MEAN Stack คืออะไร

Artit Attasiri
2 min readApr 9, 2017

ก่อนอื่นเลยต้องบอกว่าหลายคนอาจจะเคยได้ยิน เคยใช้มาบ้าง หรือบ้างคนอาจจะไม่รู้จักมาก่อนเลย ซึ่งบทความนี้จะมาอธิบายคร่าวๆตามความเข้าใจจากการที่ได้ลองไปหาอ่านจากตัวอย่างจากหลายๆ ซึ่งจริงๆแล้ววัตถุประสงค์หลักในการเริ่มเขียนบทความนี้มันก็มาจากผมเป็นคนชอบลืม เวลาอ่านอะไรศึกษาอะไรมาจะลืมง่าย เเลยตั้งใจจะให้เป็นบันทึกความจำแค่นั้นเอง แต่ถ้ามันเกิดประโยชน์กันคนอ่นด้วยก็จะดีมาก

MEAN Stack ก็คือ Framework ตัวหนึ่งที่ใช้พัฒนาเว็บไซต์คล้ายๆกับพวกLAMP Stack ที่ประกอบด้วย Linux, Apache, MySQL, PHP (อ้าว MEAN Stack ยังไม่เริ่มไปเอา LAMP Stack มาอีก ถ้าไม่รู้จักก็ไม่เป็นไร ไว้มีโอกาสจะมาอธิบาย)โดยที่เจ้า MEAN Stack เนี่ยจะเน้นการใช้ภาษา Javascriptในการพัฒนาแน่นอนว่าคนที่เคยเขียนเว็บไซต์มาถ้าไม่เคยใช้ Javascript ถือว่าบาปหนามาก เอาล่ะเรามาแยกองค์ประกอบของเจ้า MEAN Stack กัน

M มาจาก MongoDB ตัวนี้เป็น Database ที่เป็น NoSQL(Not Only SQL)เป็น Document database ที่กำลังได้รับความนิยมด้วยความเป็น New Type Database ทำให้มันเป็นที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว การเก็บข้อมูลต่างในรูปแบบของ JSON ที่มี Fields และ Values เป็นต้น สำหรับคนที่ยังคิดว่า Database ต้องมี Table, Row, Columnต่างๆนานา เป็นรูปแบบตารางความสัมพันธ์ (Relational Database) ให้ลืมภาพเหล่านั้นไปได้เลย เพราะเป็นโดย MongoDB ถูกสร้างมาเพื่อความง่ายในการใช้งาน ยืดหยุ่น และมีประสิทธิภาพสูง

E มาจาก Express เป็น Framework ที่รันบน Node.js จริงแล้วถ้าจะให้ถูกต้องบอกว่ามันถูกพัฒนามาเพื่อ Node.js เลย เพราะถูกออกแบบให้ใช้งานง่ายและวางโครงสร้างไว้อย่างราบรื่นเหมาะแก่การพัฒนาเป็นอย่างยิ่ง สำหรับหน้าที่หลักๆของ ExpressJS คือ คอยเป็นคนจัดการ Route ให้กับเว็บไซต์ของเรารวมถึงการเรียกใช้งาน Middleware อื่นๆก็สามารถทำผ่าน ExpressJS ได้เลยอย่างสบายๆ มี Express ชีวิตง่ายขึ้นเยอะ

A มาจาก AngularJS เป็น Front-end Framework ที่พัฒนาโดย Google สำหรับเจ้า AngularJS เป็นตัวจัดการให้หน้าเว็บของเราดูลื่นขึ้น ในการพัฒนาเว็บในปัจจุบันเราอาจจะเคยได้ยิน SPA (Single Page Application website) ที่จะรวมทุกอย่างให้ทำงานในหน้าเดียวโดยไม่ต้องมีการโหลดหน้าให้ทุกอย่างจะดูไหลลื่นเหมือนApplication บนมือถือกันเลยที่เดียว

N มาจาก Node.js เป็น Cross Platform Runtime Environment สำหรับฝั่ง Server ที่พัฒนาขึ้นด้วย Javascript ซึ่งจะเป็น Web Server นั่นเอง หน้าที่หลักๆคือการจัดการ Request และ Response

จริงๆแล้วการเขียนเว็บด้วย MEAN Stack อาจจะต้องมีพื้นฐาน Javascript ที่ดีพอสมควร เพราะจะเห็นได้ว่า ส่วนใหญ่ใช้ Javascript และพัฒนาด้วย Javascript

สำหรับในการพัฒนา Web Application ด้วย MEAN Stack ไม่ได้มีแค่ 4 ตัวนี้เท่านั้น ยังมี Framework อื่นๆที่สามารถนำมาใช้ร่วมด้วยเพื่อให้การพัฒนาง่ายยิ่งขึ้น เช่น Jade ที่เป็น template engine เป็นต้น

สำหรับบทความนี้เป็นบทความแรกของผมและอย่างที่บอกไว้ตอนต้นว่ามาจากการศึกษาด้วยตัวเองจากแหล่งความรู้หลายๆที่ ไม่ว่าจะเป็น VDO บทความต่าง ผิดพลาดประการใดต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี่

--

--