Soft skills สำหรับคนทำงานสาย Data Engineers ต้องมีอะไรบ้างนะ
สวัสดีครับ สำหรับเพื่อนๆที่เข้ามาอ่านบทความนี้ และคนที่สนใจในการอยากจะลองเรียนคอร์ส Road to data engineer 2.0 ว่านอกจากบทเรียนที่ได้เรียนแล้ว จะมี Special พิเศษอะไรบ้าง ที่แอดเพิร์ธและทีมผู้สอนจะแถมให้เรากันอีกในคอร์สเรียนนี้
ก่อนที่จะพาไปดูเกี่ยวกับ Bonus ของคอร์สนี้ จะพามาดูบทเรียนกันก่อนครับ ว่าตลอดระยะเวลา 2 เดือนเราจะเรียนอะไรกันบ้าง ต้องบอกก่อนว่า คอร์สรอบนี้เป็นรอบสอนสดนะครับ แต่มีให้เรียนทบทวนย้อนหลังได้ครับ
เริ่มแรกของเนื้อหาในคอร์สนี้จะปูพื้นฐาน Python / SQL จนถึงงาน Data Engineer ตั้งแต่ต้นจนจบ
โดยทางแอดเพิร์ธและทางทีมผู้สอน จะทำการแบ่งคอร์สออกมาเป็นท้ังหมด 8 บท + 1 บทปูพื้นฐานดังนี้
✔️ Chapter ปูพื้นฐาน การเขียน SQL และ Python (Bonus Video: ตะลุยโจทย์ สำหรับผู้ที่เริ่มหัดเขียน)
✔️ Chapter 0 พื้นฐานเกี่ยวกับงานของ Data Engineer
✔️ Chapter 1 การดึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น REST API ด้วย Pandas
✔️ Chapter 2 การทำความสะอาดข้อมูล ด้วย Apache Spark
✔️ Chapter 3 การใช้ Google Cloud สร้าง Data Lake แบบเบื้องต้น
✔️ Chapter 4 การสร้าง Data Pipeline ที่ทำงานอัตโนมัติ ด้วย Apache Airflow
✔️ Chapter 5 การใช้ Google BigQuery สร้าง Data Warehouse
✔️ Chapter 6 การใช้ Google Data Studio สร้าง Dashboard
✔️ Chapter 7 ความรู้เพิ่มเติมที่ Data Engineer สมัยใหม่ต้องรู้ เช่น Snowflake, Delta Lake
(ข้อมูลจากหน้าคอร์สเรียนเลยครับ)
นี่เป็นแค่ในส่วนของคอร์สที่เราเรียนนะครับ ยังไม่รวม Bonus พิเศษที่มีแถมสอดแทรกระหว่าง Week ที่เราเรียนกันอื่น สำหรับส่วนตัวของผมเองกำลังไล่ตามเรียนในส่วนของบทเรียนต่างๆ อยู่ แต่จะเรียนให้จบภายในปีนี้แน่นอนครับ และเดี๋ยวจะเขียนบทความรีวิวแต่ละ Chapter ให้ดูอย่างละเอียดอีกครั้งนึงครับ
มาพูดถึงในส่วนของ Special Class ที่ผมชอบมากที่สุดกันดีกว่าครับ นั้นคือ Soft skills for Data Engineers นั้นเองครับ หลายๆคนอ่านมาถึงตรงนี้อาจจะสงสัยว่า เราจำเป็นต้องมี Soft skills ด้วยหรอ มีแค่ Hard skills พอไหม ต้องขอบอกเลยครับว่า สำหรับในโลกยุคปัจจุบัน ไม่เพียงพอครับ สุดท้ายทุกคนต้องมีทักษะ Soft Skills ไปพร้อมๆกันครับ ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกันก่อนครับว่า Soft skills นั้นคืออะไร
Soft skills คืออะไร
เป็นเหมือนกับลักษณะนิสัยในเรื่องของการสื่อสารและการทำงานกับผู้อื่นครับ การที่คนเรามีทักษะนี้ ย่อมทำให้การทำงานกับผู้อื่นที่อาจจะคนละแผนกหรือคนละบริษัท สามารถทำงานออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทักษะทางด้าน Soft skills มีทั้งทักษะที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิดเลย ถือว่าเป็นพรสวรรค์ก็ได้ครับ แต่บางทักษะก็อาศัยจากประสบการณ์การเรียนรู้จริงจากงาน เรียกว่าพรแสวงก็ไม่ผิดครับในกรณีนี้
