กำเนิด ผังเหอถู และ 5 ธาตุ

Qi Men Alchemy
5 min readMay 7, 2017

--

5 ธาตุ (五行) คืออะไร? ผังเหอถู (河圖) มาจากหลังม้าจริงหรือไม่? มาสำรวจกัน

หยิน–หยาง, 5 ธาตุ ถือเป็นเรื่องที่พื้นฐานที่สุด แต่ก็ไม่ได้มีใครอธิบายไว้มากนัก สร้างความฉงนให้กับผู้เรียนอยู่ไม่น้อยว่า ที่ไปที่มามันมาจากไหน ถามไปก็เจอนิทานว่ามาจากหลังม้า!!! ตอนที่ได้ยินก็อดสงสัยไม่ได้ว่า ม้าอะไรมีผังอยู่บนหลัง!!!

ผมใช้เวลา 20 ปี เพื่อหาคำตอบเรื่องพวกนี้ จนได้มาเป็นบทความที่ท่านกำลังจะอ่านนี้

ท่านผู้อ่านทุกท่านครับ บทความต่อไปนี้ ก่อนอ่านผมขอ 1 เรื่อง คือ อย่าพึ่งตัดสินว่าอันไหนผิด อันไหนถูก หรือ ตรงหรือต่างจากที่เราเคยเจอมาอย่างไร เรื่องพวกนี้ เดี๋ยวเราค่อยมาคิดกันตอนอ่านจบแล้วนะครับ :) ไม่เช่นนั้นอ่านไปอาจจะปวดหัวไป

เพราะสิ่งที่กำลังจะได้อ่านต่อไปนี้ เชื่อว่าในเมืองไทย หรือ อาจจะในโลก ไม่เคยมีการอธิบายให้คนนอกสำนักฟังมาก่อน และ อาจจะไม่ตรงกับที่พูดถึงกัน แต่ถ้าอ่านไปจนจบแล้วจะเข้าใจว่าที่มาของแต่ละอย่างคืออะไร ได้ไม่ยาก

ในครั้งแรกที่ร่างบทความนี้ ผมวางแผนจะเขียนแค่เรื่อง หยิน–หยาง และไปต่อเรื่องอื่นในบทความต่อไป แต่หลังจากเขียนเสร็จแล้วพบว่า ถ้าไม่เอาเรื่องผังเหอถู มาเป็นตัวอย่างก็จะทำให้เรื่องที่พูดไม่น่าสนใจเท่าไหร่ และ มองไม่เห็นภาพด้วยว่าจะเอาไปใช้อย่างไร บทความนี้จึงค่อนข้างยาว และ ละเอียดมาก แต่ผมก็ตั้งใจเพื่อให้เป็นประโยชน์กับทุกคนครับ มาเริ่มกันเลยครับ

= หยิน–หยาง =========

หยิน–หยาง เป็นเรื่องที่เรียกได้ว่าพื้นฐานที่สุด แต่ก็เป็นเรื่องที่ไม่ได้มีการอธิบาย หรือ พูดถึงอย่างละเอียดเท่าไหร่ในวิชาฮวงจุ้ย แต่ถ้าศึกษามาทางเต๋า และ แพทย์จีน จะเข้าใจเรื่องหยิน–ในอีกมุมหนึ่ง ที่ต่างจากฮวงจุ้ยพอสมควร

หยิน–หยาง ตามลักษณะปรากฏ

หยิน–หยาง จะมีความหมาย 2 แบบหลัก ๆ คือแบบที่ใช้กันโดยทั่วไป ที่ทุกคนเข้าใจ โดย ในความหมายทั่วไป ซึ่งแบบนี้จะเป็นการแบ่ง ตามลักษณะที่ปรากฏออกมาให้เห็น เช่น หยิน–หยาง คือ มืด–สว่าง, กลางวัน–กลางคืน, ชาย–หญิง, ร้อน–เย็น หรือพูดง่าย ว่า

หยาง = มากกว่าจุดอ้างอิง
หยิน = น้อยกว่าจุดอ้างอิง

โดยจุดอ้างอิงในที่นี่ ก็คือ ไทจี๋ (太極)

หยิน–หยาง กำเนิดจาก ไทจี๋ ก็คือ ไทจี๋ เป็นจุดอ้างอิง เพื่อให้เกิดการแบ่งแยกหยิน–หยาง ได้

