กระบวนการแสดงเพื่อสื่ออารมณ์โศกของพิเภกและกุมภกรรณในกุมภกรรณทดน้ำ

#โศการส #โขนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ศิลปกรรมทั้งปวงมีบทบาทหน้าที่หลายประการ หน้าที่หนึ่งที่สำคัญคือ “การสื่อสาร” ผ่านองค์ประกอบหลัก 2 ประการคือ 1. เนื้อหาความคิดซึ่งเป็นเรื่องราวของชีวิตและ 2. วัตถุสุนทรีย์ซึ่งแตกต่างไปตามประเภทของศิลปกรรมนั้น วัตถุสุนทรีย์เป็นเครื่องมือที่ใช้สื่อสารเนื้อหาความคิดหรือเนื้อหาชีวิต กล่าวเฉพาะศิลปกรรมประเภทนาฏศิลป์ใช้กระบวนการแสดง/กระบวนท่ารำทั้งปวง “เป็นวัตถุสุนทรีย์”

กระบวนการแสดงเพื่อสื่ออารมณ์โศกของพิเภกและกุมภกรรณในกุมภกรรณทดน้ำ
กระบวนการแสดงเพื่อสื่ออารมณ์โศกของพิเภกและกุมภกรรณในกุมภกรรณทดน้ำ

จากอิลราชคำฉันท์สู่บทละครรำเรื่องอิลราช

#จากวรรณกรรมเพื่อการอ่านสู่การเเสดง #AdaptationStydies #การดัดเเปลงศึกษา วันพุธที่ 5 เม.ย. 2566 ได้มีโอกาสเข้าชมและเป็นกรรมการวิพากษ์การแสดงของนักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชานาฏศิลป์ (รุ่น13/จำนวน7คน) ของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ การแสดงดังกล่าวเป็น “กติกาบังคับของหลักสูตร” ที่ผู้สอนและผู้เรียนมีข้อตกลงร่วมกันอย่างชัดแจ้งแล้วในรายวิชา “ภูมิปัญญานาฏประดิษฐ์” ซึ่งกระทำสืบเนื่องมาตั้งแต่รุ่นแรก ในรุ่นนี้เลือกที่จะหยิบเอาเรื่อง “อิลราชคำฉันท์” ซึ่งเป็นวรรณกรรมเพื่อ การอ่านปรับเปลี่ยนมาเป็นการแสดงในรูปแบบละครรำตามความถนัดและความสนใจ การปรับเปลี่ยนดังกล่าวไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสำหรับเด็กนาฏศิลป์ ประการแรก เรื่องอิลราชเป็นเรื่องเล่าที่ให้ความสำคัญกับเหตุการณ์ที่เรียงร้อยไปตามลำดับ ไม่เน้นความเข้มข้นทางอารมณ์ของตัวละคร เมื่อนำมาแสดง หากผู้แสดงขาดประสบการณ์ เรื่องอาจขาดรสชาติไป แต่ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการแปรบทใหม่ของผู้สร้างตัวบทละคร ความยากประการต่อมาคือการฝ่ากำแพงของภาษาในตัวบทที่เป็นวรรณกรรมการอ่านที่อุดมไปด้วยศัพท์แสงบาลี สันสกฤต และข้อบังคับของฉันทลักษณ์ครุ ลหุ ประการสุดท้าย คือเรื่องอิลราชคำฉันท์ที่ปรากฏใน “บ่อเกิดรามเกียรติ์” นั้น เท่าที่สำรวจยังไม่เห็นว่าหน่วยงานใดนำมาแสดงไม่ว่าจะรูปแบบใดก็ตาม (หากเคยนำมาแสดงแล้วต้องขออภัย) มองในแง่ดีนักศึกษาจะได้มีอิสระที่จะคิดและทำตามเจตจำนงของตนได้เต็มที่ แต่อีกแง่หนึ่งอาจเป็นข้อจำกัดที่ไร้ต้นแบบให้ต่อยอดต่อไป…ลักษณะดังกล่าวนี้จึงเป็นความท้าทายความรู้ความสามารถซึ่งก็คือ “ศักยภาพ” ทั้งปวงของนักศึกษารุ่นนี้อย่างมาก