จากรูปภาพทางด้านบน ผมได้ไปอ่านเจอมา Blockdit ที่ทางธนาคารไทยพาณิชย์หรือ SCB ที่เรารู้จักกันเขาได้เขียนไว้ถึง 7 Soft Skills สำหรับในปี 2021 ครับ
เนื่องจากเราอยู่ในโลกที่เผชิญกับภาวะวิกฤติ COVID-19 ทำให้ Soft skills หลายๆอย่างถูกปรับเปลี่ยนไปในแต่ละปีครับ ยิ่งปีนี้เป็นปีแห่งความไม่แน่นอนด้วย ไหนจะภาวะทางเศรษฐกิจที่น่าเป็นห่วงเช่นเดียวกัน การที่เรามีทักษะทางด้านนี้ก็อาจเป็นข้อได้เปรียบของเราครับ
ผมจะขอยกตัวอย่าง Soft Skills จากรูปภาพนี้ ที่ผมได้นำมาใช้ในชีวิตของการทำงานจริงของทุกวันนี้นะครับ อย่างแรกเลยคือ
- Initiative (ความริเริ่มด้วยตนเอง)
พอมีวิกฤติโควิด-19 เข้ามาทุกการทำงานได้มีการปรับเปลี่ยนเป็นแบบ Work from Home หรือ WFH ซึ่งเป็นเทรนด์การทำงานที่ผมชอบมากๆ ที่ไม่ต้องไปเผชิญภาวะรถติดในตอนเช้า หรือต้องเดินทางไปทำงาน 2–3 ชั่วโมง รวมไปกลับก็ 4–6 ชั่วโมงซึ่งนับว่ามันเยอะมากเลยนะครับ สามารถเอาเวลาตรงนี้มาเรียนรู้อะไรได้หลายอย่างเลย ซึ่งเราได้นำทักษะตรงนี้มาใช้ตรงที่ เราต้องมีวินัยกับตัวเองนะ ว่าเราต้องทำงานส่วนนี้ให้เสร็จเมื่อไหร่ จัดการงานตัวเองให้เรียบร้อย ไม่ต้องมีใครมาคอยนั่งบอกเราว่า งานนี้ต้องเสร็จวันนี้นะ เราควรจะรู้หน้าที่ของตัวเองครับ และถ้าเกิดสมมติเรามีไอเดียอะไรต่างๆ เราไม่ต้องรอถามเจ้านายหรือหัวหน้าว่าทำดีไหม เราลองริเริ่ม ร่างแผนออกมาเลยครับ และค่อยนำไปเสนอ จะทำให้เราดูเป็นคนที่ Active กับการทำงานอยู่เสมอครับ
2. Adaptability (ความสามารถในการปรับตัว)
สำหรับความสามารถในการปรับตัวนี่ ผมนำมาใช้แทบจะตลอดในชีวิตเลยครับ ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน ที่บางครั้งเราไม่เคยทำงานในด้านนี้มาก่อนหรือเปลี่ยนสายงาน เราก็ต้องมีการปรับตัวอยู่เสมอครับ เพื่อให้เราได้เกิดทักษะการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆตลอดเวลา หรือการใช้ชีวิตอย่างการขึ้นมัธยม หรือ มหาวิทยาลัย ในสถานที่ใหม่ ที่เราต้องมีการพบเจอกับเพื่อนใหม่ คุณครูใหม่ รวมถึงรุ่นพี่ใหม่ ที่อย่างน้อยเราก็ต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นและกฎระเบียบต่างๆที่มีได้ครับ ผมว่าทักษะในส่วนนี้ น่าจะมีในทุกๆคน แต่ทุกคนนั้นไม่รู้ตัวว่านี่แหละคือ ทักษะที่เรียกว่า Soft skills นะ การที่เราสามารถปรับตัวได้ไว จะเป็นข้อได้เปรียบกว่าคนอื่นเลยครับ ไม่ว่าจะในการใช้ชีวิจประจำวัน การทำงาน การเรียน รวมถึงการได้ริเริ่มลองสิ่งใหม่ๆ ถือว่าเป็นสิ่งที่หาได้ยากครับ
3. Resilience (ล้มแล้วลุก)