หยิน–หยาง และ ไทจี๋

เช่น ถ้าเราเอาอุณภูมิห้อง (30 องศา) ที่ปรากฎเป็นตัวอ้างอิง อุณหภูมิ ที่มากกว่า 30 องศา เราก็บอกว่ามันร้อน หรือ เราก็เรียกว่าเป็นหยาง ถ้าน้อยกว่า 30 เราก็บอกว่ามันเย็น หรือ เราเรียกว่าเป็นหยิน

หรือ กรณี มืด–สว่าง เราก็ปริมาณแสงสว่างที่ปรากฎ เป็นตัวกำหนดว่าเป็น มืด หรือ สว่าง

ในตามความหมายนี้

หยิน–หยาง คือของอย่างเดียวกัน แค่มากกว่า หรือ น้อยกว่า จุดอ้างอิง

หยินหยางในลักษณะนี้ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ถ้าหยางมาก ก็จะหยินน้อย หรือ ถ้าหยินน้อยก็จะหยางมาก เช่น ถ้าสว่างมาก ก็จะเป็นหยางมาก มีความมืดน้อย ตามภาพด่านล่าง

หยิน–หยาง ตามลักษณะปรากฎ

หยิน–หยาง ตามพลังงาน

ยังมี หยิน–หยาง อีกความหมายหนึ่ง ที่ใช้ในวิชาฮวงจุ้ย ดวงจีน และ ศาสตร์ทางจีนทั้งหลายอีก คือ การแบ่งตามพลังงาน ซึ่ง แม้ว่าเราจะใช้กันอยู่บ่อยในวิชาต่าง ๆ แต่ก็ไม่ค่อยมีผู้ใดพูดถึง หรือ อธิบายเท่าไหร่ ซึ่งหยิน–หยางแบบนี้ จะเป็นตัวสำคัญในการเข้าใจ ทฤษฎี ตามศาสตร์จีนทั้งมวล

หยิน–หยาง แบบนี้ จะมีพลังหยิน แยก กับพลังหยาง ไม่ได้เกี่ยวข้องกันโดยตรง โดย ณ เวลาหนึ่ง อาจจะมีทั้งพลังหยินที่มาก และ พลังหยางที่มาก ในเวลาเดียวกัน ตามรูปด่านล่าง

หยิน–หยาง ตามพลัง

โดยสรุปสิ่งที่สำคัญที่จะต้องทำความเข้าใจคือ หยิน–หยาง ในลักษณะนี้ เหมือน คน 2 คน ชาย–หญิง อยู่บ้านเดียวกัน ซึ่งการเข้าใจว่า หยิน–หยาง อยู่แยกกันนี้ ในศาสตร์จีน จะนำไปใช้อีกเยอะมาก ในหลายวิชา เช่น นำไปใช้กับพื้นที่ ใช้กับเวลา ใช้กับร่างกายเรา ซึ่งจะอธิบายต่อไป

วัฐจักร

ถ้าเราพิจารณาดู วัฏจักรในธรรมชาติ เช่น น้ำขึ้น-น้ำลง,กลางวัน-กลางคือ เราจะพบรูปแบบที่เหมือนกันก็ อยู่ 6 แบบคือ

[สว่างเพิ่มขึ้น-> สว่างมาก -> สว่างลดลง-> มืดเพิ่มขึ้น -> มืดมาก ->มืดลดลง]

หรือ เรียกได้เป็น

[หยางเพิ่ม ->หยางมาก -> หยางลด -> หยินเพิ่ม -> หยินมาก -> หยินลด]

คนโบราณได้นำวัฐจักรการเปลี่ยนแปลงพลังหยินหยางเหล่านี้ มาบัญญัติเป็นปฏิกิริยาต่าง ๆ หรือ สถานะต่าง ๆ ซึ่งเราจะรู้จักกันในชื่อ 5 ธาตุ

= 5 ธาตุ ===============

5 ธาตุ หรือ หวู่ซิง (五行) จริง ๆ แล้วไม่ควรจะแปลว่า “ธาตุ” เพราะคำว่า 行 ในภาษาจีนไม่ได้แปลว่า “ธาตุ” แต่เป็น “สถานะ, กระบวนการ, ขั้นตอน” ซึ่งเป็นการเรียกที่ผิดอย่างมาก พอเราเรียกว่ามันเป็นธาตุ เราก็เลยนึกไปถึงวัตถุจริง ๆ ที่เป็นทอง เป็นไม้ เป็นดิน ทั้งที่จริงแล้วมันคือ สถานะแบบหนึ่ง หรือ สถานะของ หยิน–หยาง แบบหนึ่ง

