เงินขี้เกียจ

Supanut Apikulvanich
2 min readJan 2, 2018

--

เงินอยู่เฉยๆไม่ได้ใช้ ต้องเอามันไปทำงาน

หลายๆอย่างในนี้ ผมได้มาจากการพูดคุย อ่านบทความ และ หนังสือ

ผมอยากจะแบ่งปัน เกี่ยวกับแนวคิดที่มีต่อการลงทุน : )

เราจะทำยังไงกับ “เงินขี้เกียจ” ?

เราปล่อยให้เงินทำงาน แต่เราก็ต้องทำงานด้วย

ถ้าเราไม่ทำงาน เราจะไปรบกวนเงินที่มันทำงานอยู่

พลังในการสร้างรายได้ (Earning Power)

ผมได้อ่านบทความ “เมื่อ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ขอซื้อนาคตทางการเงินของคุณ”

ซึ่งผมชอบอยู่ part นึง โดยมีใจความว่า…

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ คุณต้องสร้าง “พลังในการสร้างรายได้” (Earning Power)

ซึ่งสำคัญมากกว่า “การนำเงินไปลงทุน” เสียอีก

วอร์เรน บัฟเฟตต์

ที่มา https://clubvi.com/2017/09/03/buffproposes

สำหรับผม รายได้หลักของเรา มาจาก การใช้ความรู้ และ ความสามารถ ในการทำงาน ซึ่งเป็นกำลังหลักของเราในการสร้างรายได้

การนำเงินไปลงทุนเป็นเรื่องรอง ที่ช่วยเพิ่มความมั่งคั่ง เพราะเริ่มต้น ถ้าไม่มีความสามารถ จะหาเงินต้นที่ไหนไปลงทุนได้

เงินเฟ้อ

Ex. เรามีเงิน 50 บาทวันนี้ อาจจะซื้อข้าวกินได้พอดี แต่พอเวลาผ่านไปอีกหลายๆปี กลับไม่สามารถซื้อข้าวกินได้ เพราะ ราคาข้าวขึ้นเป็น 70 บาท

เงินกลับมีค่าลดลงเมื่อเวลาผ่านไป จำนวนเงินที่ควรจะซื้อได้ กลับซื้อไม่ได้

หาเงินก็ยากแล้ว ฝากเงินเฉยๆ ยังต้องเจอเงินเฟ้ออีก

จากบทความข้างบน อัตราเงินเฟ้อ คือ 2.1%

เงินที่เก็บไว้ 1,000,000 บาทในวันนี้ ผ่านไปอีก 10 ปี

มีค่าเพียง 812,348 บาท

เงินเฟ้อ ก็ดูเป็นอะไรที่ทำให้ลำบากใจได้เหมือนกัน

นี่เป็นเหตุผลที่ทำไมการลงทุนดูน่าสนใจ

จริงๆแล้วการไม่เสี่ยงเลย กลับเสี่ยงกว่าหรือเปล่า ?

พลังของดอกเบี้ยทบต้น

อัลเบิร์ต ไอสไตน์ กล่าวไว้ว่า สิ่งมหัศจรรย์ของโลกอย่างที่ 8 คือ “ดอกเบี้ยทบต้น”

จากเงินเริ่มต้น 100,000 บาท ที่อัตราดอกเบี้ยต่างกัน ผ่านไป 10 ปี

เปรียบเทียบดอกเบี้ยทบต้น ที่อัตราแตกต่างกัน ใน 10 ปี

10 ปีผ่านไป ให้ผลลัพธ์ ที่แตกต่างกันมากๆ

3% → 134,391.64 บาท

30% → 1,378,584.92 บาท

ถ้าเราสามารถนำเงินไปลงทุน ที่ให้ผลตอบแทนทบต้นต่อปีได้ ที่เพิ่มขึ้นปีละ 30%

หรือต่อให้ได้ไม่ถึง 30% แต่ได้แค่ 10% ต่อปี ก็ยังสูงอยู่ดี ซึ่งทำให้เงินก้อนนั้น กลายเป็น มากกว่า 2 เท่าของเงินต้นอีก

แรกๆ อาจจะดูไม่แตกต่างกันมาก ระหว่าง 3% กับ 30% ต่างกันแค่ไม่กี่หมื่น

แต่พอเวลาผ่านไป ก็ยิ่งต่างกันมากขึ้นเรื่อยๆ นี่แหละ คือ พลังของดอกเบี้ยทบต้น

เวลาเป็นปัจจัยนึง ที่สำคัญในการลงทุน

วิธีให้เงินทำงาน

  • ลดหย่อนภาษี
  • บัตรเครดิต
  • ลงทุนในหุ้น
  • กองทุนรวม
  • ฝากประจำ
  • ลงทุนใน Cryptocurrency
  • ลงทุนในตราสารหนี้
  • ลงทุนในพันธบัตร
  • ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
  • ซื้อประกัน

วางแผนการใช้เงิน

ปัญหาทั่วไป

  • ต่อให้หาเงินได้มากเท่าไหร่ แต่ใช้มากเท่านั้น ก็ไม่เหลือเงินเก็บ
  • เก็บไว้เฉยๆ ก็แพ้เงินเฟ้อได้
  • นำเงินทั้งหมดที่หามาลงทุน แต่พลาดขาดทุนก็ลำบากได้

