Blockchain คืออะไร

Chainlink Thailand
Chainlink Community
2 min readJul 20, 2021

Blockchain เป็นเทคโนโลยีพื้นฐานที่ทำให้เกิดระบบนิเวศของสกุลเงินดิจิตัลทั้งหมด เป็นเครื่องมือรักษาความปลอดภัยให้ Bitcoin และสร้างมูลค่าให้ Ethereum ชุดการศึกษานี้เกี่ยวกับเทคโนโลยี Blockchain โดยในบทความนี้จะให้ความรู้พื้นฐานตั้งแต่ Blockchain คืออะไร, ทำไมมันถึงมีมูลค่าและวิธีที่ Blockchain ถูกนำไปใช้และเปลี่ยนแปลงความไว้ใจที่มีในสังคม

Blockchain คืออะไรและทำงานอย่างไร

Blockchain เป็นเครือข่ายแบบกระจายอำนาจที่มีความปลอดภัยสูงและเชื่อถือได้ นำไปใช้ในการเก็บข้อมูล, แลกเปลี่ยนมูลค่าและบันทึกข้อมูลธุรกรรมเหมือนสมุดบัญชีสาธารณะที่ไม่มีองค์กรใดควบคุม ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ด้วยคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ทั่วโลก

Ledger คือสมุดบัญชีหรือไฟล์คอมพิวเตอร์ที่ติดตามข้อมูลกิจกรรมทางเศรษฐศาสตร์ตั้งแต่ยอดคงเหลือในบัญชีส่วนบุคคลไปจนถึงความเคลื่อนไหวของเงินในระบบเศรษฐกิจทั้งหมด ปัจจุบัน Ledger ส่วนใหญ่ถือครองโดยหน่วยงานส่วนกลางเช่น ธนาคาร ซึ่งดูแลและจัดเก็บ ledger ไว้ในระบบและฐานข้อมูลของตัวเอง

Blockchain เป็นสมุดบัญชีดิจิตัลที่ถูกดูแลและจัดเก็บบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง (node) ในเครือข่ายใช้ซอฟท์แวร์เดียวกันเพื่อบำรุงรักษา จัดเก็บและตรวจสอบแต่ละสำเนาของ ledger ซึ่งใน Blockchain สาธารณะต่างๆ จะใช้สินทรัพย์ของตัวเองที่เรียกว่า cryptocurrency เพื่อสร้างแรงจูงใจทางการเงินให้แต่ละ node สื่อสารกันและบรรลุข้อตกลง (ฉันทามติ) ในการตรวจสอบ ledger

ผู้ใช้งานมีสิทธิเสนอให้บันทึกข้อมูลเพิ่มใน ledger ได้โดยการทำธุรกรรมโอนมูลค่าจากบัญชีหนึ่งไปยังอีกบัญชีหนึ่ง บัญชีผู้ใช้งานเรียกว่า public keys (หรือ public address) ทำหน้าที่คล้าย email address ซึ่งแต่ละ public key จะมี private key ที่ทำหน้าที่เหมือนรหัสเข้าอีเมลอยู่ด้วยซึ่งเจ้าของบัญชีจะต้องใช้ในการบันทึกมูลค่าไว้บน address (เรียกว่าลายเซ็นดิจิตัล)

ธุรกรรมที่รอการดำเนินการจะถูกจัดกลุ่มเข้าด้วยกันเป็น ‘blocks’ ซึ่งจะถูกประมวลผลและตรวจสอบโดยแต่ละ node บนเครือข่ายเพื่อยืนยันว่าการเปลี่ยนแปลงของ ledger นั้นถูกต้อง โดยธุรกรรมที่จะผ่านการตรวจสอบนั้นต้องประกอบไปด้วย จำนวนเงินใน public key ที่มากพอสำหรับการทำธุรกรรมและลายเซ็นดิจิตัลที่ถูกต้อง

เมื่อ block ถูกยืนยันว่าถูกต้องแล้วจะถูกบันทึกใน ledger ที่มี block ผูกต่อเนื่องเข้าด้วยกันตามชื่อว่า “blockchain” และทุกๆ nodes จะได้รับค่าจ้างในการตรวจสอบด้วยค่าธรรมเนียมหรือสกุลเงินดิจิตัลที่เกิดขึ้นมาใหม่ (เรียกว่า block reward)

ความแตกต่างในการจัดการเงินทุนของผู้ใช้เมื่อทำการชำระเงินผ่านระบบ Blockchain กับระบบธนาคาร

การสร้าง blockchain มีหลายรูปแบบซึ่งมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป

