อาหารฟังก์ชั่นบำรุงเส้นผม

Charinan Jaengklang
2 min readAug 16, 2022

--

ชารินันท์ แจงกลาง สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา #BSRU

โครงสร้างของเส้นผม

1. hair follicle (ต่อมรากผม) รูปทรงเหมือนหลอดปากแคบ

2. hair bulb อยู่ตอนล่างสุดของรากผมมีลักษณะโป่งออกเป็นกระเปาะเปิด เป็นโพรงเว้าเข้าด้านใน รูปร่างคล้ายคีม

3. papilla (ปุ่มปลายแหลม)ลักษณะคล้ายนิ้วมือยื่นเข้าไปในโพรงของ hair bulb ปุ่มนี้มีความสำคัญมากต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม เพราะเป็นส่วนที่มีโลหิต และเส้นประสาทมาเลี้ยงทำให้เซลล์รากผมมีการเจริญแบ่งตัว เกิดเซลล์ใหม่ของผมขึ้นเรื่อยๆ

วงจรชีวิตเส้นผม

แบ่งออกเป็น 3 ระยะ

1. ระยะเจริญเติบโต (Anagen Phase) เป็นช่วงของการงอกเต็มที่ (active phase) ของเส้นผม ระยะเวลา ในช่วงนี้จะเป็นตัวกำหนดความยาวของเส้นผม และเป็นระยะที่เส้นผมมีโครงสร้างสมบูรณ์ เส้นผมแต่ละเส้นมีอายุนานถึง 3 ปี ถ้าไม่มีสาเหตุที่ทำให้ผมร่วงก่อนกำหนด เมื่อคนเราอายุมากขึ้น ในระยะนี้จะสั้นลง

2. ระยะหลุด (Catagen Phase) เป็นระยะที่เส้นผมหยุดเจริญเติบโต เตรียมพร้อมที่จะหลุด โดยที่รากผมจะเริ่มแยกตัวออกจากปุ่มปลายแหลม แต่ยังมีชีวิต และได้รับอาหารอยู่ เส้นผมในระยะนี้มีช่วงอายุประมาณ 10–14 วันเท่านั้น

3. ระยะฟัก (Telogen Phase) เป็นช่วงที่ผมแก่ และพร้อมที่จะร่วงได้โดยง่าย เส้นผมแยกตัวหลุดจากปุ่มปลายแหลมอย่างเด็ดขาด แต่ยังฝังตัวอยู่ในต่อมรากผม โดยค่อยๆ เคลื่อนขึ้นมาที่ผิวเรื่อยๆ ขณะเดียวกันปุ่มปลายแหลมก็จะสร้างผมเส้นใหม่ขึ้นมาแทนที่ ดังนั้น เมื่อผมเก่าร่วงหลุดไปไม่นาน ก็จะมีผมใหม่งอกออกมาแทนที่ โดยปกติเส้นผมจะร่วงประมาณวันละ 40–90 เส้นต่อวัน

สิ่งที่มีอิทธิพลต่อเส้นผม

1. ฮอร์โมน ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์เป็นตัวที่กระตุ้นให้ผมงอกเร็ว ในขณะที่สเตียรอยด์ ฮอร์โมนระงับการงอกของผม

2. อาหาร วิตามินบีรวม ซึ่งมีมากในยีสต์ และโยเกิร์ต จำเป็นต่อการเจริญเติบโตตามปกติของเส้นผม ส่วนวิตามินเอ ยับยั้งการเจริญของเซลล์ผิวทำให้ผมงอกช้า การได้รับวิตามินเอมากผิดปกติจะเป็นสาเหตุของผมร่วงได้ นอกจากนี้ การขาดอาหารประเภทโปรตีน ทำให้ผมเปราะบาง และร่วง เส้นผมไม่มีสี เป็นต้น

3. สภาพอากาศ มีรายงานพบว่า สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิประจำวัน ไม่มีผลต่ออัตราการงอกของเส้นผม แต่มีผลต่อสภาพเส้นผม เช่น การถูกความร้อนมาก การตากแดดจะทำให้ผมแห้งกรอบ และเปราะ เช่นเดียวกับการอบ และการดัดผมในฤดูหนาว ความชื้นในอากาศต่ำ ผมจะแห้ง เพราะปล่อยน้ำออกมาทำให้เกิดประจุไฟฟ้า เป็นสาเหตุของผมชี้ฟู ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสม และดีที่สุดสำหรับผมคือ 40–60%

4. สภาพบางอย่างของโรค โรคขาดโปรตีนที่เรียกว่า kwashiorkor ทำให้ผมเปราะบาง และไม่มีสี หรือความเป็นพิษของโลหะหนักบางชนิด หรือการเป็นรังแคเนื่องจากการติดเชื้อ มีโอกาสที่ทำให้ผมร่วงได้

