Chaiwut Sittiboonta
3 min readJan 15, 2019

จาก QWERTY สู่ Colemak

ครึ่งชีวิตที่ใช้งาน QWERTY หลายครั้งที่มีความคิดว่า อยากจะเปลี่ยนเลย์เอาท์ของคีย์บอร์ดดูบ้าง ในการทำงานแต่ละครั้ง (เฉพาะภาษาอังกฤษ) รู้สึกได้ว่าระยะห่างในระหว่างแต่ละตัวอักษรไม่ค่อยจะเข้ากับการวางมือสักเท่าไหร่ เลยลองศึกษาดูว่านอกจาก QWERTY แล้ว ยังมีเลย์เอาท์แบบไหนอีก ซึ่งมีหลายเลย์เอาท์มาก ในที่สุดก็ตัดสินใจลองอยู่ 3 เลย์เอาท์คือ

ทั้งสามเลย์เอาท์แล้ว มีความต่างกันในการวางตำแหน่งคีย์อย่างชัดเจน ทีนี้ก็ต้องมาดูอีกว่า แบบไหนเหมาะกับการใช้งานในชีวิตประจำวัน และการทำงานของเรามากที่สุด และที่สำคัญเราใช้ QWERTY มาตั้งแต่พิมพ์ดีด การที่จะเปลี่ยนเราจะใช้เวลาในการปรับตัวนานแค่ไหนด้วย

แบบไหนที่ต้องการ?

  • ข้อแรกที่ต้องการคือ ระยะห่างระหว่างคีย์ที่ต้องใช้บ่อยๆ เนื่องจากการที่ต้องเขียนโค๊ดทั้งวันยอมรับเมื่อยนิ้วมือเลย และถึงขั้นนิ้วล็อคมาแล้ว จึงคิดว่าควรที่จะรวมคีย์ที่ใช้บ่อยๆ มาอยู่ใกล้ๆ กัน
  • ข้อที่สอง บางตำแหน่งของ QWERTY ดีอยู่แล้ว ไม่อยากเปลี่ยนเพราะเราใช้ต้องตัวอักขระพิเศษในการเขียนโค๊ดซึ่งบางตำแหน่งมันเหมาะสมกับการวางนิ้วอยู่แล้วจึงอยากให้อยู่ที่เดิม

ด้วยเหตุผลสองข้อด้านบน พอสรุปความต้องการของตัวเองได้คร่าวๆ ยังหวง QWERTY เลยอยากเปลี่ยนแค่บางตำแหน่ง พอลองทดสอบกับเว็บ TypingCat เพื่อหาแบบที่ถูกใจ เข้ากับการใช้งาน และไม่ลำบากที่จะเปลี่ยนคือ Colemak

QWERTY

ก่อนอื่นเรามาดู QWERTY กันก่อน เริ่มจากชื่อของมันก่อนเลย ก็มาจากคีย์แถวแรกที่มีตัวอักษร Q, W, E, R, T, Y อยู่เรียงกันนั่นเอง โดยมันถูกสร้างมาพร้อมๆ กับเครื่องพิมพ์ดีดเมื่อปี 1873

ภาพจาก https://board.postjung.com/1046933

และมันถูกออกแบบมาให้ตัวอักษรที่ใช้ร่วมกันบ่อยๆ (commonest letters) อยู่คนละด้านกัน เพื่อไม่ให้ก้านพิมพ์ติดกันเวลาพิมพ์ ตั้งแต่นั้นมาเราก็ใช้ QWERTY กันมาเรื่อยๆ ไม่ใช่ว่าไม่มีเลย์เอาท์อื่น หากเพียงแต่ว่าไม่ค่อยได้รับความนิยม เพราะคนยุคก่อนโตมากับพิมพ์ดีด จะเห็นว่าปันจุบันเด็กรุ่นใหม่ที่โตมากับสมาร์ทโฟน และเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ได้ใช้ หรือเริ่มต้นด้วย QWERTY แล้ว