การล้มแล้วลุกสำหรับผม มันคือโอกาสในการเริ่มต้นใหม่ครับ ตราบใดที่เราล้มแล้วยังลุกขึ้นมาได้ นั้นแปลว่าสวรรค์ยังให้โอกาสเล่า555+ ไม่หรอกครับ ผมมองว่าในชีวิตของคนเรามักจะมีเรื่องเข้ามาท้าทายชีวิตสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็น ในเรื่องของการเรียนที่จากที่ปกติเราเรียนดีมาตลอด อยู่มาวันนึงคะแนนเราตก มันก็ต้องมีสาเหตุถูกไหมครับ แทนที่เราจะรู้สึกผิดกับตัวเอง ล้มแล้วไม่ลุก จมปรักอยู่กับมันทำไมเราไม่หาสาเหตุว่าอะไรทำให้เราเป็นแบบนี้ เราควรแก้ไขมันนะ เราควรลุกขึ้นมาแก้ไขและพิสูจน์ให้คนได้เห็นกันว่าเราเองก็สามารถทำมันได้ ซึ่งการล้มมันก็คือการได้เรียนรู้ ไม่ใช่ล้มเพื่อยอมแพ้และตายจากไป ไม่สู้กับมันอีก สุดท้ายเราก็จะกลายเป็น คนขี้แพ้ในสายตาคนอื่นโดยปริยายครับ
ทีนี้ผมก็ได้เล่าทักษะด้าน Soft Skills ที่ได้ใช้ในชีวิตประจำวันบางครั้งก็รู้ตัว บางครั้งก็ไม่รู้ตัวไปแล้ว ซึ่งยังมีอีกหลาย Skills ที่ผมใช้ แต่เราจะมาเริ่มพูดถึง Soft Skills ในสายงานของ Data Engineers กันบ้างแล้วครับ อันดับแรกเลยคือ
- Communication
อยากจะขออธิบายก่อนว่าทักษะที่สำคัญเป็นอันดับแรกๆของการทำงานเลยไม่ว่าจะเป็นสาย Digital Marketing , Web Dev, Business analyst และทุกๆสายงานที่มีบนโลกใบนี้ ทักษะที่สำคัญนั้นคือ การสื่อสาร
เหตุผลที่การสื่อสารเป็นหัวใจหลักของการทำงาน เพราะว่า เราจะได้เข้าใจตรงกันว่างานเราทำอะไรบ้าง และหน้าที่ของเราคือทำอะไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น เราได้ทำ Project นึง โดยเราเป็น Junior และมี Senior เป็นพี่ที่คอยดูแลเรา และทำงานกับเราด้วย แต่เราก็ได้รับมอบหมายงานมา ได้ requirements จาก BA มาแบบนี้ ด้วยความที่เราคิดและเข้าใจคนเดียวไม่ทำการสื่อสาร และทำงานออกมาเลย สรุปงานไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ ไม่มีการสื่อสารกับคนในทีม งานเกิดปัญหา code รันไม่ได้ นี่แหละครับ คือปัญหาของการไม่สื่อสาร เพราะอันดับแรกเลยคือ เราต้องสื่อสารว่าเราจะใช้ Tool อะไรในการทำ ใช้ภาษาอะไรในการเขียน แนวทางการเขียน Code ไปในแนวทางเดียวกันไหม ไม่ใช่เราเขียนอีกแบบ แต่ในทีมที่เขาทำงานมาก่อนเราเขียนไปในแนวทางเดียวกัน แต่เราไม่สื่อสารเลย ก็จะทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้ครับ ดังนั้นในการทำ Project จึงต้องมีการ Agile กันเกิดขึ้น อย่างที่เราเคยได้ยินกันนั้นเอง เพื่อให้งานสื่อสารว่างานจะออกมาในรูปแบบเส้นทางเดียวกันครับ
สำหรับการสื่อสารไม่จำเป็นต้องแค่สาย Developer นะครับ สายงานอื่นๆก็ต้องมีการสื่อสารเช่นเดียวกัน เพื่อให้เราเข้าใจงานตรงกัน ไปในทางเดียวกัน และงานจะสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีครับ ฉะนั้น สื่อสารกันเยอะๆ เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นนะครับ
2. Empathy
ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น หรือ ความสามารถที่เราเข้าใจผู้อื่น เรียกได้ว่าเป็นพื้นฐานในแทบจะทุกองค์กรเลยก็ว่าได้ครับ
มีการทำการสำรวจข้อมูลของ wsj.com และ businesssolver.com ว่า 20% ของผู้ว่าจ้างในประเทศสหรัฐอเมริการ มีการเสนอให้มีการฝึกอบรมเรื่องของ empathy สำหรับพนักงานในระดับของผู้จัดการ และมากกว่า 80% จากการพูดคุยกับ CEO ทั้งหมด 150 คน ได้พบว่า การที่มีการ empathy เป็นกุญแจที่ไขไปสู่ความสำเร็จอย่างปฎิเสธไม่ได้เลยครับ
