การซักประวัติอาการเจ็บป่วย
(History Talking)

--

ชารินันท์ แจงกลาง สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา #BSRU

ทางการแพทย์ ได้แบ่งประวัติการเจ็บป่วยออกเป็น

1.1 อาการสำคัญ (อ.ส.) อาการหลักที่นำผู้ป่วยมาพบผู้รักษา โดยมักจะเป็นอาการเพียง 1–2 อย่าง

1.2 ประวัติเจ็บป่วยในปัจจุบัน (ป.ป.) อาการต่างๆ ของผู้ป่วยและการรักษาที่ผู้ป่วยได้รับตั้งแต่เริ่มไม่สบายมา

1.3 ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต (ป.อ.) ประวัติการเจ็บป่วยในครั้งก่อนๆ ของผู้ป่วยตั้งแต่เกิด ซึ่งสัมพันธ์หรือไม่สัมพันธ์กับการเจ็บป่วยในครั้งนี้ก็ได้

1.4 ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว (ป.ค.) ประวัติการเจ็บป่วยต่างๆ ในหมู่ญาติ พี่น้อง และบุคคลที่อยู่ในบ้านเดียวกันกับผู้ป่วย ซึ่งสัมพันธ์หรือไม่สัมพันธ์กับการเจ็บป่วยในครั้งนี้ก็ได้

1.5 ประวัติการเจ็บป่วยในคนข้างเคียง (ป.ข.) ประวัติการเจ็บป่วยต่างๆ ที่อยู่ข้างบ้าน ในชั้นเรียน ที่ทำงาน หมู่บ้าน ประวัติที่จะสัมพันธ์กับอาการผู้ป่วยโดยตรง ประวัติทางโรคติดเชื้อต่างๆ

1.6 ประวัติส่วนตัว (ป.ส.) ประวัติเกี่ยวกับอายุ เพศ เชื้อชาติ ศาสนา การศึกษา อาชีพ ความเป็นอยู่ สภาวะด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม นิสัยส่วนตัว อารมณ์ส่วนตัว งานอดิเรก

1.7 ประวัติในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี (ป.ด.) 1.การคลอด 2.การเลี้ยงดูและอาหาร 3.การเจริญเติบโต 4.ภูมิคุ้มกัน

1.8 ประวัติประจำเดือนในผู้หญิง (ป.ญ.)

1.9 ประวัติตามระบบ (ป.ร.)

--

--