กฎและกติกาของมวยไทย

กติกา

กติกาการแข่งขันมวยไทย กติกามวยไทยที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเป็นกติกาที่ปรับปรุงมาเป็นลำดับเพื่อให้เหมาะสมกับกาลสมัยที่แตกต่างกัน กติกาการแข่งขันมวยไทยฉบับแรกมีใช้เมื่อก่อตั้งสนามมวยราชดำเนินขึ้น อย่างเป็นทางการโดยปรับปรุงมาจากกติกามวยสากลที่มีการแข่งขันกันอยู่ในเวลานั้น ก่อนจะค่อยปรับปรุงมาจนถึงยุคปัจจุบัน มีกติกาการแข่งขันที่ออกโดยสำนักงานคณะกรรมการกีฬามวยให้ใช้โดยทั่วกันทุกสนามเพื่อให้มาตรฐานเดียวกัน กติกามวยไทยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ยุคคือ

กติกาการแข่งขันมวยไทยสมัยโบราณ มวยไทยนั้นมีการฝึกสอนและแข่งขันในประเทศไทยมาตั้งแต่อดีต สำหรับกติกาการแข่งขันมวยไทยในสมัยโบราณ แทบจะพูดได้ว่า ไม่มีกติกาที่แน่นอน การเปรียบเทียบเพื่อชกในอดีตจะยึดหลักความสมัครใจเป็นที่ตั้ง ไม่มีการชั่งน้ำหนัก เพราะต่างถือว่าขนาดของร่างกาย อายุ น้ำหนัก และส่วนสูงไม่มีความสำคัญเท่ากับฝีไม้ลายมือในชั้นเชิงมวยไทย ไม่มีการกำหนดยกในการแข่งขันที่แน่นอนคือจะชกกันจนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะไม่สามารถชกต่อได้ ก็ให้ฝ่ายที่ยังยืนอยู่เป็นผู้ชนะ แม่ไม้มวยไทยทุกท่านำมาใช้ในการแข่งขันได้หมด ส่วนเวลาในการชกแต่ละยกก็ใช้กะลาเจาะรูลอยน้ำเมื่อกะลาจมก็ถือว่าหมดยก ทำให้ไม่มีมาตรฐานเท่าที่ควรเพราะกะลามีใบเล็กใบใหญ่ขนาดไม่เท่ากัน และรูที่เจาะก็มีรูเล็กรูใหญ่ไม่เท่ากันทำให้กะลาจมลงในเวลาต่างกัน ยังไม่มีการกำหนดมุมเป็นมุมแดงมุมน้ำเงิน ไม่มีชุดที่ใช้ในการแข่งขันเฉพาะใครใส่ชุดใดก็ได้ชุดนั้นแข่งขันได้เลย แต่ให้คาดเชือกที่หมัดทั้งสองข้าง สรุปแล้วกติกาการแข่งขันไทยในอดีตไม่แน่นอน โดยจะเปลี่ยนไปตามสถานการณ์และความสมัครใจของนักมวยทั้งสองฝ่ายเป็นสำคัญ

กติกาการแข่งขันมวยไทยสมัยปัจจุบัน กติกามวยไทยสมัยปัจจุบันจะถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจนครอบคลุมทุกๆ เรื่อง การแข่งขันมวยไทย
ในปัจจุบันนักมวยต้องสวมนวมขนาด 4 ออนซ์ แต่งกายแบบนักกีฬามวยคือ สวมกางเกงขาสั้นสวมกระจับ สวมปลอกรัดเท้าหรือไม่ก็ได้ เครื่องรางของขลังผูกไว้ที่แขนท่อนบนได้ ส่วนเครื่องรางอื่นๆ ใส่ได้เฉพาะตอนร่ายรำไหว้ครูแล้วให้ถอดออกตอนเริ่มทำการแข่งขัน ในการแข่งขันมีกรรมการผู้ชี้ขาดบนเวที 1 คนกรรมการให้คะแนนข้างเวที 2 คน จำนวนยกในการแข่งขันมีกรรมการผู้ชี้ขาดบนเวที 1 คนกรรมการให้คะแนนข้างเวที 2 คน จำนวนยกในการแข่งขันมี 5 ยก ยกละ 3 นาที พักระหว่างยก 2 นาที การแข่งขันแบ่งเป็นรุ่นตามน้ำหนักตัวของนักมวยเหมือนกับหลักเกณฑ์ของมวยสากล อวัยวะที่ใช้ในการต่อสู้คือ หมัด เท้า เข่า ศอก เข้าชก เตะ ถีบ ถอง เป็นต้น ได้ทุกส่วนของร่างกายโดยไม่จำกัดที่ที่ชก แม่ไม้มวยไทยที่มีอันตรายสูงบางท่าถูกห้ามใช้เด็ดขาด อาทิ ท่าหลักเพชร เป็นท่าจับขาแล้วหักด้วยการนั่งทับ เป็นต้น

