--
บทความ เรื่อง ผลกระทบที่พลเมืองไทยต้องควรรับรู้และเข้าใจการใช้สื่อโซเชียลมีเดียในปัจจุบัน
สังคมไทยในปัจจุบันกับการใช้ชีวิตประจำวันของพลเมืองทุกคน ว่าด้วยการแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย นั้น ถือว่าการสื่อสารผ่านช่องทางต่าง ๆ มีความสำคัญและจำเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การประสานงานโดยการสื่อสารในแบบระหว่างบุคคลกับบุคคล องค์การกับองค์การ และบุคคลกับองค์การ ในเมื่อมีการสื่อสารเกิดขึ้นที่ผ่านสื่อโซเชียลมีเดียที่หลากหลาย ผู้ส่งสารหรือการโพสต์ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคำพูดหรือ นำสารสนเทศต่าง ๆมาโพสต์เพื่อเป็นการสื่อสารนั้นไม่ว่าจะกรณีใด ๆผู้โพสต์ต้องระมัดระวัง และรอบคอบละเอียดถี่ถ้วน ไม่ให้มีผลกระทบในทางลบแก่ผู้อื่น หรือหน่วยงานองค์การอื่นใด หรือนำข้อมูลสารสนเทศหรือข้อความอื่นใดจากแหล่งอื่น ให้ทำตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องและต้องทำการอ้างอิงหรือขอบคุณ และต้องขออนุญาตเจ้าของข้อมูล เมื่อได้รับอนุญาตจึงจะสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นไปโพสต์ต่อได้
การโพสต์ข้อมูลข่าวสารใด เมื่อเกิดข้อผิดพลาดแล้วอาจจะผิดพรบ.คอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดการฟ้องร้อง ถูกดำเนินคดีเรียกค่าเสียหายได้
ในการนี้ผู้เรียบเรียงบทความใคร่ที่จะนำ พรบ.คอมพิวเตอร์ ฉบับ พ.ศ.2560 มานำเสนอให้พิจารณา โดยจะสรุปสาระสำคัญ 2 มาตราที่เราควรระวังในชีวิตประจำวัน เช่น
พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 คือหนึ่งในมาตราที่ประชาชนควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพราะเป็นหนึ่งในฐานความผิดที่มีคดีฟ้องร้องมากที่สุด โดยตัวอย่างการกระทำผิด มาตราดังกล่าว มีดังนี้
โพสต์หรือแชร์ ข้อมูลปลอม ไม่เป็นความจริง หลอกลวง (อย่างเช่น แม่ค้าออนไลน์โพสต์หลอกลวงเพื่อเก็บเงินลูกค้า แต่ไม่มีการส่งมอบสินค้าจริง โฆษณาธุรกิจลูกโซ่ที่หลอกลวงเอาเงินลูกค้า โพสต์ข่าวปลอม เป็นต้น)
การกด like & Share ข่าวหรือข้อมูลปลอม อันเป็นการให้เพื่อนใน social network ได้เห็นข้อมูลดังกล่าวด้วย ก็ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 เช่นกัน
เป็นแอดมินเพจที่ปล่อยให้มีข่าวหรือข้อมูลปลอมเผยแพร่ในเพจตัวเอง โดยมิได้ทำการลบทิ้ง
โพสหรือเผยแพร่ภาพเปลือย ภาพลามกอนาจารของคนรู้จัก หรือ คนรักเก่า อันเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับความอับอาย หรือเสียหาย
บทลงโทษ หากเป็นการกระทำที่ส่งผลถึงประชาชน ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากเป็นกรณีที่เป็นการกระทำที่ส่งผลต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (แต่ในกรณีอย่างหลังนี้สามารถยอมความกันได้)
พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มาตรา 16 | ตัวอย่างการกระทำผิด
กระทำการเผยแพร่ภาพที่สร้างขึ้น หรือภาพตัดต่อ อันเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับการดูหมิ่น อับอาย หรือ เสียชื่อเสียง ตัวอย่างเช่น
เผยแพร่ข้อมูลเยาวชน โดยไม่มีการปกปิดตัวตนของเยาวชนท่านนั้น โดยตามกฎหมาย หากเปิดเผยตัวตนเยาวชนสู่สาธารณะ อาจทำให้ใช้ชีวิตในสังคมลำบาก อาจถูกดูหมิ่น เกลียดชัง
เผยแพร่ภาพของผู้เสียชีวิต อันส่งผลให้พ่อแม่หรือคู่สมรสของผู้ตาย เกิดความอับอาย
บทลงโทษต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 3 ปี เดือน ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่มีผลบังคับใช้แล้ว ซึ่งยังมีอีกหลายประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ ดังนั้นจึงควรรู้กฎ กติกาการใช้งานไว้ก่อน ก็จะช่วยป้องกันไม่ให้เราเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมายได้
อ้างอิง
พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ 2560. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๖๐ หน้า ๒๔ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๑๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ มกราคม ๒๕๖๐ สืบค้น วันที่
20 กุมภาพันธ์ 2566. จาก http://www1.ldd.go.th/web_enactment/enact2560.html