ซึ่งผมขอนิยาม “สถานะ” ตามนี้ เพื่อความเข้าใจต่อไป

  • หยางเพิ่ม = ไม้
  • หยางมาก = ทอง
  • หยางลด = ดิน
  • หยินเพิ่ม = ไฟ
  • หยินมาก = น้ำ
  • หยินลด = ฟ้า

ซึ่งสามารถแสดงเป็นรูปได้ตาม

ปฏิกิริยา หยิน–หยาง

ถึงจุดนี้ เชื่อว่า คงจะมีคงรู้สึกขัดใจ และ กำลังคิดว่า นี้มันบ้าอะไร…. ขอให้ปล่อยมันไปชั่วคราวและอ่านต่อไปอีกนิดครับว่า วัฐจักร แบบนี้มันมีใช้กันอยู่ทั่วไป และสามารถอธิบายวิชาอื่นได้ด้วย มาต่อกันครับ

จากจุดนี้ไป ผมจะเรียก “ธาตุ” ว่า “สถานะ” เพื่อให้เป็นการเรียกให้ถูกต้องตามความหมายดังเดิมของมัน ดังนั้น “5 ธาตุ” ก็จะกลายเป็น “5 สถานะ” (แต่ถ้าพูดเรื่องที่คนทั่วไปเข้าใจ ก็จะใช้คำว่าธาตุเหมือนเดิม เพื่อให้เข้าใจได้โดยง่าย)

สถานะ ตามเวลา

วัฐจักร และ สถานะ หยิน–หยาง ที่ผมอธิบายไปนั้น เป็น วัฐจักรตามเวลา หรือ เราจะเรียกวันว่า “สถานะตามเวลา” หรือ “ธาตุตามเวลา” ซึ่งวัฐจักรนี้ เราจะพบได้จากวัฐจักรของ สถานะ หยิน–หยาง ในร่างกายของเรานี่เอง ซึ่งเราจะเรียกว่า “นาฬิกาชีวิต” โดย สถานะ ในเส้นลมปราณต่าง ๆ ก็จะมี ลักษณะเดียวกัน กับที่ผมได้กล่าวมา เช่น
● 23:00–03:00 เป็นธาตุไม้ (เวลาของ ตับ และ ถุงน้ำดี)
● 03:00–07:00 เป็นธาตทอง (เวลาของปอด และ ลำไส้ใหญ่)

ซึ่งแสดงได้ตามภาพด้านล่าง

สถานะตามเวลา

ต้องหมายเหตุ ไว้เล็กน้อย คือ ธาตุฟ้า นี้ เป็นธาตุที่ คนทั่วไปเข้าใจยาก ในนาฬิกาชีวิต ช่วงเวลาที่เป็น ธาตุฟ้า ก็เป็น อวัยวะ ซานเจียว กับ เยื้อหุ้มหัวใจ ซึงเป็นอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอวัยวะทางกายภาพโดยตรง ในดวงจีน และ แพทย์จีน ขั้นพื้นฐาน จะจัดให้ธาตุฟ้า เป็น ธาตุไฟ (ในดวงจีนขั้นสูงราศีล่างจะมี 6 ธาตุ ไม่ใช่ 5 ธาตุ) ธาตุฟ้า จะใช้งานกับวิชาขั้นสูง โดยเป็นธาตุที่ใช้ควบคุม 5 ธาตุที่เหลือ (เช่น ในวิชาฉีเหมิน ขั้นสูง)

สถานะตามทิศ

ในด้านบน เป็นการกำหนด สถานะตามเวลา เราจะมากำหนด สถานะตามทิศ หรือ ตามพื้นที่กัน โดย เราจะให้พลังหยาง เป็นพลังที่อยู่ในทิศแนวนอน (ทิศจากตะวันออกไปตะวันตก) พลังหยินอยู่ในทิศแนวตั้ง (ทิศเหนือไปทิศใต้) สำหรับเหตุผลนั้นจะเกี่ยวกับเรื่อง ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และ ดวงดาว ซึ่งถ้ามีเวลาจะอธิบายในโอกาสต่อไป ตอนนี้ต้องไม่ลืม ที่เคยกล่าวไว้ในช่วงแรก ว่า พลังหยิน พลังหยาง อยู่แยกกันได้ เป็นพลังงาน 2 สาย นะครับ

