Data Science — Open Data Community Engagement

CodeBangkok
3 min readJul 21, 2016

--

กลุ่ม Data Science Thailand นำโดยคุณ Komes Chandavimol จัดงาน Meetup ครั้งที่ 9 ในหัวข้อ Open Source Tools for Data Science เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2559 ที่ Launchpad

หัวข้อแรกบรรยายเรื่อง “โครงการสร้างชุมชนผู้ใช้ข้อมูล (Open Data Community Engagement)”โดยคุณ Klaikong Vaidhyakarn ทำงานอยู่ที่ Social Technology Institute

Social Technology Institute สนใจเรื่องการสร้างนวัตกรรม โดยเฉพาะเรื่องการนำเอาเทคโนโลยีมาแก้ไขปัญหาสังคม ในยุคที่ Data มีอยู่มากมาย เราจึงต้องการนำ Data เหล่านั้นมาแก้ไขปัญหาของสังคม เรื่องแรกของการทำงานเรื่อง Data ก็คือมันต้องมี Data ก่อน ดังนั้นสิ่งที่เราต้องทำก็คือโปรโมท และพยายามให้มี Open Data ซึ่งก็โชคดีที่เรื่อง Open Data เป็นกระแสมาหลายปีแล้ว เริ่มมาจากอเมริกายุค Obama สมัยแรกก็ทำเรื่อง Open Government เลย เปิดเวปไซด์เป็นทางการชื่อ DATA.GOV เป็นที่แรกที่เป็นแหล่งข้อมูลทางการจากภาครัฐ เปิดมาตั้งแต่มี 2008 จนกระทั่งถึงปัจจุบันประมาณ 183,247 DataSets แล้ว

ประเทศอังกฤษ DATA.GOV.UK มีข้อมูลประมาณ 37,738 DataSets

ประเทศอินโดนีเซีย ONE DATA INDONESIA มีข้อมูลประมาณ 1,237 dataset

สำหรับในเมืองไทยก็มีเจ้าภาพคือ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (EGA) มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่อง Open Data ในไทย มีเวปไซด์หลักอยู่ที่ https://data.go.th มีข้อมูลประมาณ 731 DataSets

กรุงเทพมหานครก็มี ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร เป็น Open Data เช่นกัน

Open Data ระดับเมือง เช่น Philadelphia มี OpenDataPhilly

เมืองที่ได้รับความชื่นชมก็คือ Boston มี City of Boston.gov เพราะมี Mayor’s Dashboard

Open Data คือข้อมูลที่เปิดให้ใช้งานได้ เป็นสาธารณะ เข้าถึงได้โดยไม่ต้องร้องขอ โดยยึดหลัก 8 ประการดังนี้

  1. สมบูรณ์ (Complete)
  2. ชั้นแรก (Primary)
  3. ทันการณ์ (Timely)
  4. เข้าถึงได้ (Accessible)
  5. ประมวลได้โดยเครื่อง (Machine Processable)
  6. ไม่เลือกปฏิบัติ (Non-Discriminatory)
  7. ปลอดกรรมสิทธิ์ (Non-Proprietary)
  8. ไม่ต้องขออนุญาต (License-Free)

ปีนี้ STI โฟกัส 4 เรื่องคือ

  1. ความโปร่งใส
  2. การเกษตร
  3. การจัดการภัยพิบัติ
  4. เมืองและการขนส่ง

เคยทำ Hackathon มาแล้ว 1 ครั้งเรื่อง ความโปร่งใส โดยมีนักข่าว+Data Science+ Developer ช่วยกันทำงาน 2 วัน ออกมาเป็น Prototype ในเรื่องความโปร่งใส เรื่องต่อไปที่เราจะจัด Hackathon ก็คือเรื่องเมืองและการขนส่ง ชื่อ Bangkok Urban Hack (แหก) Day

สิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้ก็คือ ภาครัฐพยายามจะทำทุกอย่างด้วยตัวเอง ผลที่ได้ก็คือทำออกมาไม่ดี ไม่มีคนใช้ เพราะไม่มีความเชี่ยวชาญเรื่องของการแปลงข้อมูลให้เป็น Information กับการทำส่วนติดต่อผู้ใช้งาน

ซึ่งหลายๆประเทศมักจะมาในทิศทางที่ว่าให้ภาครัฐบริการแต่ข้อมูลเพียงอย่างเดียว เปิดทางให้ผู้เชี่ยวชาญมาทำดีกว่าโดยการใช้ Data Scientist กับ สื่อมวลชนทำการวิเคราะห์ข้อมูล และใช้ Tech Startups ทำ Application

ตัวอย่าง Open Data Platform เช่น https://aduanku.my ได้มีการนำ FixMyStreet Platform มาใช้เพื่อแจ้งปัญหาถนนพัง

ตัวอย่างต่อไปคือ GoodWalk เป็น Application เพื่อบอกว่าย่านไหนเดินได้ดีกว่ากัน

เรื่องภัยพิบัติ InfoAid ที่ทำเมื่อปี 2554 คือ SMS Alert ใช้ Data จาก Sensor คลองใน กทม (ปัจจุบันปิดไปแล้ว)

ภาษีไปไหน​? ข้อมูลมาจาก https://data.go.th

Application Programming Interface — API

NECTEC ได้ทำเวปไซด์ http://www.apidd.com

Platform ที่เป็น Open Data ที่นิยมใช้กันก็คือ CKAN เป็น Open Source มีครบทุกอย่างรวมทั้ง API และตัวที่ Microsoft เอาไปพัฒนาต่อก็คือ Azure CKAN ติดตั้งบน Cloud

สิ่งที่ขาดสำหรับ https://data.go.th ของไทยก็คือยังเป็นระบบที่พัฒนาด้วยตัวเองอยู่ เลยต้องพัฒนา API เอง ซึ่งอยู่ในระหว่างพัฒนา ถ้านำ CKAN มาใช้ตั้งแต่ต้นก็จะไม่ต้องทำ เพราะ CKAN มีให้ครบหมดแล้ว

--

--

CodeBangkok

Microsoft MVP Developer Technologies / .NET Core / DevOps / Blockchain / IoT / AI