Colemak

ถูกคิดขึ้นมาโดย Shai Coleman เมื่อปี 2006 ที่ผ่านมานี่เองโดยมาจากแนวคิดที่ต้องการรวมตัวอักษรที่ใช้งานบ่อยที่สุดมาไว้ในตำแหน่งของนิ้วที่สามารถเคลื่อนไหวได้เร็ว เช่น นิ้วชี้ นิ้วกลาง เป็นต้น หรือตำแหน่งตรงกลางของคีย์บอร์ดนั่นเอง

อีกข้อที่ทำให้ผมตกลงปลงใจคือมีเพียงแค่ 13 คีย์เท่านั้นที่เปลี่ยนไปจากเดิม ทำให้การเปลี่ยนมาใช้ Colemak ง่ายสำหรับผม ซึ่งแถวบนที่เป็นตัวเลขจะเห็นว่าไม่เปลี่ยนเลย รวมไปถึงอักขระพิเศษต่างๆ ยังอยู่ที่เดิมอีกด้วย

https://colemak.com/
QWERTY : https://en.wikipedia.org/wiki/QWERTY
http://mkweb.bcgsc.ca/carpalx/?colemak

ข้อแตกต่าง

หลังจากหาข้อมูลมาหลายๆ เว็บไซต์เพื่อเปรียบเทียบตำแหน่งการกด รวมไปถึงคีย์ที่เราใช้บ่อยที่สุดในเว็บไซต์ https://www.patrick-wied.at/projects/heatmap-keyboard/ เราสามารถดู Heatmap การใช้คีย์ โดยลองใช้คำว่า

Lorem ipsum dolor sit amet, consetetur sadipscing elitr, sed diam nonumy eirmod tempor invidunt ut labore et dolore magna aliquyam erat, sed diam voluptua. At vero eos et accusam et justo duo dolores et ea rebum. Stet clita kasd gubergren, no sea takimata sanctus est Lorem ipsum dolor sit amet. Lorem ipsum dolor sit amet, consetetur sadipscing elitr, sed diam nonumy eirmod tempor invidunt ut labore et dolore magna aliquyam erat, sed diam voluptua. At vero eos et accusam et justo duo dolores et ea rebum. Stet clita kasd gubergren, no sea takimata sanctus est Lorem ipsum dolor sit amet.

และนี่คือ Heatmap ของ QWERTY และ Colemak

QWERTY
Colemak

หากสังเกตุจาก Heatmap จะเห็นได้ว่าคีย์ที่ใช้มากที่สุดจะเป็น T และ E ซึ่งคีย์ที่มีการกดมากที่สุดจะอยู่ช่วงแถวตรงกลางคีย์บอร์ด Colemak จัดคีย์ได้ดีกว่าเพราะไม่ต้องยกนิ้วเปลี่ยนคีย์มากเหมือน QWERTY ซึ่งต้องเลื่อนนิ้วขึ้นไปกดคีย์แถวบนบ่อยพอสมควร

โดยส่วนตัวคิดว่าการเปลี่ยนมาใช้ Colemak ไม่ได้ใช้เวลานานอย่างที่คิด พิมพ์ได้คล่องขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ รวมแล้วในเวลาในการทดสอบอยู่ 1 อาทิตย์และตอนนี้ก็เปลี่ยนมาใช้ Colemak แบบถาวรเรียบร้อยแล้ว

การติดตั้ง

สำหรับ Mac user นั้น ไม่ต้องติดตั้งหรือลงซอฟท์แวร์ใดๆ เลยสามารถเข้าไปตั้งค่าที่คีย์บอร์ดได้เลยครับ

Referents:
http://www.ideafinder.com/history/inventions/qwerty.htm
https://en.wikipedia.org/wiki/QWERTY
https://colemak.com/
https://workmanlayout.org/
https://en.wikipedia.org/wiki/Colemak
http://mkweb.bcgsc.ca/carpalx/?colemak