สำหรับบุคคลหรือพนักงานทั่วไปก็ถือว่าเป็นส่วนนึงในการสร้าง empathy ไม่ต่างจาก CEO และ HR เป็นหนึ่งในทักษะที่ควรมีติดตัวเอาไว้เป็นพื้นฐานเลยก็ว่าได้ครับ เพราะว่าการที่เรามี empathy จะทำให้การทำงานของเรากับแผนกหรือฝ่ายๆต่าง สามารถทำได้ราบลื่นอย่างไม่มีอุปสรรคมาขัดขว้าง เพราะเราต้องเอาใจเขามาใส่ในใจเราด้วย และที่สำคัญคือ ห้ามคิดไปเองคนเดียว การที่เราคิดไปเอาว่า งานนี้หรือ Project นี้สามารถทำได้อย่างแน่นอน ไม่มีข้อผิดพลาด กำหนด Timeline เป๊ะๆตามแบบฉบับเก่าๆ โดยที่ไม่ได้มีการสื่อสารกับหัวหน้าของทีม Dev ว่าสามารถทำได้หรือเปล่า มันเป็นงานที่ท้าทายมากๆนะ ลองคุยกันในทีมก่อนไหมว่าไหวเปล่า และถ้าทำได้ต้องใช้เวลาในการทำงานนานแค่ไหน เผื่อเวลาในการเกิด Bug และแก้ไข Bug ไว้ด้วยหรือเปล่า เป็นต้นครับ ซึ่งทักษะนี้มันจะควบคู่ไปกับทักษะการสื่อสารครับ จะไปด้วยกันเสมมอในสองทักษะนี้ ฉะนั้น ลองเปลี่ยนตัวเองดูครับ ว่าเราควรมี empathy ต่อกัน เพื่อให้งานนั้นสำเร็จลุล่วงไม่มีอะไรมาเป็นอุปสรรคกับเรา และนึกถึงเสมอครับ
“มนุษย์ไม่ใช่หุ่นยนต์ ทุกคนมีความรู้สึก”
3. Negotiate
เรียกได้ว่าเป็นทักษะการต่อรองที่ทุกคนควรจะมีกัน เพราะว่าการต่อรองในโลกของการทำงานถือว่าเป็นทักษะที่จำเป็นมาก เพราะว่าบนโลกใบนี้ ทุกการทำธุรกิจก็ต้องมีการต่อรองกันเกิดขึ้น และการต่อรองก็ควรจะ Win-Win ทั้งสองฝ่ายไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายนึงต้องเสียเปรียบจนเกินไป แล้วถ้าเป็นพนักงานทั่วไปการมีทักษะนี้สำคัญอย่างไร สำคัญมากๆคือ ถ้าลูกค้าต้องการ Report หรืองาน ในคืนนี้ แต่ไม่ได้มีการแจ้งล่วงหน้ากับทางทีม เราควรแน่ใจว่าถ้าเราทำงานนี้ส่งให้ลูกค้าไปในครั้งแรกแล้ว จะไม่มีครั้งที่ 2 3 4 ตามมาทีหลังเรา เพราะว่าการทำแบบนี้ ลูกค้าอาจจะชอบและทำให้เพิ่มภาระงานกับเราในตอนกลางคืนหลังเลิกงานได้
ก็ถือว่าจบไปแล้วนะครับสำหรับ Soft Skill ที่ควรมีในสายงาน Data Engineer ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาอ่านบทความนี้นะครับ สุดท้ายแล้วทักษะหลายๆอย่างที่ได้กล่าวมาข้างต้น ก็สามารถนำไปใช้ได้ในทุกสายงานอาชีพเลยครับ ไว้เจอกันใหม่ใน EP.ถัดไปที่จะรีวิวตั้งแต่ต้นจนจบ อย่าลืมไปเรียนคอร์ส Road to Data Engineer 2.0 กันเยอะๆนะครับ สามารถติดตามได้ที่
FB Page : (1) Data TH.com — Data Science ชิลชิล | Facebook
ไว้เจอกันใหม่ใน Full EP. ที่จะรีวิวตั้งแต่ 0 จนสอบจบเลยครับ
สำหรับวันนี้สวัสดีครับ
ขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์เหล่านี้ครับ
[SCB Thailand] 7 Soft Skills ที่ต้องมีในยุคแห่งความไม่แน่นอน (blockdit.com)
รู้จัก Empathy Skill ทักษะที่ทำให้เข้าใจความรู้สึกคนอื่นมากขึ้น | HRNOTE Thailand