เงินขี้เกียจ ภาคลดหย่อนภาษี

Supanut Apikulvanich
3 min readNov 10, 2018

--

หาเงินว่ายากแล้ว ยังต้องจ่ายภาษีอีก มีทางไหนพอลดหย่อนได้บ้าง ?

เงินขี้เกียจ คือ เงินที่อยู่เฉยๆไม่ได้ใช้ ต้องเอามันไปทำงาน

source: https://pixabay.com/en/taxes-tax-office-tax-return-form-646512/

ช่วงนี้เป็นช่วงปลายปี หลายคนคงคิดว่าจะจัดการกับภาษีปีนี้อย่างไรดี ลดหย่อนวิธีไหนได้บ้าง เช่นซื้อกองทุน LTF หรือ ประกันชีวิต เริ่มต้นเราต้องรู้จักกับภาษีก่อน

ปกติเราเสียภาษีอย่างไร ?

พอเราทำงานมีรายได้ โดยปกติก็จะมี ภาษีหัก ณ ที่จ่าย หักจากรายได้เราแล้ว เช่น รับงาน Freelance หักไป 3% จากรายได้ แต่ฐานรายได้เรา ต้องเสียภาษีที่ 5% แสดงว่าพอถึงเวลาสิ้นปี เวลาไปยื่นภาษีเราต้องเสียภาษีเพิ่ม ให้ครบ

อีกกรณีคือ มนุษย์เงินเดือน หักจากเงินเดือนพอดีทุกเดือน ไม่ต้องทำอะไรเลยก็ง่ายดี แต่ถ้าสมมติมีไปซื้อประกันชีวิต มีการลดหย่อน พอคำนวณมา จากที่หักไปมันมากกว่าที่เราต้องเสียภาษีจริงๆ เราก็สามารถขอคืนได้ ตอนยื่นภาษี ซึ่งก็ต้องเตรียมหลักฐานให้ครบด้วย

วิธีคำนวณภาษี (Tax)

เราต้องเข้าใจวิธีคำนวณภาษีก่อน เมื่อมีรายได้ถึงจุดนึง ก็ต้องจ่ายภาษี วิธีคิดก็จะเป็นตามขั้นบันไดแบบรูปด้านล่าง

หักรายได้ทั้งปี ค่าใช้จ่าย (100,000 บาท) และ ค่าลดหย่อนส่วนตัว (60,000 บาท) ส่วนที่เหลือนำไปคำนวณขั้นบันได ถ้าไม่มีลดหย่อนอื่นๆ

อัตราภาษีเงินได้ ของบุคคลธรรมดา

ดูอัตราภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาได้ที่นี่ http://www.rd.go.th/publish/59670.0.html

Ex. รายได้ทั้งปี 350,000 บาท หักสองอย่างนี้เหลือ 190,000 บาท คิดตามขั้นบันได
150,000 แรก ไม่เสียภาษี
40,000 ส่วนที่เหลือ อยู่ในขั้นบันได 150,000–300,000 ก็ต้องเสียภาษี 5%
ภาษีที่ต้องเสียคือ 2,000 บาท

เผื่อใครขี้เกียจคำนวณเอง ลองเข้าเว็บแล้วลองใส่ค่าต่างๆดูได้ ในเว็บนี้

https://tiscoasset.com/th/asset/html/tax-calculator.jsp

ลองใส่ค่าลดหย่อนต่างๆดู ก็จะคำนวณออกมาให้เลย ไม่ว่าจะประกันชีวิต บริจาค กองทุน LTF และ RMF

หลังจากที่เรารู้วิธีคำนวณภาษีแล้ว (กดๆใน web นี่แหละครับ 555) ผมก็จะยกตัวอย่างการลดหย่อนภาษีเฉพาะบางวิธีครับ

ประกันชีวิต

ช่วยลดหย่อนภาษี ประกันได้ว่า หากเกิดอะไรขึ้น เราจะยังมีเงินอยู่ มี 2 แบบ คือ

  • แบบทั่วไป (ตลอดชีพ, คุ้มครองหนี้สิน, สะสมทรัพย์) ลดหย่อนสูงสุด 1 แสนบาท
  • แบบบำนาญ ตอนคำนวณ ต้องไปรวมกับกองทุน RMF และ PVD
source: https://aommoney.com/stories/insuranger/ซื้อประกันชีวิตเพื่อลดหย่อนภาษียังไงให้ตรงสิทธิ์-และคุ้มค่าที่สุด/21888#jo16p97181

ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ กับ คุ้มครองหนี้สิน คือสิ่งที่เจ้าของไม่มีสิทธิ์ใช้ ทำไว้เพื่อคนรอบตัว เผื่อในวันที่จากไป จะได้ไม่เป็นภาระ

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันชีวิตได้ที่นี่

ประกันสังคม

ออมเดือนละนิดชีวิตสดใส โดย หักจากเงินเดือนเรา มีนายจ้าง และ รัฐบาลสมทบให้ มีสิทธิประโยชน์มากมาย ในหลายกรณี

  • เจ็บป่วย
  • ทุพพลภาพ
  • เสียชีวิต
  • คลอดบุตร
  • สงเคราะห์บุตร
  • ว่างงาน
  • ชราภาพ

เข้าไปเช็กสิทธิประกันสังคมได้ที่นี่

เราสามารถเบิกค่ารักษาต่างๆ หรือได้เงินชดเชย รวมถึงมีบำเหน็จ บำนาญด้วย

source: https://aommoney.com/stories/news/อย่าลืม-รับเงินเกษียณจากประกันสังคมนะจ๊ะ/2034#jo14ki0e19

อ่านเกี่ยวกับประกันสังคมเพิ่มเติมได้ที่นี่

กองทุน

ช่วยลดหย่อนภาษีได้ แถมยังได้ผลตอบแทนในระยะยาวด้วย หากเราเลือกกองทุนดีๆ มีอยู่หลายประเภท และมีเงื่อนไขแตกต่างกันด้วย​ ถ้าทำผิดเงื่อนไขก็จะต้องเสียค่าปรับ

LTF กองทุนรวมหุ้นระยะยาว

LTF (Long Term Equity Fund) กองทุนรวมหุ้นไทย มีทั้งกองทุนที่จ่ายปันผล และ ไม่จ่ายปันผล เน้นลงทุนในหุ้นไม่ต่ำกว่า 65% ของสัดส่วนทั้งหมด ต้องถือ 7 ปีปฏิทิน หรือก็คือประมาณ 5 ปี + 2 วัน (ปลายปีแรก, ต้นปีสุดท้าย)

RMF กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ

RMF (Retirement Mutual Fund) เป้าหมายเพื่อใช้ยามเกษียณ ขายออกมาได้ตอนอายุ 55 ปี และต้องถืออย่างน้อย 5 ปีด้วย

มีกองทุนให้เลือกหลากหลายมากไม่ว่าจะ ตราสารหนี้ หุ้นไทย หุ้นจีน หุ้นอเมริกา หุ้นอินเดีย หุ้นญี่ปุ่น

มีรายละเอียดที่เกี่ยวกับ LTF & RMF อ่านเพิ่มเติมได้จากบทความนี้

PVD กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

PVD (Provident Fund) เป็นกองทุนที่ดีที่สุดสำหรับมนุษย์เงินเดือนเลยครับ หลักๆมีข้อดี 3 ข้อคือ

  • ลดหย่อนภาษี
  • นายจ้างสมทบ
  • ได้ผลตอบแทน

โดยปกติ ก็จะมีให้ลูกจ้างเลือกว่าจะหักตั้งแต่ 2%-15% จากรายได้ เข้ากองทุนแล้วแต่ตกลงกัน บางบริษัทอาจจะมีหลาย Plan ให้เลือกแตกต่างกันไป โดยรวมแล้วก็จะต้องดูว่ามีสัดส่วนระหว่างหุ้นกับตราสารหนี้เป็นอย่างไร

ถ้าหุ้นมากก็จะเสี่ยงหน่อยผันผวนระยะสั้นแต่ระยะยาวให้ผลตอบแทนได้ดี ตราสารหนี้ก็จะให้ผลตอบแทนน้อยไม่หวือหวา