การจำแนกรุ่น มี 19 รุ่น ดังนี้

1. รุ่นพินเวท น้ำหนักต้องเกิน 93 ปอนด์ (42.272 กิโลกรัม) และไม่เกิน 100 ปอนด์ (45.454 กิโลกรัม)

2. รุ่นมินิฟลายเวท น้ำหนักต้องเกิน 100 ปอนด์ (45.454 กิโลกรัม) และไม่เกิน 105 ปอนด์ (47.727 กิโลกรัม)

3. รุ่นไลท์ฟลายเวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 105 ปอนด์ (47.727 กิโลกรัม) และไม่เกิน 108 ปอนด์ (48.988 กิโลกรัม)

4. รุ่นฟลายเวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 108 ปอนด์(48.988 กิโลกรัม)และไม่เกิน 112 ปอนด์ (50.802 กิโลกรัม)

5. รุ่นซูเปอร์ฟลายเวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 112 ปอนด์(50.802 กิโลกรัม)และไม่เกิน 115 ปอนด์ (52.163 กิโลกรัม)

6. รุ่นแบนตั้มเวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 115ปอนด์(52.163 กิโลกรัม)และไม่เกิน 118 ปอนด์ (53.524 กิโลกรัม)

7. รุ่นซูเปอร์แบนตั้มเวท น้ำหนักตัวต้องเกิน118ปอนด์(53.524 กิโลกรัม)และไม่เกิน 122 ปอนด์ (55.338 กิโลกรัม)

8. รุ่นเฟเธอร์เวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 122ปอนด์(55.338 กิโลกรัม)และไม่เกิน 126 ปอนด์ (57.153 กิโลกรัม)

9. รุ่นซูเปอร์เฟเธอร์เวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 126 ปอนด์(57.153 กิโลกรัม)และไม่เกิน130 ปอนด์ (58.967 กิโลกรัม)

10. รุ่นไลท์เวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 130 ปอนด์(58.967 กิโลกรัม)และไม่เกิน 135 ปอนด์ (61.235 กิโลกรัม)

11. รุ่นซูเปอร์ไลท์เวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 135 ปอนด์(61.235 กิโลกรัม)และไม่เกิน 140 ปอนด์ (63.503 กิโลกรัม)

12. รุ่นเวลเตอร์เวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 140 ปอนด์(63.503 กิโลกรัม)และไม่เกิน 147 ปอนด์ (66.678 กิโลกรัม)

13. รุ่นซูเปอร์เวลเตอร์เวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 147 ปอนด์(66.678 กิโลกรัม)และไม่เกิน
154 ปอนด์ (69.853 กิโลกรัม)

14. รุ่นมิดเดิลเวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 154 ปอนด์(69.853 กิโลกรัม)และไม่เกิน 160 ปอนด์ (71.575 กิโลกรัม)

15. รุ่นซูเปอร์มิดเดิลเวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 160 ปอนด์(71.575 กิโลกรัม)และไม่เกิน
168 ปอนด์ (76.374 กิโลกรัม)

16. รุ่นไลท์เฮฟวี่เวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 168 ปอนด์(76.374 กิโลกรัม)และไม่เกิน 175 ปอนด์ (79.379 กิโลกรัม)

17. รุ่นฟลายเวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 175 ปอนด์(779.379 กิโลกรัม)และไม่เกิน 190 ปอนด์ (86.183 กิโลกรัม)

18. รุ่นเฮฟวี่เวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 190 ปอนด์(86.183 กิโลกรัม)และไม่เกิน 200 ปอนด์ (90.900 กิโลกรัม)

19. รุ่นซูเปอร์เฮฟวี่เวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 200 ปอนด์ขึ้นไป(90.900 กิโลกรัมขึ้นไป)

ตัวอย่างแม่ไม้มวยไทย

ท่าจระเข้ฟาดหาง

ท่าหักงวงไอยรา

ท่ายอเขาพระสุเมรุ

วันนี้ก็จบไปอีก1blogคราวหน้าผมจะหากีฬาอื่นๆมานำำเสนอให้ทุกคนอีกนะครับ

--

--