ประวัติศาสตร์วิกฤตเศรษฐกิจ #1 The Great Depression

Moogoooom
3 min readJul 12, 2019

--

หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี ค.ศ.1918 ได้ส่งผลให้สหรัฐอเมริกากลายเป็นประเทศที่ร่ำรวยเเละได้กลายเป็นหนึ่งในมหาอำนาจของโลก ธุรกิจต่างๆ เติบโตอย่างรวดเร็ว มีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นมากมาย ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอเมริกาก็ดีขึ้นเรื่อยๆ

อย่างไรก็ตาม แม้สภาพเศรษฐกิจจะกำลังเฟื่องฟูแต่ สหรัฐอเมริกาก็มีปัญหาในประเทศแอบแฝงอยู่ นั่นคือการที่สหรัฐลดจำนวนกำลังพลในกองทัพของตนที่มีอยู่สี่ล้านคนลง ทำให้มีอดีตทหารหลั่งไหลเข้าสู่ตลาดแรงงานในประเทศเป็นจำนวนมาก

นอกจากนั้นช่วงเวลานี้ เป็นช่วงเวลาที่การซื้อสินค้าแบบใหม่เริ่มจะได้รับความนิยมนั่นคือการซื้อของเป็นเครดิตหรือซื้อของเงินผ่อน จึงเป็นยุคของ “ซื้อตอนนี้ จ่ายทีหลัง (Buy now, pay later) แต่ดูเหมือนการซื้อของเงินผ่อนจะไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่สินค้าในชีวิตประจำวันเท่านั้นครับ ผู้คนยังซื้อหุ้นด้วยเงินที่กู้มาอีกด้วย

และการบูมของตลาดหุ้นในยุคนี้นี่เอง คือจุดเริ่มต้นของหนึ่งในวิกฤตเศรรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดที่เคยมีมา

การซื้อหุ้นด้วยมาร์จิ้นในปี 1929 นั้นสามารถทำได้โดยการวาง Margin 10% นั่นคือ วาง 1 แสน แต่เทรดได้ 1 ล้าน เเละในระหว่างเดือนเมษายน ถึงกันยายน 1929 ดัชนีดาวโจนส์ ได้พุ่งขึ้นจาก 300 จุด ไปจนเกือบถึง 400 จุด หรือคิดเป็นเพิ่มขึ้น 25 % ในช่วงเวลาเพียง 6 เดือน

24 ตุลาคม ค.ศ.1929 หรือ “Black Thursday” เป็นวันที่ราคาหุ้นเริ่มตกลงอย่างรุนแรงโดยราคาเปิดร่วงลงทันที 4.6 % เเละร่วงลงต่ำสุดถึง 11 % ในระหว่างวัน

แต่วิกฤตนี้ยังไม่จบอยู่ๆ ราคาก็เริ่มตกอีกครั้ง และครั้งนี้ตกเร็วเเละเเรงกว่าเดิม ในวันอังคารที่ 29 ตุลาคม ค.ศ.1929 ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ “Black Tuesday” ซึ่งดาวโจนส์นั้นปรับลดลงถึง 30 % ในวันเดียว

Black Tuesday เป็นวันที่เลวร้ายที่สุดสำหรับระบบเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา การลงที่รุนเเรงเเละรวดเร็วครั้งนี้ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ทั้งตัวผู้ลงลงทุนเองที่ถูก Force Sell จนหมด เท่านั้นยังไม่พอยังต้องหาเงินมาจ่ายดอกเบี้ยของโบรคเกอร์อีก ด้านโบรคเกอร์เองก็เกิดหนี้สูญมากมายเพราะลูกค้าไม่ชำระ เเละหลังเกิด Black Tuesday ราคา Dow Jones ก็ร่วงลงไปอีกกว่า 70 %

เเละแม้แต่คนที่ไม่ได้ซื้อหุ้น ยุ่งเกี่ยวกับตลาดหุ้นเลยก็ไม่รอด

ธนาคารตกอยู่ในภาวะวิกฤตเพราะในช่วงที่ตลาดหุ้นกำลังบูม ธนาคารก็ได้ปล่อยกู้ให้ผู้คนที่กู้ยืมเงินไปซื้อหุ้น และ ธนาคารเองก็เสี่ยงซื้อหุ้นด้วยเช่นกันและแน่นอน เจ๊งไม่ต่างกัน