จากอิลราชคำฉันท์สู่บทละครรำเรื่องอิลราช
จากอิลราชคำฉันท์สู่บทละครรำเรื่องอิลราช

ส่องละครโทรทัศน์เรื่องวันทองด้วยทฤษฎีรื้อสร้าง

เสภาขุนช้างขุนแผนในฐานะวรรณคดีมรดก นักวรรณคดีศึกษาเข้าใจตรงกันว่า วัฒนธรรมวรรณศิลป์ในรูปแบบของวรรณคดีที่มีความแพร่หลาย และดำรงอยู่อย่างมีคุณค่าในปัจจุบันนั้นเคยเผยแพร่กระจายอยู่ในลักษณะของนิทานพื้นบ้าน หรือเรื่องเล่าพื้นบ้านมาก่อน เช่น พระลอ รามเกียรติ์ อิเหนา สังข์ทอง ไกรทอง หรือขุนช้างขุนแผน ทุกเรื่องเป็นเรื่องเล่ามุขปาฐะที่บันทึกเนื้อหาทางชีวิตและอารมณ์ของสังคมในยุคสมัยนั้น ๆ จนมีความเจริญทางวัฒนธรรม หนังสือ เรื่องเล่าหลากสำนวนเหล่านั้นก็ได้รับการชำระจากผู้รู้ซึ่งก็คือ…

ส่องละครโทรทัศน์เรื่องวันทองด้วยทฤษฎีรื้อสร้าง
ส่องละครโทรทัศน์เรื่องวันทองด้วยทฤษฎีรื้อสร้าง

เพลงในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยมหิดล: จาก “สาวนาสั่งแฟน” ถึงการกระตุ้นเตือนสำนึกรักถิ่นเกิดของบัณฑิตใหม่

สืบเนื่องจากไวรัล (Viral) ของคลิปวิดีโอพิธีพระราชทานปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยมหิดลในช่วงเดือนตุลาคม 2565 ที่ผ่านมานี้ ได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวาง ในประเด็นที่นำการแสดงดนตรีมาเสนอไว้ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร แนวคิดดังกล่าวได้รับการอรรถาธิบายไว้ในคลิป อย่างชัดเจนจากอาจารย์วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้อยู่เบื้องหลังของผลงานการแสดงครั้งนี้ “กว่าจะเป็นโชว์ในงานรับปริญญามหาวิทยาลัยมหิดล ในรายการ Mahidol Music Journey” ว่า การสร้างโชว์นี้ไม่ใช่ของใหม่หรือเป็นปีแรก หากแต่ได้กระทำสืบต่อกันมาหลายปีแล้ว ที่น่าสนใจอันทำให้การสร้างโชว์นี้มีความสะดุดเด่นมากกว่าปีที่ผ่าน ๆ มาคือ แนวคิดที่ว่าจะทำโชว์ของปีนี้ (ปีการศึกษา 2563–2564) อย่างไร คำตอบก็คือ ต้องการให้มีกลิ่นอายของดนตรีต้องการแบบผสมผสานของความเป็นไทยกับเทศ การนำดนตรีเข้าไปแสดงในงานนี้ (ผู้เขียนประมวลข้อมูลจากคลิป) อาจแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกประกอบด้วยโครงสร้างของการแสดง 3 ส่วน คือเริ่มจากการบรรเลงดนตรีสไตล์ยิปซี (Gypsy) ซึ่งเป็นเพลงเต้นรำ แบบผสมผสานของยุโรป ซึ่งใช้เครื่องดนตรีน้อยชิ้น จากนั้นเปลี่ยนอารมณ์มาเป็นบรรเลงและร้องแบบประสานเสียงในเพลงลาวดวงเดือน ซึ่งปรับจากอารมณ์ครึกครื้นสนุกสนานมาเป็นนิ่งสงบ เชื่อมโยงไปสู่ส่วนที่ 3 ของโครงสร้างการแสดงช่วงแรกคือการร้อง “น้ำตาแสงไต้” ของผู้ประพันธ์และผู้ร้องชั้นครูในอดีตคือ ครูสง่า อารัมภีร์ และชรินทร์…

“การนำเสนอเพลง ‘เศรษฐีน้ำตา’ ใน Version ภูมิ แก้วฟ้าเจริญ: นาฏกรรมกับการสื่อความ”

“การนำเสนอเพลง ‘เศรษฐีน้ำตา’ ใน Version ภูมิ แก้วฟ้าเจริญ: นาฏกรรมกับการสื่อความ” “ตัวบท” หรือ (Texts) มิได้จำกัดเฉพาะงานเขียนที่มีคุณลักษณ์ของวรรณกรรมเท่านั้น เพราะนักคิดหลายสำนักอาทิ นักวัฒนธรรมศึกษา (Cultural Study) มองว่า ทุกสิ่งทุกอย่างคือ “ตัวบท” อันได้แก่ วรรณกรรม ดนตรี ละคร ภาพยนตร์ โฆษณา เพลง ฯลฯ “ตัวบท” เหล่านี้สามารถศึกษาค้นคว้าหาความหมายได้ทั้งหมดและความหมายอันเกิดจากความรู้ ความจริงนั้น มิได้มีอยู่แล้วแต่เกิดจากการ “จัดกระทำ” หรือ “ประกอบสร้าง” ขึ้นมาอย่างมีกลวิธี หรือแยบคายอย่างไรอย่างเช่นกรณีเพลง “เศรษฐีน้ำตา” ใน Version ที่ภูมิ แก้วฟ้าเจริญ ที่นำเสนอไว้ในการประกวดรอบชนะเลิศรายการ “เวทีเพลงเพราะ” (The Golden Song 4) ของสถานีโทรทัศน์ช่องวัน (One) เมื่อวันที่ 12…