สรุปสั้นๆคือ ให้นายจ้างหักเต็มจำนวนเข้ากองทุน ถ้าอายุยังน้อยก็น่าจะเลือก Plan ที่มีสัดส่วนหุ้นเยอะ เพราะในระยะยาวให้ผลตอบแทนได้ดีครับ

นอกจากนี้เรายังสามารถย้ายหน่วยจาก PVD ไปลงใน RMF ซึ่งมีนโยบายการลงทุนที่ยืดหยุ่นกว่าได้ เพราะ RMF มีกองทุนให้เลือกหลายประเภทมากครับ

ในกรณีที่เราลาออก สิ่งที่สามารถทำได้ คือ

  • ถอนออกมา แต่ต้องดูเงื่อนไขเรื่องภาษีด้วย
  • คงไว้ในกองทุนเหมือนเดิม
  • ย้ายหน่วยลงทุนไปลง PVD ที่บริษัทใหม่

สำหรับหน่วยงานไหนไม่มี Provident Fund ก็ไม่ต้องเสียใจไปครับ

  • ข้าราชการ มีกองทุนที่คล้ายกันคือ กบข (กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ)
  • Freelance มีกองทุนที่คล้ายกันคือ กอช (กองทุนการออมแห่งชาติ)

อยากรู้เกี่ยวกับ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ อ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความนี้

การเลือกกองทุน

ก็ต้องดูเงื่อนไขก่อน แล้วก็ดูผลตอบแทน กับนโยบายที่ลงทุน รวมถึงค่าธรรมเนียมในการบริหารจัดการ ค่าธรรมเนียมการซื้อขายด้วย

ต้องดูว่าเรารับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน อยากลงทุนสินทรัพย์ประเภทไหน ตราสารหนี้ หรือ หุ้น ถ้าเป็นหุ้นจะลงในประเทศ หรือต่างประเทศ

ผมมีตัวอย่างกองทุน ที่เป็นแบบ Passive โดยอิงตาม SET50 อย่าง TMB50RMF ก็จะค่าธรรมเนียมบริหารจัดการต่ำ ผลตอบแทนของ SET50 ในระยะยาวก็ดูสวยดีมากกว่า 10% ต่อปี แต่ระยะสั้นก็จะผันผวนหน่อย

กองทุน TMB50RMF ที่มา https://www.wealthmagik.com

บริจาค

เราสามารถบริจาคเงินให้ วัด โรงพยาบาล โรงเรียน มหาวิทยาลัย แล้วขอใบอนุโมบัตรมาก็นำไปประกอบลดหย่อนได้ ถ้าบริจาคการศึกษาลอหย่อนได้ 2 เท่า

source: https://pixabay.com/en/money-donation-donate-profit-give-652560/

บ้านหลังแรก

เจ้าของบ้านหลังแรก ใช้สิทธิลดหย่อนได้ 20% ของราคาบ้านที่ไม่เกิน 3 ล้านบาท (หากเกินจะไม่นำมาคิดคำนวณ) เฉลี่ยใช้ลดหย่อนได้ 5 ปี ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท ในแต่ละปี

ค่าลดหย่อน = (ราคาบ้าน * 20%) / 5ปี

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ โครงการบ้านหลังแรก ได้ที่นี่

คำเตือน: ในเว็บคำนวณภาษีของ Tiscoasset จะใช้แบบเก่าอยู่ โครงการบ้านหลังแรก 2554–2555 ซึ่งจะเป็น 10%

แบบไหนดีที่สุด ?

บอกไม่ได้หรอกครับ 555555

แต่ละคนมีความต้องการใช้เงิน และสามารถรับความเสี่ยง ได้ไม่เท่ากัน แต่ละครอบครัวก็จะมีจังหวะชีวิตไม่เหมือนกัน ก็ต้องวางแผนให้เหมาะสมแล้วจัดสรร ตามที่มีครับ เก็บเงินเผื่อสำรองกรณีฉุกเฉินด้วยค่อยๆเลือกว่าแบบไหนดี หรือ ไม่ดีอย่างไร สำหรับการลดหย่อนภาษีก็เป็นรูปแบบนึงที่ให้เงินทำงานครับ

ขอทิ้งท้ายไว้ 3 คำ

  • อดทน
  • วินัย
  • เวลา

--

--