มาเริ่มใช้ Micronaut Framework กันเถอะ [Part 2]

Natthakan Puangroi
2 min readOct 6, 2018

--

Welcome back! ครับ หลังจากที่ทิ้ง Part 1 ไว้นานหลายวัน วันนี้ออก Part 2 โดยการสร้าง first service ให้กับตัว Micronaut นั้น

ขั้นตอนแรกเลยนะครับ ให้ทำการสร้าง mn-app ขึ้นมาก่อนโดยใช้คำสั่ง

create-app hello-micronaut-service

จากนั้นเปิด IntelliJ IDEA ขึ้นมาและทำการ Import Project จากนั้นเลือกเป็น Gradle

จากนั้นให้สร้าง Controller Class ขึ้น หรือเราจะสร้างในรูปแบบ mn-cli ก็ได้ โดยการใช้คำสั่ง

create-controller [class name]

โดยคำสั่งนี้จะสร้าง HelloControllerTest class ขึ้นมาด้วย

ต่อไปให้ใส่ Controller Annotation ให้กับ HelloController ดังรูป แต่หากเราใช้ mn cli ก็จะมี default เป็นแบบนี้

จากนั้นให้ทำการลบ HttpStatus ออก เพื่อเราจะทำการสร้าง Service โดยการใส่ชื่อ

@Controller(“/hello”)

ทำการสร้าง Service โดยการใส่ Get Annotation ที่เป็น Http method เพื่อทำการ get ค่าที่เราใส่ชื่อลงไป ดังรูป

จากนั้นใช้คำสั่ง ./gradlew run เพื่อดูว่า service ที่เราสร้างขึ้นมาทำงานหรือไม่

ในขั้นตอนการ running ขึ้นมาหากเรากำหนด port ก็จะ localhost: [ตามด้วย port ที่เรากำหนดได้] แต่หากไม่ทำการกำหนด port มันจะทำการ random ขึ้นมา

จากนั้นตรวจสอบ Service ด้วย Postman

จากนั้นเรามาเขียน Reactive Programming ด้วย Micronaut โดยตัว Micronaut นั้นรองรับการเขียน Reactive streams out-of-the-box

โดยการเขียนท่านี้เรียกว่า SSE (Server-Sent Events) เป็นการส่ง Integer ที่มีจำนวน 1–5 โดยอยู่ภายใน 500ms ต่อไปเรื่อยๆ จนถึง 5

SSE (Server-Sent Events) นั้นเป็นวิธีที่ไม่ต้องให้ Client นั้น request ข้อมูลเข้ามายัง web server ตลอด แต่ตัว web server นั้นจะทำการส่งข้อมูลนั้นไปให้ตลอด ภายใต้ HTTP protocol

สำหรับ part 2 นั้นก็ขอจบลงเพียงเท่านี้นะครับ พอดีมีเหตุขัดข้องเรื่องข้อมูลการนำเสนอ เลยอาจจะทำให้ออกช้าขึ้น แต่ part 3 นั้นเป็นการ connect กับตัว NoSql อย่าง MongoDB แล้วกันครับ คอยติดตามกันนะครับ สวัสดีครับผม

--

--