  • Network Access & Participation (การเข้าถึงเครือข่ายและการเข้าร่วม) : Blockchains สามารถจำกัดการเข้าถึงได้ โดยมี 3 แบบหลักๆ คือ สาธารณะ (เปิดให้เข้าร่วม), ส่วนตัว (ปิดไม่ให้เข้าร่วม) และแบบขออนุญาต (เปิดให้ขออนุญาตแต่จำกัดการเข้าร่วม)
  • Consensus Mechanism (กลไกฉันทามติ): Blockchain สามารถใช้กลไกฉันทามติแบบต่างๆ ได้ดังนี้ Proof of Work (Bitcoin) เป็นฉันทามติที่ได้รับความนิยมมากที่สุด, Proof of Stake (Tezos) และ Proof of Authority ใช้ใน private blockchains ส่วนใหญ่
  • Design Features : ปัจจุบัน Blockchains ไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้ทั้งหมด แต่ blockchain มีคุณสมบัติที่ไม่มีสิ่งใดทดแทนได้ ตัวอย่างที่สำคัญคือการรักษาความปลอดภัย, ความสามารถในการปรับขนาด, การกระจายอำนาจ, ความเป็นส่วนตัว, การทำธุรกรรมอันเป็นที่สิ้นสุดและอื่นๆ

ทำไม Blockchain ถึงมีมูลค่า

Blockchain นำเสนอคุณค่าอีกหลายด้านที่ไม่มีแค่ใน ledger แบบส่วนกลาง

  • ด้านการรักษาความปลอดภัย : ใน blockchain ที่มีการกระจายอำนาจอย่างมีประสิทธิภาพนั้น มีความเป็นไปได้สูงมากที่ธุรกรรมที่ถูกต้องเท่านั้นที่จะได้รับการยืนยันแม้ว่าจะมีความพยายามของผู้มุ่งร้ายก็ตาม
  • การเปลี่ยนแปลงไม่ได้ : เมื่อ block ได้รับการยืนยันจนแน่ใจว่าถูกต้องแล้ว มันจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของ ledger ที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงได้ยากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป
  • ความน่าเชื่อถือ : Blockchain มีเครือข่ายกระจายไปทั่วโลกพร้อมเวลาทำงานตลอด 24 ชั่วโมงทุกวันไม่เว้นวันหยุด พวกเขาออนไลน์อยู่เสมอและไม่ถูกจำกัดทางภูมิศาสตร์หรือการเมือง
  • Peer-to-Peer : Blockchain ตัดตัวกลางที่แบ่งเอามูลค่าออกจากธุรกรรม คู่สัญญาทำธุรกรรมโดยตรงระหว่างกันโดยไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงใดๆ กับคู่สัญญา เช่นความน่าจะเป็นที่อีกฝ่ายจะผิดสัญญาหรือไม่ทำตามข้อกำหนดที่ตกลงกันไว้

โดยรวมแล้ว blockchain สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ผู้ใช้งานทั้ง 2 ฝ่ายขึ้นไปสามารถใช้เพื่อดำเนินการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจที่มีความปลอดภัยสูง เชื่อถือได้ และป้องกันการทุจริต ความเสี่ยงของคู่สัญญาเปลี่ยนจากการพึ่งพาบุคคลที่สามเป็นการพึ่งพาซอฟต์แวร์ที่กำหนดกฎเกณฑ์ไว้ บริษัทต่างๆ จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยการหลีกเลี่ยงการประนีประนอม กำจัดคนกลางที่ไม่จำเป็นและลดความเสี่ยงของคู่สัญญา

Blockchain สร้างมูลค่าได้อย่างไร

อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการแบ่งปันข้อมูลดิจิทัลที่สามารถนำไปใช้ได้อย่างหลากหลาย เช่น อีเมล, การส่งข้อความ, การสื่อสารโทรคมนาคม, โซเชียลมีเดียเป็นต้น Blockchain นำเสนอแอพพลิเคชั่นอเนกประสงค์แบบเดียวกันสำหรับการแลกเปลี่ยนมูลค่า ซึ่งนำไปใช้ได้หลายอย่างเพื่อสร้างมูลค่าให้กับผู้ใช้ปลายทาง

Monetary System (ระบบการเงิน)

Bitcoin เป็นตัวอย่างให้เห็นว่า blockchain สาธารณะที่ไม่ได้รับอนุญาตสามารถใช้เป็นระบบนิเวศทางการเงินแบบครบวงจรด้วยนโยบายการเงินของตนเองได้อย่างไร Bitcoin มี BTC เป็นสกุลเงินของมันเอง (native currency) มีกลไกในการแจกจ่ายและสิ่งจูงใจทางการเงินเพื่อให้เครือข่ายทำงานได้โดยไม่ต้องมีผู้ประสานงานจากส่วนกลาง Bitcoin มีจำนวนจำกัดซึ่งจะไม่มีมากกว่า 21 ล้าน BTC คุณสมบัติทางการเงินของภาวะเงินฝืดเหล่านี้ทำให้บางคนโต้แย้งว่า BTC เป็นแหล่งเก็บมูลค่าที่แข็งแกร่งกว่าสกุลเงินทั่วไปที่มีเงินเฟ้อ

Smart Contracts (สัญญาอัจฉริยะ)