เมื่อนำมาเขียนเป็นรูป และใช้นิยามตามที่กำหนด ก็จะได้ตามภาพด้านล่าง

สถานะตามทิศ

ด้านบนเป็นเพียงแค่ 2 มิติ เราอาจจะเพิ่มไปอีกมิติ หรือ ทิศ หนึ่งก็จะได้เป็น 3 มิติ โดย มิติที่เพิ่มมานั้น อาจจะเป็น นอก/ใน หรือ สูง/ต่ำ (แต่ไม่สูงมาก เพราะมนุษย์อาศัยอยู่บนพื้น อยู่บนท้องฟ้าไม่ได้) ก็ได้ โดยกำหนดให้

ด้านใน/ด้านล่าง = หยิน
ด้านนอก/ด้านบน = หยาง

ซึ่งสามารถ แสดงได้ตามภาพด้านล่าง โดย ผมให้ เครื่องหมายบวก (+) เป็นหยาง | เครื่องหมายลบ (-) หรือแรงเงา เป็นหยิน

สถานะตามพื้นที่

= กำเนิดผังเหอถู =========

บัดนี้ ผมจะอธิบายความลับของวิชาฮวงจุ้ยต่อไปว่า เรานำความรู้ที่เราได้จากข้างต้น มาสร้างเป็นผังเหอถู ได้อย่างไร

กลับมาที่เรื่อง ข่วยที่ผม post ไปครั้งที่แล้ว (https://www.facebook.com/QiMenAlchemy/posts/802950559871218) ถ้าใช้วิธีการกำหนดธาตุ แบบที่ได้อธิบายไปข้างต้น เราก็จะสามารถกำหนดธาตุได้ตามภาพด้านล่าง

สถานะ (ธาตุ) ของแต่ละข่วย

ถ้านำ ธาตุตามพื้นที่ + ธาตุของข่วย + เลขของข่วย มารวมกัน เราก็จะได้ ภาพพลังตามพื้นที่ 3 มิติ ซึ่งจะเห็นว่า ก็คือ ผังเหอถู (河圖) นั้นเอง สำหรับคนที่ไม่รู้จักผังเหอถู ขออธิบายสั่นๆ ว่า ผังเหอถูนี่ เป็นผังที่ ชินแส ทุกท่าน อ้างว่าเป็น ผังพลังงานที่ม้ามังกรจากสวรรค์ ลงมาบอกความลับสวรรค์ เป็นต้นกำเนิดวิชาฮวงจุ้ย

ผังเหอถู

ภาคี เหอถู

ตอนนี้ ผมเชื่อว่าทุกท่านจะเข้าใจที่มาของผังเหอถู และ ภาคีเหอถู กันแล้วว่าทำไม ข่วย 1–6 ถึงภาคีเป็น ธาตุน้ำ ซึ่งจากข่วยเราจะเห็นว่า มันคือ คู่หยิน–หยางของมันนั้นเอง

และสังเกตุที่เส้นล่างสุดของข่วย จะเห็นได้ว่า ในแนวนอน เส้นล่างสุดจะเป็นหยาง (เส้นเต็ม) ในแนวตั้ง เส้นล่างสุดจะเห็นหยิน (เส้นขาด) ซึ่งตรงกับที่เราบอกว่า พลังแนวนอนเป็นพลังหยาง แนวตั้งเป็นพลังหยิน

การเคลื่อนที่

ส่วนนี้ถือเป็น Bonus แถม จากกการอธิบาย เหอถู เนื่องจากเคยอธิบายไป มีหลายท่านสงสัยว่า การเคลื่อนที่ แบบ ผังเหอถู มันมีจริงเหรอ คือ จากทิศเหนือ -> ไปทิศใต้ -> ไปทิศตะวันออก -> ไปทิศตะวันตก ผมจึงขออธิบายเพิ่มเติม เพื่อเป็น ความรู้ต่อไปดังนี้

ในผังเหอถู จะมีการเคลื่อนที่ตามภาพ (และเป็นที่มาของเลขด้วย) คือเริ่มจากศูนย์กลาง แล้วก็เคลื่อนที่ลงมาแล้วกลับขึ้นไป (นับได้ 5 ช่อง นับ 1–9) ตามภาพ

