IoT ไปกับ Senses Platform ตอนที่ 1

สารบัญ

Senses คืออะไร

The best Internet of Things platform for Data logger, Customization dashboard and Device social sharing

Senses คือ Platform ประเภทหนึ่งสำหรับรับค่าจากอุปกรณ์ IoT (Internet of things) มาแสดงผลบนออนไลน์ในรูปแบบ Dashboard

SENSES Dashboard (Demo)
Senses Dashboard

Senses Platform สามารถลงทะเบียนใช้งานได้ฟรี แต่จะจำกัดจำนวนอุปกรณ์ จำนวนบอร์ดที่ใช้งาน จำนวนการส่งข้อมูล และระยะเวลาที่เก็บข้อมูลบน Platform ซึ่งสามารถชำระเงินเพิ่มเติม (รายเดือน) เพื่อเพื่มขีดจำกัดได้ โดยรายละเอียดสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ https://www.sensesiot.com/

การสมัครเข้าใช้งาน Senses Platform

เปิด Browser เข้าที่เว็บไซต์ https://www.sensesiot.com แล้วคลิกที่ปุ่ม SIGNUP เพื่อสมัครเข้าใช้บริการ

SENSES SIgn Up
ไม่งงกับ Caption นะ?

จากนั้นคลิกปุ่ม Sign Up กรอก Username, Email และ Password 2 ช่องให้ตรงกัน แล้วคลิกที่ปุ่ม SIGN UP NOW ระบบจะแจ้งให้ยืนยันการลงทะเบียน โดยส่ง Activate Email เข้า Email ที่ใช้สมัคร

Email Activation (Outlook)
ปี 2019 ก็ยังมีคนใช้ Outlook อยู่ 😃

เข้า Email ที่ใช้ในการลงทะเบียน ค้นหา Email ที่ Senses ส่งมา (ถ้าหาไม่เจออาจอยู่ที่อีเมลขยะ) และคลิกลิงค์ Activate เพื่อยืนยันการลงทะเบียน เมื่อคลิกลิงค์ เราก็จะสามารถใช้งาน Senses Platform ได้แล้ว แต่ก่อนที่จะใช้งาน ต้อง Login เข้าสู่ระบบก่อน

เข้าสู่ระบบ Senses Platform

เข้าที่เว็บไซต์ https://www.sensesiot.com แล้วคลิกที่ปุ่ม LOGIN

SENSES Login
ไม่งงกับ Caption นะ? (ย้ำอีกรอบ)

กรอก Email และ Password ที่ลงทะเบียนแล้วคลิกปุ่ม LOGIN

หลังจากที่ Login เข้าสู่ระบบแล้ว คลิกที่เมนู DASHBOARD จะขึ้นหน้าจอ Dashboard ซึ่งเป็นหัวใจหลักของ Senses Platform

SENSES Dashboard (Empty)
Empty dashboard

ก้าวแรกในการใช้งาน Senses Platform คือการใช้งาน Dashboard แต่ตอนนี้ Dashboard ยังคงที่ว่างสีขาว ๆ อยู่ ต่อไปจะทำการสร้าง Dashboard ขึ้นมา

การลงทะเบียนอุปกรณ์

ก่อนที่จะใช้งาน Dashboard ต้องทำการลงทะเบียนอุปกรณ์ก่อน จากหน้า Dashboard คลิกปุ่ม IoT Garage จะขึ้นหน้าต่างดังรูป

SENSES IoT Gauge
IoT Gauge

โดยแถบด้านซ้ายคือรายชื่ออุปกรณ์ที่ลงทะเบียน (ตอนนี้ยังไม่มี) ที่แถบขวามือคือที่ลงทะเบียนอุปกรณ์ ให้กรอก Device Name (ชื่ออุปกรณ์), IoT Model (รุ่นอุปกรณ์) แล้วคลิกที่ปุ่ม Register device เพื่อลงทะเบียน

Key in IoT Gauge
วงกลมสีแดงก็คือ Key ของอุปกรณ์

เมื่อลงทะเบียนสำเร็จ ที่แถบด้านซ้ายจะแสดงอุปกรณ์ที่ลงทะเบียนไว้แล้ว Key ของอุปกรณ์จะถูกนำมาใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์และ Senses Platform

เราสามารถคัดลอง Key นี้ได้โดยการกดปุ่ม copy key

การหา User ID ของ Senses Platform

ในการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์และ Senses Platform จะเป็นต้องใช้ User ID ของตัวเอง แต่อยู่ที่ไหนละ?