5. สารเคมี สารเคมีบางชนิด โดยเฉพาะสารลดแรงตึงผิว อาจระคายเคืองต่อหนังศีรษะ และส่งผลทำให้ผมร่วงได้เช่นกัน หรือทำให้ผมหยาบกระด้าง เพราะสารชำระล้างอย่างแรง และขจัดไขมันตามธรรมชาติของเส้นผม ทำให้ผมแห้ง

สารอาหารบำรุงเส้นผม

1. โอเมก้า 3 ได้แก่ ไข่ ดอกกะหล่ำ ปลาแซลมอน ปลาทู น้ำมันตับปลา ถั่ววอลนัท ถั่วเหลือง น้ำมันคาโนลา ผักโขม เป็นต้น ซึ่งโอเมก้า 3 จะช่วยบำรุงหนังศีรษะ ทำให้หนังศีรษะไม่แห้ง เส้นผมมีชีวิตชีวา

2. ธาตุเหล็ก ได้แก่ เนื้อสัตว์ ตับ ไข่ ถั่ว พริกหวาน ผักใบเขียวเข้ม เป็นต้น ซึ่งธาตุเหล็กมีส่วนช่วยสร้างไขมัน เพื่อทำหน้าที่สร้างความชุ่มชื้นปกป้องผิว และผม เสมือนเป็น conditioner จากธรรมชาติ และป้องกันไม่ให้เส้นผมเปราะบาง

3. สังกะสี ได้แก่ หอยนางรม จมูกข้าว งา เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน ถั่วลิสง ซึ่งสังกะสี ช่วยให้เส้นผมไม่เปราะหักง่าย ป้องกันการหลุดร่วงของเส้นผม

4. วิตามินบี 12 ได้แก่ ตับ เนื้อหมู ปลาเค็ม น้ำปลา ไข่ นม เนย โยเกิร์ต ถั่ว ผักใบเขียวเข้ม ถั่วหมัก เป็นต้น ซึ่งวิตามินบี 12 ช่วยขับน้ำมันธรรมชาติหล่อเลี้ยง ทำให้เส้นผมมีความชุ่มชื้น ไม่แห้งกรอบ

5. โปรตีน อาหารประเภทโปรตีนทั้งจากพืช และสัตว์ โดยเฉพาะโปรตีนที่มีคุณภาพสูงจากไข่ ปลาเนื้อสัตว์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์จากนมไขมันต่ำ เป็นต้น ซึ่งการรับประทานโปรตีนที่มีคุณภาพสูง ในปริมาณที่พอเหมาะนั้น จะช่วยให้เส้นผมแข็งแรง ลดการเปราะบาง และจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม

6. วิตามินเอ ได้แก่ ใบยอ ใบชะพลู ตำลึง ผักกูด ผักบุ้ง ใบบัวบก ชะอม ส้ม มะเขือเทศ แครอท ผักโขม บร็อคโคลี่ มันฝรั่ง มะละกอ แคนตาลูป และผักผลไม้สีเหลืองแดงทั้งหลาย เป็นต้น วิตามินเอช่วยบำรุงหนังศีรษะให้มีสุขภาพดี ช่วยให้ผมเป็นประกายเงางาม บำรุงรากผมให้แข็งแรง

7. แคลเซียม ได้แก่ นม หรือผลิตภัณฑ์จากนม เช่น เนยแข็ง โยเกิร์ต นมถั่วเหลือง ปลาเล็กปลาน้อย ปลาไส้ตัน กุ้งฝอย กะปิ กุ้งแห้ง เต้าหู้ ถั่วเหลือง งาดำ ผักคะน้า มะเขือพวง ใบยอ เป็นต้น แคลเซียมช่วยบำรุงเส้นผมให้มีสุขภาพดี และมีชีวิตชีวา

8. ไบโอติน เรียกอีกอย่างว่า วิตามินบี 7 พบในไข่แดงสุก จมูกข้าวสาลี ถั่วลิสง ดอกกะหล่ำ ข้าวโพด เนื้อไก่ เป็นต้น ไบโอตินช่วยลดอาการผมขาดร่วง ช่วยในกระบวนการการสร้างเซลล์ใหม่ของเส้นผม

9. ซีลีเนียม ได้แก่ เครื่องในสัตว์ ปลา หอย ข้าวที่ยังไม่ขัดสี ซีเรียล และผลิตภัณฑ์นม นอกจากนี้ได้จากกระเทียม เห็ด บร็อคโคลี่ หัวหอม มะเขือเทศ สัตว์ปีก ไข่ และอาหารทะเลต่างๆ เป็นต้น ซีลีเนียม ถือเป็นอาหารผมที่สำคัญอีกตัว ที่ช่วยเสริมสร้างเส้นผมให้แข็งแรง มีสุขภาพดี นอกจากนี้ ยังพบว่า ในเห็ด มีสารอาหารอื่นที่สำคัญต่อเส้นผม นั่นก็คือ แพนโทเธนิค (Pantothenic) ที่ช่วยรักษาเม็ดสีภายในเส้นผม ป้องกันผมหงอกได้เป็นอย่างดี

--

--