ที่ผ่านมา สหรัฐเฟื่องฟูได้ก็เนื่องจากความเชื่อมั่นในตลาดหุ้น เเละเมื่อมันดิ่งลง ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคก็หมดไป ความพินาศของตลาดหุ้นยังส่งผลให้คนขาดความเชื่อมั่นในธนาคาร มีคนจำนวนมากแห่กันไปถอนเงินออกจากธนาคารพร้อมๆกันซึ่งเราเรียกภาวะนี้ว่า Bank Run

ดังนั้นการที่ธนาคารซึ่งเป็นหัวใจหลักของทุนนิยมสั่นคลอน เเละนั่นเองจึงเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์

ดังนั้นเมื่อเกิดการถอนเงินพร้อมกันมากๆ ธนาคารจึงไม่มีเงินสดมากพอ เนื่องจากเราต้องเข้าใจโครงสร้างของธนาคารว่าการที่เราฝากเงินไป ธนาคารก็ได้เอาเงินฝากพวกเราปล่อยกู้ให้กับบริษัทต่างๆเเถมปล่อยกู้ให้มากกว่าเงินที่เราฝากไปด้วย เช่นเราฝากเงิน 100,000 บาท ธนาคารอาจนำไปปล่อยกู้ได้ถึง 1,000,000 บาท (โดย Ratio นี้ขึ้นกับนโยบายการสำรองเงินของเเต่ละประเทศ)

ในช่วงเวลานั้น ธนาคารต่างเจ๊งกันเป็นแถว ในปี ค.ศ. 1932 เศรษฐกิจของสหรัฐก็ถอยลงถึง 31 % พร้อมๆ กับที่เงินสดกว่า 2,000 ล้านเหรียญในธนาคารสูญไป หลังจากธนาคาร 10,000 แห่งปิดตัวลง คนที่ฝากเงินไว้กับธนาคารที่เจ๊งต้องสูญเงินทั้งหมดไปในทันที

ตอนนี้ความกลัวได้ขยายเป็นวงกว้างไปทั่วสหรัฐอเมริกา แม้แต่คนที่ไม่ได้สูญเงินต่างก็กลัวธนาคาร ไม่กล้าฝากเงินไว้กับธนาคารอีกแล้ว ธนาคารที่ยังคงเปิดกิจการต่างก็ประสบปัญหา ไม่มีใครมาฝากหรือกู้เงิน ทำให้ไม่มีรายได้ เมื่อทุกคนขาดความเชื่อมั่นกับธนาคารการลงทุนทุกอย่างจึงเเทบดับวูบ

เศรษฐกิจอเมริกาในเวลานี้อยู่ในภาวะที่เลวร้ายอย่างหนัก ผู้คนตื่นตระหนก สินค้าต่างๆ เช่นรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ กลายเป็นสินค้าที่ขายไม่ออกเนื่องจากคนไม่มีเงิน คนที่มีเงินก็ไม่กล้าใช้เงิน ทำให้โรงงานหลายแห่งต้องปิดกิจการ

ค.ศ.1933 1 ใน 4 ของคนในเอมริกาว่างงานเเละคนผิวสี กว่าครึ่งไม่สามารถหางานได้ ในเวลานั้น เหล่าผู้คนที่หมดตัวจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำต่างก็อดอยาก ไม่มีเงินแม้แต่จะซื้ออาหาร

สภานการณ์ย่ำเเย่ลงเรื่อยๆเเละคนที่ถูกจับตามองที่สุดก็หนีไม่พ้นประธานาธิบดีในขณะนั้นซึ่งก็คือ Herbert Hoover

เนื่องจากยุคนั้นทฤษฎีของสายเคนเชี่ยนยังไม่ได้เผยเเพร่ออกมานักเศรษฐศาสตร์ในสมัยนั้นหลายต่อหลายคนบอกว่ารัฐบาลควรจะอยู่เฉยๆให้ตลาดปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพเอง แต่อย่างไรก็เเล้วประธานาธิบดีจะไม่ทนอีกต่อไปเเล้ว !!

ฮูเวอร์ได้ขอให้นักธุรกิจรายใหญ่นั้นลงทุนในโครงการต่างๆ ที่จะช่วยกระตุ้นการจ้างงานเเละเศรษฐกิจของประเทศ

ซึ่งในที่สุดท่านประธานาธิบดีจึงได้อนุมัติโครงการ เขื่อนฮูเวอร์ , ลดภาษี , ปล่อยกู้ให้ธนาคาร เเละสร้างทางรถไฟ เพื่อหวังว่าจะมาช่วยเเก้ไขปัญหาได้บ้าง

แต่ถึงฮูเวอร์จะพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างไร ประชาชนส่วนใหญ่ต่างก็พูดกันว่าเขาเพียงแต่ช่วยเหล่ามหาเศรษฐีที่ไม่ได้เดือดร้อนหรือได้รับผลกระทบมากนัก

