ให้ชาวไทยและชาวต่างชาติได้ติดตาม”

ความพิเศษของ LIDO CONNECT

จากประสบการณ์ตรง Pain Point ถูกไล่ ที่ได้พบมากับตัวเอง
ของหนึ่งในกลุ่มผู้ถือหุ้นอย่าง นภ พรชำนิ เนื่องจากเคยมาแสดงเปิดหมวก
ในพื้นที่ลิโด ร่วมกับ ป๊อด โมเดิร์นด็อก และ โป้ โยคีย์เพลย์บอย​ แต่ไม่สามารถแสดงได้เพราะถูกไล่

LIDO CONNECT จึงมีพื้นที่สาธารณะ เปิดโอกาสให้ศิลปินอิสระต่างๆ สามารถมาทำการแสดงแบบเปิดหมวกเพื่อแนะนำผลงานของตัวเองได้
ได้จัดสรรพื้นที่ถึง 800 -900 ตารางเมตร รอบบริเวณชั้น 1ให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะที่ทุกคนสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ได้ หรือเป็นพื้นที่สำหรับคนที่มีความสามารถ ให้มีเวทีสำหรับปล่อยของได้

นอกจากพื้นที่สาธารณะ ยังมีพื้นที่สำหรับเชิง Commercial ให้โอกาสกับกลุ่มผู้ประกอบการหน้าใหม่ หรือสตาร์ทอัพต่างๆ ด้วยการให้เช่าพื้นที่ในราคาไม่สูงมาก
มีทั้งกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งสินค้าไลฟ์สไตล์ต่างๆ โดยจะให้โจทย์ร้านค้าที่เข้ามาเช่าพื้นที่ต้องมีโมเดลในการทำธุรกิจเพื่อสังคม

ใครที่กำลังคิดถึง ลิโด อีกไม่นาน ความรู้สีก ความทรงจำของวันวาน
จะกลับมาในรูปแบบใหม่ในชื่อว่า LIDO CONNECT
Grand Opening 30 กรกฏาคม 2562

เพื่อไม่ให้พลาดสิ่งดีๆที่กำลังจะเกิดขึ้น
สามารถติดตามรายละเอียด กิจกรรม อีเว้นต์ ต่างๆ
อย่างใกล้ชิดได้ที่ Facebook Fanpage : LIDO CONNECT

[บทความที่คุณอาจสนใจ]
พาชม รูป ความรู้สึก บรรยากาศ วันสุดท้าย ของโรงหนังลิโด มัลติเพล็กซ์
ที่เป็นครั้งแรก ครั้งเดียว ครั้งสุดท้าย
>>>[อ่านบทความคลิกลิงค์]<<<

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก LIDO CONNECT / APEX / Baan lae Suan
Chula News / DSIGNSOMETHING / beartai / Brand Buffet