จากนั้นก็ขึ้นไปด้นบน

และก็ไปด้านซ้าย

แล้วที่เหลือก็ไปในทำนองเดียวกัน คือไปที่ด้านขวา ทิศตะวันตก ธาตุทอง ซึ่งการเคลื่อนที่แบบนี้ สามารถ อธิบายดูเป็นภาพอนิเมชั่นได้จาก

หรือ ถ้าดูเป็นปริมาณ ทั้ง 2 แกนก็จะได้

เราลองมาดู Video ต่าง จะเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า จากการหมุนเป็นวงกลม เมื่อฉายมาตามแกน ที่เป็นสีเลี่ยม จะสามารถก่อให้เกิดวัฏจักร ที่กล่าวได้

ด้วยความสัมพันธ์ตามที่ได้กล่าวมา จึงเป็นเหตุให้คนจีนเค้าบอกว่า
● ท้องฟ้า — วงกลม
● โลก — สี่เหลี่ยม

แต่งจริงๆ เมื่อพลังหยิน-ยาง วิ่งใน 3 แกน มันจะมีลักษณะคล้ายกับเกลียว DNA ของมนุษย์นั้นเองครับ

สรุป

ชื่อว่า หลายท่านคงหายข้องใจว่าผังเหอถูมาจากไหน ภาคีเหอถูมาจากไหน ความสัมพันธ์ต่างมาจากไหนบ้าง

จะเห็นว่า

ผังเหอถู คือ การอธิบาย ปฏิกิริยา หรือ สถานะ ของ หยิน–หยาง ในทิศ และ พื้นที่ต่าง ๆ

และ

ภาคีเหอถู คือ คู่หยิน–หยาง ของสถานะนั้น (ของธาตุนั้น)

ด้วยความเข้าใจอันนี้ จะทำให้เราอธิบายได้ว่า ข่วยก่อนฟ้า กลายเป็นข่วยหลังฟ้า ได้อย่างไร (ต้องใช้ระบบ 6 สถานะ หรือ 6 ธาตุในการอธิบาย) ซึ่งในโอกาสหน้า ผมจะมาเขียนอธิบายให้ โดยละเอียดอย่างเคย

อีกจุด ที่ต้องสนใจ คือ

5 สถานะ (5 ธาตุ) ของเวลา ไม่เหมือนกับ 5 สถานะ (5 ธาตุ) ของพื้นที่

และ ความเข้าใจ 5 ธาตุที่ถูกต้อง คือ

5 สถานะ (5 ธาตุ) คือ สถานะของ หยิน–หยาง เช่น กำลังเพิ่ม หรือ กำลังลด ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับวัตถุ สี หรือ รูปทรง โดยตรง (เช่นไม่ได้เกี่ยวกับ โอ่งดินเผา)

5 สถานะ (5 ธาตุ) จะทำงานก็ต่อเมื่อ มีการเปลี่ยนแปลงหยิน–หยาง ของพลังงาน

ส่งท้าย

บทความต่าง ๆ ที่ผมอธิบายนี้ ได้มาจากปรมาจารย์หลายท่าน จากหลายศาสตร์ ทั้งหมดเป็นการสอนจากปากเปล่า เลยไม่มีปรากฏในตำราใด และ โดยมากจะขัดกับที่ปรากฏในตำราส่วนใหญ่ หรือ ขัดแย้งกับที่มีการสอนในสำนักต่าง ๆ

ผมไม่สามารถบอกได้ว่าบทความด้านบน ผิดหรือถูก แต่ที่ผมบอกได้ คือ เรื่องทั้งหมด มันเกี่ยวข้อง และ อธิบายความสัมพันธ์ของทุกวิชา ที่ไปที่มาของแต่ละวิชาได้อย่างไร ด้วยการใช้ความเข้าใจใหม่ที่ไม่เคยมีใครพูดมาก่อน (เช่น การใช้ 6 ธาตุ)

ขอทุกท่านที่เข้ามาอ่าน จงได้รับประโยชน์ และ เข้าใจวิชาที่ต้องการด้วยเถอะ

ด้วยการเปิดเผยวิชาเหล่านี้ ขอให้ข้าพเจ้าเจอเข้าใจวิชาต่าง ๆ ที่ยังไม่เข้าด้วยเช่นกัน

ถ้าสนใจติดตาม บทความอื่น ๆ สามารถไปกด Like ได้ที่ Facebook
https://www.facebook.com/QiMenAlchemy/

Credit ภาพบนประกอบ Cover จาก
http://harrypotterfanon.wikia.com/wiki/Qilin_(Logo8th)

--

--