แต่ละคน แต่ละช่วงเวลา จะมีความจำเป็นในการใช้เงิน ไม่เหมือนกัน และ รับความเสี่ยงได้ไม่เท่ากัน

การกระจายความเสี่ยงไม่มากไป ไม่น้อยไป ทางสายกลาง อย่างสมดุล และ เหมาสมแบ่งเงิน ทั้งลงทุน ชีวิต สุขภาพ ความสุข การเรียนรู้ เที่ยว บริจาค ลดหย่อนภาษี

ผมแนะนำให้อ่านบทความเกี่ยวกับ Six jars ในการแบ่งเงินในแต่ละไห

ซึ่งจริงๆ เราอาจจะไม่ยึดตามนี้เป็นหลักก็ได้ แล้วแต่จะวางแผนยังไง

สิ่งสำคัญคือ วินัยในการใช้เงิน

การลงทุนแบบ Value Investment (VI) ?

คือ การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนแบบระยะยาว ในบริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีโอกาสเติบโต มีแนวโน้มที่ดีในระยะยาว มั่นคง ปลอดภัย ยั่งยืน

อ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความด้านล่าง

หุ้นคือการเป็นหุ้นส่วน เราอยากจะเป็นเจ้าของบริษัทที่ดี มีกำไรต่อเนื่อง ซึ่งเบื้องหลังของบริษัทก็คือธุรกิจ

ลงทุนโดยใช้มุมมองร่วมทำธุรกิจ

ซึ่ง เราต้องวิเคราะห์ว่า ธุรกิจของเรา มีความได้เปรียบอะไรบ้าง มีคู่แข่งเป็นยังไง อะไรมีผลกระทบต่อกำไรบ้าง หนี้สินเยอะหรือไม่ ต้องมีค่าจ้างพนักงานเท่าไหร่ ต้นทุนเยอะหรือไม่ เพื่อนที่ถือหุ้นกับเราเชื่อใจได้หรือเปล่า เป็นต้น

เราต้องมาวิเคราะห์คุณภาพของบริษัท ดูรายละเอียดต่างๆ

ซื้อ เมื่อเจอของดี ราคาถูก

ถือ เมื่อปัจจัยพื้นฐาน ยังคงดีเหมือนเดิม

ขาย เมื่อปัจจัยพื้นฐานเปลี่ยนไป แนวโน้มไปในทางที่ไม่ดี ในระยะยาว

ต้องลงทุนในสิ่งที่เราเข้าใจ เท่านั้น

เมื่อบริษัทที่ดี เติบโตต่อเนื่อง หรือ ปันผลอย่างสม่ำเสมอ พลังของดอกเบี้ยทบต้น และ เวลา จะเป็นเพื่อนที่ดีกับนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor)

ซื้อบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม

Buy a wonderful company at a fair price

— วอเร็น บัฟเฟตต์

อารมณ์ที่ต้องเจอในการลงทุน

3 สภาวะอารมณ์ “ตอนมันขึ้น” “ตอนมันลง” “ตอนมันนิ่ง” เป็นสิ่งที่ยั่วยุเราอยู่เสมอ

ความผันผวนในตลาด อาจจะเป็นหลายสิ่งที่หลายคนกลัว แต่จริงๆ แล้วก็เป็นโอกาสดี ในการเข้าซื้อ และ ฝึกสภาพจิตใจเช่นกัน

ตอนมันขึ้น

พอมีกำไรขึ้นมา เราก็อยากขาย แต่ลองมองดีๆ

เราจะขายบริษัทที่ทำเงินให้เราได้ดี จริงๆหรอ มันราคาสูงมากพอ ที่เราขายแล้ว

มันคุ้มกว่าที่บริษัทนั้นทำเงินให้เราได้ในระยะยาวจริงหรอ ?

ขายตัวชนะ เก็บตัวแพ้

ก็เหมือนเด็ดดอกไม้ แล้วรดน้ำให้วัชพืช

— ปีเตอร์ ลินซ์

ตอนมันลง

ความผันผวนที่เกิดขึ้น จากอารมณ์ ของคนในตลาด ที่พากันแห่ทิ้ง ให้ราคามันตกฮวบ

มันอาจจะทำให้เราใจหาย ที่ราคามันตกลงมา แต่ถ้าปัจจัยพื้นฐานของบริษัทยังดีเหมือนเดิม กำไรยังคงดีอยู่เหมือนเดิม เราจะขายบริษัทนั้นทิ้งทำไม ?

ถ้ามันยังดีอยู่ ยิ่งเป็นโอกาสดี ที่เราควรจะซื้อเพิ่ม เพราะ บริษัทดีๆ กำลังลดราคา :)

ตอนมันนิ่ง

มันอาจจะเป็นกับดัก ที่ทำให้เราคิดว่า มันคงไม่ไปไหน แต่จริงๆแล้ว การพัฒนาก็ต้องใช้เวลา บางครั้งเราก็ต้องรอบ้าง

ความอดทน เท่านั้นที่จะผ่านไปได้

ขอทิ้งท้ายไว้ 3 คำ

  • อดทน
  • วินัย
  • เวลา

--

--