ยุคดิจิทัลกับการสื่อสารข้อมูลให้ทันการณ์(ตอนที่ 2)

Araya Sangmahachai
1 min readMar 11, 2024

การสื่อสารในยุคดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพ ควรจำเป็นต้องแยกแยะความแตกต่างระหว่างข้อเท็จจริง(Fact) กับข้อคิดเห็น(Opinion) ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของ “ข้อเท็จจริง” ว่า มีความเป็นไปได้ มีความสมจริง มีหลักฐานเชื่อถือได้ และมีความสมเหตุสมผล ส่วน “ข้อคิดเห็น” เป็นข้อความที่แสดงความรู้สึก แสดงความคาดคะเน แสดงการเปรียบเทียบ เป็นข้อความที่เป็นข้อเสนอแนะหรือเป็นความคิดเห็นของผู้พูดเอง โดยสรุปแล้ว ข้อเท็จจริง(Fact) หมายถึง ข้อความแห่งเหตุการณ์ที่เป็นมาหรือเป็นอยู่ตามจริง หรือจะต้องวินิจฉัยว่าเท็จหรือจริง แสดงว่าข้อเท็จจริงนั้นต้องสามารถพิสูจน์สนับสนุนยืนยันได้ ข้อคิดเห็น(Opinion) หมายถึง ความเห็น ความรู้สึกนึกคิดของผู้ส่งสารที่สอดแทรกอยู่ในเนื้อหา ไม่สามารถสนับสนุนยืนยันได้ ตัวอย่างของการแยกแยะระหว่าง ข้อเท็จจริงกับข้อคิดเห็น เช่น

การเชื่อสื่อโฆษณา Online คิดก่อนคลิก

1) แนบเนียน จนไม่เกิดความรู้สึกว่าเป็นการโฆษณาชวนเชื่อ
2) มุ่งบุคคลสำคัญ
3) กลมกลืน สอดคล้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
4) เล่าย้ำซ้ำทวน ไม่สร้างเรื่องขึ้นใหม่เพื่อป้องกันการถูกจับได้และทำให้เสียความน่าเชื่อถือ สังเกตได้

จากโฆษณาชวนเชื่อจะนำเรื่องที่นำมาเป็นประเด็นมาย้ำซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพื่อให้คนได้ยินเรื่องเหล่านี้ซ้ำ ๆ แล้วจะหลงเชื่อไปเอง
5) ปรับเปลี่ยนเสมอ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์
6) พยายามควบคุม ควบคุมข้อมูลผ่านสื่อและคัดเลือกเฉพาะข้อมูลที่เข้าข้างฝ่ายของตนเอง
7) ใช้สื่อกระจาย ด้วยวิธีปากต่อปาก ป้ายประกาศในพื้นที่
8) สร้างสมญานาม ที่ช่วยในการจดจำได้ง่าย

การดูส่วนผสม เป็นตัวอย่างหนึ่งของข้อเท็จจริง เช่นการดูส่วนผสมของส่วนผสมในเครื่องสำอาง ส่วนผสมหรือเครื่องปรุงในอาหารสำเร็จรูป รวมถึงการอ่านฉลากโภชนาการซึ่งจะบอกถึงสารประกอบทางอาหารที่ดีและไม่ดีต่อสุขภาพ

การรู้ทันสื่อ Social Network

ทักษะสำคัญที่ควรมีและควรฝึกฝน คือ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) เพราะความคิดเป็นพื้นฐานสำคัญของการสื่อสาร ไม่ว่าจะฟัง พูด อ่าน หรือเขียน ล้วนต้องใช้ความคิด และการคิดอย่างมีวิจารณญาณก็เป็นหนึ่งในทักษะของการศึกษาในศตวรรษที่ 21 แล้วคิดอย่างไรจึงจะมีวิจารณญาณ คำตอบคือ คิดอย่างมีเหตุผลและถี่ถ้วน การรู้เท่าทันสื่อคือการที่ผู้เรียนรู้จักธรรมชาติและหลักการทำงานของสื่อแต่ละประเภท โดยมีหลักในการวิเคราะห์สื่อผ่านการถามคำถามกับตัวเอง 5 คำถาม ดังนี้

