แนวคิด NFT แก้ปัญหาสังคมในซีรี่ส์ All of Us Are Dead!!!

Panassaya L
2 min readFeb 7, 2022

--

สวัสดีค่า 👋🏻🤓 มายด์ ปนัสยานะคะ

I learn to share and make the world a little better place to live in!

ใครที่ดูซีรี่ส์ All Of Us Are Dead (Netflix) จบแล้ว นอกจากความมันส์ของฉากบู๊ กัดเลือดสาดของซอมบี้ ในแต่ละตอนจะมีการสอดแทรก เล่าปัญหาสังคม ทั้งเรื่องการบูลลี่ในโรงเรียนที่ไม่เคยได้รับการแก้ไข จนกลายเป็นปัญหาสังคมที่ใหญ่เกินแก้ การทำร้ายร่างกาย การล่วงละเมิดทางเพศ ผู้บัญชาการที่สังหารหมู่ วัยรุ่นที่เริ่มตั้งคำถามถึงการมีตัวตนในสังคม การเป็นคนนอกหรือคนที่ถูกทิ้ง ความหวังที่ถูกทำลายเพราะลำดับชนชั้น ระบบทุนนิยมต่างๆ

ซึ่งเชื่อมั้ยคะ ว่าสิ่งที่สามารถแก้ปัญหาสังคมเหล่านี้ได้ คือ แนวคิดหลักของ NFT หรือ Non-fungible token =งานศิลปะในรูปแบบดิจิทัล ที่ไม่สามารถทำซ้ำหรือคัดลอกได้ มีสมบัติเฉพาะทาง เป็นได้ทั้งเกม ภาพวาด งานปั้น เพลง งาน Performance หรืออื่นๆ ทุกสิ่งอย่างในระบบดิจิทัลสามารถทำเป็น NFT ได้ โดยมีพื้นฐานบนระบบบล็อกเชน ใช้ Smart Contact เก็บข้อมูล และติดตามการทำธุรกรรมต่างๆ ได้ตลอดเวลา เจ้าของผลงานยังคงเป็นเจ้าของลิขลิทธิ์ผลงานแต่เพียงผู้เดียว ในขณะที่ผู้ครอบครอง NFT เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในผลงานชิ้นนั้น

มันเป็นไปได้ยังไง? มาดูกัน!

ปัญหาที่เกิดขึ้นในซีรี่ส์และชีวิตจริงของเราทุกคน

ระบบสังคมที่ถูกจำกัดด้วยทุนนิยม ชนชั้น ยศและอำนาจ

กลายเป็นปัญหาหลักที่แสดงออกมาได้อย่างชัดเจนในเรื่อง All of Us Are Dead. อย่างฉากที่พัคอึนฮี หรือสส. ผู้แทนสภาได้รับการดูแล แซงคิวประชาชนคนธรรมดาได้ หรือการช่วยเหลือที่เรียงลำดับความสำคัญจากผู้ใหญ่ที่มียศถาบรรดาศักดิ์ก่อน โดยไม่สนใจว่าเด็กนักเรียนจะร้องขอความช่วยเหลือแค่ไหน

แนวคิดการสังหารหมู่ของผู้บัญชาการ - ทิ้งระเบิดลงเมืองฮโยซาน

การฆ่าคนและซอมบี้โดยไม่สนใจผู้รอดชีวิต หรือ Utilitarianism ซึ่งเป็นแนวการคิดที่มุ่งเน้นผลลัพธ์สุดท้าย ส่วนรวมต้องรอด คนรอดต้องมากกว่าคนตาย ไม่คำนึงถึงคนที่ต้องตายอย่างไม่เป็นธรรม

ในมุมกลับกัน การที่ผู้บัญชาการสั่งทิ้งระเบิดเป็นแนวคิดที่ผิดหรือไม่?
จริงๆ แล้วคำตอบอาจอยู่ที่ว่า เราเลือกเชื่อมั่นในความคิดระบบใด การเลือกผลลัพธ์สุดท้ายที่ทำให้คนทั้งประเทศเกาหลีอยู่รอด ไม่แพร่กระจายของซอมบี้อาจเป็นเรื่องดี แต่หากมองในมุมปัจเจกบุคคล ความชอบธรรม ผู้บัญชาการมีสิทธิอะไรมาตัดสินชีวิตคนตัวเล็ก สังหารหมู่แบบนั้น?