Ethereum แสดงให้เห็นว่า blockchain สาธารณะที่ไม่ได้รับอนุญาตสามารถใช้เป็นคอมพิวเตอร์โลกที่มีความปลอดภัยสูงและเชื่อถือได้สำหรับการประมวลผลข้อตกลงแบบมีเงื่อนไขที่เรียกว่าสัญญาอัจฉริยะ แทนที่จะติดตามความเคลื่อนไหวของสกุลเงินเดียว ผู้ใช้สามารถส่งคำสั่งไปยัง blockchain ที่ระบุว่า “ถ้าเกิดเหตุการณ์ x ให้ดำเนินการ y” blockchain จะประมวลผลคำสั่งที่กำหนดไว้ล่วงหน้า (smart contract) เหล่านี้ โดยสร้าง output (การโอนค่า) ตาม input (ข้อมูล) Ethereum สามารถประมวลผล smart contract หลายล้านรายการพร้อมกันได้ในเวลาเดียวกัน

Asset Tokenization (การแปลงสินทรัพย์เป็น Token)

หลายโครงการกำลังใช้ blockchain เป็นทะเบียนสาธารณะทั่วโลกสำหรับทรัพย์สิน นักพัฒนาสามารถสร้าง token ที่ไม่มีสิ่งใดสามารถทดแทนได้ผ่าน smart contract ซึ่งแสดงถึงความเป็นเจ้าของสินทรัพย์ในโลกแห่งความเป็นจริง เช่น สิ่งปลูกสร้าง รถยนต์ การ์ดซื้อขายหายาก และอื่นๆ blockchain รับประกันความถูกต้องแท้จริงในการเป็นเจ้าของสินทรัพย์, การติดตามวงจรชีวิตของสินทรัพย์อย่างโปร่งใส และสภาพคล่องโลกสำหรับสินทรัพย์ที่ไม่มีสภาพคล่อง

Middleware

Baseline Protocol เป็นวิธีการใช้ blockchain (เน้นที่ Ethereum mainnet) เป็นซอฟท์แวร์กลางเพื่อให้แน่ใจว่าฐานข้อมูลขององค์กรตั้งแต่สองฐานข้อมูลขึ้นไปมีบันทึกที่ตรงกันโดยไม่ต้องบันทึกข้อมูลภายในที่มีความละเอียดอ่อนบน blockchain เนื่องจาก Ethereum Mainnet นั้นออนไลน์อยู่เสมอ, ตรวจสอบได้ง่าย, ต่อต้านการทุจริตและไม่ได้รับอนุญาตในการเข้าถึง องค์กรต่างๆ สามารถใช้เครือข่ายนี้เพื่อสื่อสารการดำเนินการของทั้งแต่ละฝ่ายโดยการจัดเก็บเป็นข้อมูลบน blockchain ข้อมูลจะถูกจัดเก็บโดยใช้เทคนิคความเป็นส่วนตัวที่เรียกว่า zero knowledge proofs ซึ่งมีเพียงฝ่ายที่ทำข้อตกลงเท่านั้นที่จะเข้าใจความหมายของข้อมูล เทคนิค Zero knowledge proof ทำหน้าที่เป็นกรอบอ้างอิงทั่วไปสำหรับกระบวนการทางธุรกิจ เช่นเงื่อนไขปัจจุบันของข้อตกลงปริมาณส่วนลดระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ

Golden Records

Blockchains สามารถทำหน้าที่เป็นโครงสร้างที่ไม่สามารถเปลี่ยนรูปได้สำหรับการจัดเก็บบันทึกทางประวัติศาสตร์ การมีชุดบันทึกข้อมูลต่างๆ ที่เชื่อถือได้ช่วยลดความขัดแย้งของข้อมูลจำนวนมากที่กระจัดกระจายอยู่ซึ่งมักจะมีฐานข้อมูลที่แตกต่างกันจำนวนมาก Blockchain สามารถนำไปจัดทำ “Golden record” ที่สามารถปรับปรุงการติดตามสัญญาทางการเงิน, การจัดเก็บเวชระเบียน, การติดตามตัวตน และอื่นๆ อีกมากมาย

การนำไปใช้งานอื่นๆ

Blockchain สามารถออกแบบให้มีประโยชน์เฉพาะได้ ตัวอย่างเช่น การใช้เครือข่าย nodes ที่กระจายอำนาจเพื่อให้บริการสตรีมวิดีโอ, โฮสต์เกมออนไลน์ที่โกงไม่ได้, หรือจัดเก็บไฟล์โดยไม่เปลี่ยนรูปแบบ Blockchain เป็นวิธีควบคุมพลังเครือข่ายที่กระจายอำนาจเพื่อสร้างประโยชน์ที่ใช้ร่วมกันคล้ายกับระบบ torrent

อ่านเพิ่มเติม

เรียนรู้เพิ่มเติมโดยดูบทความถัดไปในชุดการศึกษาเกี่ยวกับ Smart Contract ติดตามเราบน Twitter เพื่อรับการแจ้งเตือนเกี่ยวกับการเผยแพร่บทความใหม่ และเข้าร่วม Telegram ของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับ Chainlink

--

--