  1. ใครเป็นผู้สร้างเนื้อหานั้น
    เช่น เพจใน Facebook ผู้ใดเป็นเจ้าของและเป็นคนสร้างคอนเทนต์
    2. ทำไมเนื้อหาจากสื่อนั้นดึงดูดความสนใจตัวเราได้
    ต้องการให้ใบหน้าเรียวเล็ก สวย และอยากสมัครแอร์โฮสเตส และยังเห็นว่าได้ทั้งส่วนลดและของแถมดีกว่าไปทำ ศัลยกรรมที่หมดเงินมากกว่า
    3. เราตีความเนื้อหาเหล่านั้นว่าอย่างไร
    ต้องการใช้ประโยชน์จากมาตรฐานความงาม โดยการนำเรื่องของ โอกาส การได้เปรียบ-เสียเปรียบมาเชื่อมโยง ทั้ง ๆ ที่ความสามารถเป็นตัวแปรหลักในการได้มาซึ่งสิ่งเหล่านั้น

4. เนื้อหาเหล่านั้นมี หรือแสดงคุณค่าอะไรต่อตัวเรา
เนื้อหาดังกล่าวเป็นการแสดงให้เห็นถึงค่านิยมทางความงามกับโอกาส ซึ่งคุณค่าที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเรานั้นยังไม่เห็นเด่นชัด เนื่องจากสิ่งที่โฆษณานั้นไม่มีข้อมูลสนับสนุนชัดเจนทางการแพทย์ว่า เพียงสายรัดจะสามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกระดูกของใบหน้าได้

5. ทำไมเนื้อหาเหล่านั้นจึงถูกสร้างขึ้น สร้างขึ้นมาเพื่ออะไร ใครได้ผลประโยชน์
เจ้าของแบรนด์ รวมทั้งแอดมิน (administrator) ที่สร้างเว็บเพจนี้ เนื่องจากเป็นเพจรีวิวความงาม การได้รีวิวของซึ่งส่วนใหญ่จะเห็นด้านดีมากกว่าด้านเสีย ซึ่งทางเพจก็จะได้ค่าโฆษณาจากแบรนด์ดังกล่าว ที่เอื้อพื้นที่ตลาดออนไลน์ในการโฆษณา หรือแนะนำสินค้า

อีกสิ่งที่ช่วยให้ผู้เสพสื่อรู้เท่าทันสื่อนั่นคือ การรู้เท่าทันสื่อ วิเคราะห์ แยกแยะ ซึ่งการที่ไม่หลงเชื่อเนื้อหาที่อ่าน ได้ยิน ได้ฟัง แต่สามารถคิด วิเคราะห์ สงสัย และรู้จักตั้งคำถามว่า สิ่งนั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ใครเป็นคนให้ข้อมูล เขาต้องการสื่ออะไร และหวังผลหรือมีอะไรแอบแฝงในการสื่อสาร

การเปิดรับสื่อ แยกความคิดและอารมณ์ออกจากกันเพื่อหาข้อเท็จจริง

การเข้าใจสื่อ การตีความ ทำความเข้าใจสิ่งที่สื่อนำเสนอ ซึ่งส่วนนี้จะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลเพราะประสบการณ์ การรับรู้ต่างกัน การตีความจึงอาจไม่เหมือนกัน

การวิเคราะห์สื่อ แยกแยะองค์ประกอบในการนำเสนอเพื่อหาวัตถุประสงค์

การประเมินค่า ประเมินสิ่งที่สื่อนำเสนอว่ามีคุณภาพและคุณค่าเพียงใด

การใช้สื่อให้เกิดประโยชน์ เลือกรับสื่อเป็น ส่งสารต่อได้ มีปฏิกิริยาตอบกลับสื่อได้และนำสิ่งที่เป็นประโยชน์ไปวิเคราะห์

--

--