วิธีการหา User ID ของตัวเอง เริ่มจากคลิกที่ Email ของตัวเอง ซึ่งจะอยู่ด้านขวาบนต่อจากเมนู (พื้นหลังสีส้มและมีรูปฟันเฟืองด้านหน้า) ระบบจะไปยังหน้า Account ของตัวเอง User ID จะอยู่ที่บรรทัดแรก ตรงรายการ ID

User ID in Account page
User ID อยู่ตรงวงกลมสีแดง

การสร้าง/แก้ไข Dashboard

กลับมาคลิกหน้า Dashboard อีกครั้ง คลิกปุ่ม New Dashboard เพื่อสร้าง Dashboard ขึ้นมาก่อน

Add Dashboard
หน้า Add Dashboard

ให้กรอก Dashboard Name (ชื่อ Dashboard) แล้วคลิกปุ่ม Save

Dashboard Manager (Left pad)

จากนั้นคลิกปุ่ม Dashboard Manager จะแสดงแถบรายชื่อ Dashboard ที่แถบด้านซ้าย คลิกเลือก Dashboard ที่สร้างไว้ ระบบจะเปลี่ยน Dashboard ให้เป็นบอร์ดที่เลือกไว้ โดยสังเกตจากแถบล่างสุด

Edit Dashboard
หน้า Edit Dashboard

จากนั้น คลิกปุ่ม Edit Dashboard เพื่อแก้ไข บอร์ดจะแสดงเป็นกริดตารางเพื่อแสดงให้เห็นว่ากำลังแก้ไขอยู่ เราสามารถเพิ่มและแก้ไขสิ่งต่างๆ ที่อยู่ Dashboard ได้

เมื่อแก้ไขจนพอใจแล้ว ต้องคลิกปุ่ม Save edited Dashboard เพื่อบันทึก Dashboard เสมอ ไม่เช่นนั้นสิ่งที่แก้ไขจะไม่แสดงผลออกมาเลย

การเพิ่ม Gauge (เกจแสดงผล)

Gauge Widget
Gauge (เกจ)

Gauge คือ Widget ใช้สำหรับแสดงค่าตัวเลขเป็นเส้นโค้งดังรูป โดยจะนำข้อมูลจากการส่งของอุปกรณ์มาแสดงผล ซึ่งสามารถกำหนดชื่อ สี ตำแหน่ง ค่าสูงสุด/ต่ำสุด และหน่วยวัด

การใช้งานเกจบน Dashboard ทำได้ดังนี้

คลิกปุ่ม Gauge เพื่อสร้างเกจขึ้นมา เกจที่สร้างมานี้สามารถย้ายได้โดยการคลิกลากไปยังตำแหน่งที่ต้องการ

Gauge in Edit Dashboard
Gauge บน Edit Dashboard

คลิกที่ปุ่ม SETTING บนเกจเพื่อตั้งค่า โดยค่าหลักที่ต้องกำหนดคือ

  • Gauge title (ชื่อเกจ)
  • Min Scale / Max Scale (ค่าต่ำสุด/สูงสุดที่แสดงผล)
  • unit name (ชื่อหน่วย)
  • Show data from device (อุปกรณ์ที่ลงทะเบียน)
  • Slot data (ช่องข้อมูลที่จะนำมาแสดงผล) กำหนดเป็นตัวเลข ถ้ามีข้อมูลหลายๆ อย่างให้กำหนดค่านี้เพื่อให้แสดงผลข้อมูลตรงตามที่ต้องการ
Gauge Setting
Setting ของ Gauge

หลังจากที่กำหนดค่าแล้ว คลิกปุุ่ม Save เพื่อบันทึก แต่ Widget ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง (แต่เก็บค่าไว้แล้ว) ต้องคลิกปุ่ม Save edited Dashboard เพื่อบันทึก Dashboard และ Refresh Browser (F5) Dashboard จึงจะแสดงค่าตามที่ต้องการ

ปล. เมื่อกด Setting ซ้ำอีกรอบจะแสดง Setting ค่าตั้งต้นเสมอ น่าจะเป็น Bug ที่เกิดขึ้น จึงต้องระมัดระวังในการตั้งค่าเป็นพิเศษ

Dashboard เกจโง่ ๆ 1 อัน

ได้ Dashboard อย่างง่ายๆ มาแล้ว แต่ก็เป็น Dashboard นิ่ง ๆ แสดงค่า 0 เพราะขาดอุปกรณ์ IoT ที่มาส่งค่าผ่าน Senses Platform

การเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT เข้ากับ Senses Platform

คำเตือน บทความช่วงนี้จะเกรียนกว่าปกติ โปรดใช้จักรยานในการรับชม

เตรียมอุปกรณ์ที่จะใช้สาธิตการเชื่อมต่อเข้ากับ Senses Platform ได้แก่

  • WeMos D1 mini
  • Sensor วัดความชื้น/อุณหภูมิ รุ่น DHT22
WeMos D1 mini & DHT22
ซ้าย WeMos D1 mini ขวา DHT22

ต่อ DHT22 เข้ากับบอร์ด โดยต่อ + เข้ากับขา 5V − ต่อเข้ากับขา GND และ out เข้ากับขา D1

ถ้ายังไม่มีอุปกรณ์เหล่านี้ สามารถสั่งซื้ออุปกรณ์ผ่านร้านค้าออนไลน์ (มีมากมาย) ราคารวมไม่เกิน 600 บาท ไม่เกิน 7 วัน อุปกรณ์จะส่งมาถึงที่บ้านท่าน