“การนำเสนอเพลง ‘เศรษฐีน้ำตา’ ใน Version ภูมิ แก้วฟ้าเจริญ: นาฏกรรมกับการสื่อความ”
“การนำเสนอเพลง ‘เศรษฐีน้ำตา’ ใน Version ภูมิ แก้วฟ้าเจริญ: นาฏกรรมกับการสื่อความ”

“แผ่นดินเรืองรอง แผ่นดินทองของไทย” : อ่าน (ดู) โฆษณาอย่างไรให้เข้าใจและรู้เท่าทัน

“แผ่นดินเรืองรอง แผ่นดินทองของไทย” : อ่าน (ดู) โฆษณาอย่างไรให้เข้าใจและรู้เท่าทัน โฆษณาเป็นตัวบททางวัฒนธรรมที่ประกอบสร้างขึ้นด้วยรูปสัญญะต่าง ๆ เพื่อสื่อความหมายอันซับซ้อน การรับสารด้วยการอ่านและการดู (เป็นทักษะสำคัญของการรับสารจากตัวบททางวัฒนธรรมผ่านสื่อร่วมสมัย) โฆษณาจึงท้าทายความรอบรู้ของผู้รับสารในการพินิจพิเคราะห์ (Critical Thinking) เพื่อจะเข้าใจและรู้เท่าทันต่อความหมายนั้น สัญญะ (Sign) คือ คำ ภาพ หรือสิ่งวัตถุใด ๆ ก็ตามที่มีความหมายซึ่งได้จาการพินิจสารและประกอบ ไปด้วย รูปสัญญะ (Signifier) และความหมายสัญญะ (Signified) ซึ่งมีทั้งความหมายตรง (Denotation) และความหมายโดยนัย/แฝง (Connotation) ความหมายอย่างหลังนี้ (แฝง) คือความหมายในระดับของมายาคติ (ที่ผู้สร้างสรรค์โฆษณามุ่งประกอบสร้างตั้งแต่รูปสัญญะทั้ง คำ ภาพ ลีลากิริยาอาการ วัตถุสิ่งของต่าง ๆ ฯลฯ) เพื่อใช้สื่อสารซึ่งเรียกว่า การใส่รหัสสาร (Encode) ผู้ชมหรือผู้ดู (อ่าน) ทำหน้าที่ในการถอดรหัสสาร (Decode) ซึ่งจะพบส่วนประกอบต่าง…

“แผ่นดินเรืองรอง แผ่นดินทองของไทย” : อ่าน (ดู) โฆษณาอย่างไรให้เข้าใจและรู้เท่าทัน
“แผ่นดินเรืองรอง แผ่นดินทองของไทย” : อ่าน (ดู) โฆษณาอย่างไรให้เข้าใจและรู้เท่าทัน

สะอื้นกับการร้องไห้โฮอย่างไหนจะเศร้าและจุกกว่ากัน

#เมื่อธรรมชาติถูกใช้เป็นเครื่องมือระบายความเศร้า #แม่สอดสะอื้นกับเรื่องเล่าความรักไม่สมหวังของสาวเหนือหนุ่มใต้ #การผลิตซ้ำ เรื่องของการถูกสลัดรักของสาวเหนือ (แม่สอด จ.ตาก) กับหนุ่มใต้ (กรุงเทพฯ อันนี้คิดเอง) ของเนื้อหาในเพลงแม่สอดสะอื้น ก็เหมือนกับเรื่องเล่าของตำนานรักไม่สมหวังของสาวเหนืออย่าง สาวเครือฟ้า หรือวังบัวบาน ฯลฯ ที่รับรู้กันทั่วไป เพลงนี้เล่าความขมขื่นของสาวเหนือโดยการใช้ภาษาวรรณศิลป์ที่ประณีตพรรณนาด้วยความเปรียบหลายแห่ง ทั้งบุคลวัตที่เป็นชื่อเพลงที่ทั้งสะอื้น ขมขื่นและเศร้า ใช้อุปมาเปรียบความโศกเศร้าของแม่สอดกับความเศร้าของสาวที่ถูกทอดทิ้ง (เหมือนข้าซบเซาถูกเขาทอดทิ้งรำพัน)