ดังนั้นจึงถึงเวลาที่พระเอกตัวจริงต้องออกโรงโดยชื่อของเขา คือ

Franklin Delano Roosevelt

ในวันที่ 4 มีนาคม 1993 รูสเวลได้เข้ารับตำเเหน่งประธานาธิบดีเเทนฮูเวอร์

โดย Concept ที่รูสเวลเน้นในการเเก้ปัญหาครั้งนี้นั้นเรียกว่า 3R ได้เเก่ Relief Recovery Reform

โดยในส่วนของ R แรกคือ Relief นั้นเน้นไปที่การฟื้นฟูเเบบเร่งด่วนโดยมีการให้เงินเเก่คนอดอยาก , พัฒนาสกิลให้กับคนที่ต้องการหางาน เเละใช้ประโยชน์จากพืชผลทางการเกษตรต่างๆ

นอกจากนี้รูสเวลลยังสั่งปิดธนาคารหลายเเห่งในประเทศ โดยให้เปิดเฉพาะธนาคารที่ยังมีเสถียรภาพเท่านั้น นั่นคือการสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนกลับมาใช้ธนาคารอีกครั้ง

ต่อมาในส่วนของ Recovery นั้น รูสเวลได้ใช้มาตราการจัดตั้ง NRA เพื่อให้ประชาชนได้รับค่าเเรงขั้นต่ำ ซึ่งธุรกิจที่เข้าร่วมจะได้รับสัญลักษณ์เป็นการเพิ่มภาพลักษณ์ให้ธุรกิจนั้นดว้ยเช่นกัน นอกจากนี้ยังออกมาตราการช่วยเหลือเกษตรกรในการรับซื้อผลผลิตส่วนเกินจากเกษตกรเพื่อลดภาวะ Over Supply ของสินค้าเกษตร เเละยังมีการสร้างเขื่อนเพิ่มเติมอีกด้วย

สำหรับ R สุดท้ายคือ Reform นั้นคือตัวที่รูสเวลล์คิดว่าจะไม่ทำให้สหรัฐต้องเจอวิกฤตเเบบนี้อีกโดยมุ่งเน้นไปที่การจัดการความเสี่ยงของภาคธนาคาร เเละ บริษัทในตลาดหุ้น

ซึ่งมาตราการต่างๆได้ถูกยกเลิกไปในปี 1999 โดยหลายฝ่ายก็บอกว่านี่เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดวิกฤตปี 2008

ซึ่งจากทั้ง 3R นี้เองก็ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวขึ้นตามลำดับ

แต่วิกฤตของสหรัฐครั้งนี้มาจบลงจริงก็เมื่อเกิด สงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ผ่านมาจริงอยู่ที่รูสเวลสามารถสร้างงานให้ประชาชนเพิ่มขึ้นก็จริงเเต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อประชากรทั้งหมด แต่เมื่อสหรัฐประกาศเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 คนว่างงานก็เเทบจะหายไปทั้งหมดเนื่องจากไปทำสงครามนั่นเอง

เเละเมื่อสงครามจบลง สหรัฐก็ได้กลายเป็นมหาอำนาจเศรษฐกิจเเละการเมืองของโลกในเวลาต่อมา

หากเราย้อนมองวิกฤตที่เกิดขึ้น ก็จะพบว่า สาเหตุหลักที่นำมาสู่ความหายนะทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปี ค.ศ.1929 คือ การที่มูลค่าของกิจการถูกเพิ่มขึ้นจากการเก็งกำไร แทนที่จะเพิ่มจากความสามารถในการผลิตที่แท้จริง (Productivity)เเละ เมื่อวิกฤตลุกลามไปจนทำให้ Bank ขาดความเชื่อมั่นเมื่อไรนั่นจะเป็นชนวนที่ทำให้วิกฤตโหมอย่างรุนเเรงเนื่องจาก Bank เป็นหัวใจของทุนนิยม

ดังนั้นตราบใด ที่คนเรายังหลงติดกับความโลภ จนละเลยการใช้ความสามารถในการผลิต (Productivity) หรือ ความเป็นจริง (Fact) ตราบนั้น วิกฤตก็จะยังคงหมุนวนกลับมาไม่จบสิ้นดังเช่นสหรัฐเองที่ก็เกิดวิกฤตครั้งใหญ่อีกครั้งในปี 2008

ขอบคุณเเหล่งที่มา

shorturl.at/owANO

shorturl.at/irGHK

shorturl.at/ewAB2

--

--