ในกรณีมือใหม่หัดเล่นครั้งแรก ถ้าจะทำตามบทความนี้ อย่าลืม

  • ซื้อชุดหัวแร้งบัดกรี + บัดกรีให้เป็น (ได้ใช้แน่ๆ) สอนบัดกรี by Somchai DIY
  • สายเชื่อมต่อ (สายไฟจัมเปอร์) แนะนำให้ซื้อเป็นชุด
  • สาย USB แอนดรอยด์ที่ส่งข้อมูลได้ (ต่อบน PC แล้วโอนข้อมูลได้)
  • ติดตั้งโปรแกรม Arduino IDE ลงบน PC ดาวน์โหลดได้ที่ https://www.arduino.cc/en/Main/Software
  • ศึกษา Course Arduino เบื้องต้น Playlist

จากนั้นให้ดาวน์โหลด Source Code ของผู้เขียนได้ที่
https://github.com/chan1sook/Senses-platform-demo-DHT

แตกไฟล์ ดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์ SensesWithDHT.ino เพื่อเปิดไฟล์บน Arduino IDE

Double Click SensesWithDHT.ino

ตั้งค่าบอร์ด

สำหรับบอร์ด WeMos D1 mini ก่อนจะตั้งค่า ต้องโหลดข้อมูลการตั้งค่า (Board Manager) ได้จากบทความนี้

หลังจากที่โหลดข้อมูลการตั้งค่าแล้ว จาก Arduino IDE ให้ไปที่ Tools > Board > WeMos D1 R1 IDE จะตั้งค่า Board ให้อัตโนมัติ

Arduino IDE Board Select (WeMos D1 R1)
เลือก Board ให้ถูกต้อง

ติดตั้ง Library ที่จำเป็น

ไปที่ Tools > Manage Library โปรดตรวจสอบให้ดีได้ติดตั้ง Library เหล่านี้หรือไม่ ถ้าไม่มี ให้ติดตั้งก่อน Upload

  • Senses_wifi สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์กับ Senses Platform (พิมพ์ที่ช่องค้นหาว่า senses)
  • DHT sensor library ของ Adafruit เพื่ออ่านค่า Sensor DHT (พิมพ์ที่ช่องค้นหาว่า dht)
  • Adafruit Unified Sensor เพื่อให้ DHT sensor library สามารถใช้งานได้ (พิมพ์ที่ช่องค้นหาว่า Unified)
Check Arduino Library
ดูที่ชื่อ ถ้าขึ้นปุ่ม Install ให้กดปุ่ม Install
Check Arduino Library (Installed)
ถ้าติดตั้งแล้ว จะขึ้นว่า INSTALLED

เมื่อติดตั้งแล้วให้กด X ปิดไป

แก้ไข Source Code

หลังจากเปิด Source Code ขึ้นมาแล้ว ก่อนที่จะอัพโหลดเข้าบอร์ดแก้ไขค่าต่อไปนี้จาก Source Code ก่อน ได้แก่

  • ssid (ชื่อ Wifi ที่ต้องการเชื่อม Wifi)
  • passw (รหัสผ่าน Wifi)
  • userid (User ID ของ Senses Platform)
  • key (Key จาก IoT Gauge)
  • slot (Slot ส่งข้อมูล กำหนดค่าเป็นตัวเลข)
Edit config before upload
แก้ไขตรงวงสีแดงนี้

ไม่มี Wifi ที่บ้าน ทำไงดี?
ดูวิธีแชร์สัญญาณ Wifi Android / iOS

หลังจากที่กำหนดค่าแล้ว ให้บันทึก Source Code แล้วทำการ Verify และ Upload โปรแกรมเข้าบอร์ดที่เลือกไว้ โดยต้องเสียบบอร์ดเข้ากับ PC ก่อน แล้วกำหนด Port COM ให้ถูกต้องก่อน แล้วค่อยกดปุ่ม Upload แล้วรอให้อัพโหลดให้สำเร็จ

Upload code to board
รอสักครู่…

ถ้าไม่สำเร็จ ตรวจสอบ Source Code ว่าพิมพ์ถูกต้องหรือไม่…

ไปที่ Dashboard เลือก Dashboard จาก Dashboard Manager ที่สร้างไว้ในตอนแรก ถ้าทำถูกต้อง ค่าจากอุปกรณ์จะแสดงผลบน Dashboard ได้สำเร็จ

ตราบใดที่ยังเสียบอุปกรณ์เข้ากับแหล่งจ่ายไฟและเชื่อมต่อกับ Wifi ได้อยู่…

SENSES Dashboard (Tutorial Fininshed)
ทำงานแล้ว

Easy to learn but hard to master

สามารถติดตามข่าวสาร / อัพเดทของ Senses Platform ที่เพจ https://www.facebook.com/SensesIoT/

ตอนที่ 2 กลับมาแล้ว

--

--

ณัฐวัฒน์ จันทร์สุข

สนใจในเทคโนโลยี และเกม ชอบเขียนบทความสไตล์เกรียนๆ