การบูลลี่ ความต้องการมีตัวตน การเข้าสังคม

ซึ่งแท้จริงแล้ว ปัญหานี้ไม่ได้เกิดเฉพาะในโรงเรียน แต่ยังรวมถึงที่ทำงาน บริษัท บ้าน มันเกิดขึ้นรอบตัวเรา ความเหงา ความโดดเดี่ยวที่ก่อเกิดความเครียด อย่างฉากที่นัมรา หัวหน้าห้องแม้จะเรียนเก่งแค่ไหนแต่ก็รู้สึกโดดเดี่ยว เดียวดายอยู่ดี

แนวคิดหลักของ NFT คือ การปฏิวัติระบบสังคม

ใครๆ ก็บอกว่าเทคโนโลยีบล็อกเชน คือเทคโนโลยีที่ทำให้คนตัวเล็ก ประชาชนมีอำนาจมากขึ้น รัฐบาลหรือตัวกลางใดไม่สามารถหยุด ทำลาย หรือควบคุมมันได้เลย ซึ่งจริงค่ะ แต่ในอีกมุมหนึ่ง สถาบันต่างๆ ก็ถือคติที่ว่า If you can’t beat them, join them. เมื่อหยุดยั้งไม่ได้ ก็เข้าร่วม

เมื่อสถาบันเข้าร่วมระบบตลาดด้วยเม็ดเงินมหาศาล เค้าคือ “วาฬ” ที่ซื้อขายแลกเปลี่ยน Bitcoin, Ethereum ทำกำไรกับตลาดได้อย่างง่ายดาย

Token หรือเหรียญเหล่านั้น มีคุณลักษณะเป็น Fungible หรือแลกเปลี่ยนแตกย่อยซื้อขายได้ และสิ่งที่ก่อให้เกิดมูลค่าหลักๆ เลย คือ ราคาของเหรียญ, tokenomic และ ecosystem

ในทางกลับกัน Tokenomic และราคาเป็นส่วนหนึ่งของ NFT แต่ไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ทำให้ NFT มีมูลค่ามหาศาล อย่าง Punk, BAYC, MetaWarden แต่มันคือคอมมูนิตี้ ที่ทำให้เกิดความ Exclusive ความรู้สึกเป็นเพื่อนที่จับต้องได้

สถาบันสามารถนำเม็ดเงินมหาศาลมาไล่ซื้อ Bitcoin ในตลาด และล็อคไว้ เท่ากับว่า ราคา Bitcoin จะพุ่งขึ้นมหาศาลเมื่อ supply ลดลง แต่ถ้าสถาบันเอาเม็ดเงินเหล่านั้นมาไล่ซื้อ NFT จนหมด โดยมีสถาบันเป็นผู้ถือคนเดียว มูลค่ารูป NFT นั้นๆ จะหมดลงไปทันที นอกจากนี้คนส่วนมากสามารถมีสิทธิ์ มีเสียงในการ ปฏิเสธ ที่จะไม่ให้สถาบันเข้ามามีส่วนร่วมได้ ซึ่งเราแทบจะไม่สามารถทำแบบนี้ได้กับเหรียญ token ใดเลย

เปรียบได้ว่า แนวคิด NFT ทำให้สามเหลี่ยมที่ปลายยอดแหลม หรือคนรวยที่ควบคุมระบบสังคม กลับหัว เมื่อฐานของสามเหลี่ยมคือประชาชนทุกคนคือแกนหลัก มีสิทธิ มีเสียง มีเสรีภาพ และอำนาจมากยิ่งขึ้นโดยที่ไม่มีใครสามารถแซงคิวคนธรรมดาได้

อีกทั้งการมีคอมมูนิตี้ในโลกออนไลน์กับชุมชน NFT กลับกลายเป็นโอกาส เยียวยาจิตใจให้กับใครหลายๆ คนที่กำลังประสบปัญหา การบูลลี่ การมีตัวตน และการเข้าสังคมอีกด้วย

ผลกระทบต่อเราทุกคน

NFT อาจไม่ใช่แค่รูปภาพ JPEG แต่มันคือแนวคิดในการให้อำนาจคนตัวเล็ก ประชาชนให้มีสิทธิ มีเสียง พลิกสามเหลี่ยมให้กลับหัว จากระบบสังคมที่ต้องถูกควบคุม เป็นผู้ควบคุม มีอิสระ เสรีมากยิ่งขึ้น

ซึ่งในอนาคต การปฏิวัติสังคมในรูปแบบ NFT อาจเป็นสิ่งที่มีค่ามากกว่าเม็ดเงินในตลาด และเมื่อแบรนด์ต่างๆ เห็นโอกาส ความแข็งแกร่ง แนวคิดนี้จะนำพาเม็ดเงินให้เข้าสู่คอมมูนิตี้หรือชุมชน เกิดการกระจายอำนาจให้ประชาชนมากยิ่งขึ้น

และสอดคล้องกับแนวคิด ประโยคจบสุดท้ายที่หัวหน้าห้องบอกว่า

“ถึงไม่ได้อยู่ด้วยกันแต่ก็เป็นเพื่อนกันได้”

--

--

Panassaya L

#Crypto investor , #NFTs , #Philosophy, Vegetarian🌱 and a Volunteer #traveler 🌎