Hybrid Cloud vs. Multi-Cloud

Narathip Joonsaranpong
3 min readDec 27, 2023

--

ที่มา :https://monsterconnect.co.th/wp-content/uploads/2021/02/1024x576-%E0%B8%9B%E0%B8%81-blog-7.png

Hybrid Cloud คือ

Hybrid Cloud เป็นการผสมผสานกันอย่างลงตัวระหว่างระบบโครงสร้างพื้นฐานของระบบ Private Cloud และ Public Cloud ที่ถูกนำมาใช้ร่วมกัน เพื่ออุดข้อเสียของ Cloud ทั้งสองรูปแบบนี้ และยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการจัดการได้มากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น บริษัทอาจใช้ทรัพยากรการประมวลผลของระบบคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud) และแอพพลิเคชั่นสำหรับกระบวนการบางอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์บัญชีเงินเดือน (Payroll Software) แต่เลือกที่จะใช้ระบบคลาวด์ส่วนตัว (Private Cloud) เพื่อจัดเก็บข้อมูลที่สำคัญทางธุรกิจ โดยมีกุญแจสำคัญคือ Public Sphere และ Private Sphere ที่มีการเชื่อมโยงกันผ่านการเข้ารหัสการเชื่อมต่อ (Encrypted Connection) ที่จะช่วยให้สามารถทำการรับส่งข้อมูลอย่างปลอดภัยระหว่างพวกเขา

Hybrid cloud อาจรวมถึงการจัดสรรทรัพยากรแบบไดนามิค (Dynamic Resource Allocation) และการย้ายข้อมูลระหว่าง Cloud (Migration among Clouds) นอกจากนี้ Hybrid Cloud ยังได้รับการออกแบบโดยคำนึงถึงความสามารถในการเคลื่อนย้ายได้ (Portability) เป็นหลัก โดยองค์กรสามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานหรือโยกย้ายถ่ายโอนปริมาณงาน (Workloads) ของคลาวด์ภายใต้การบริหารจัดการเบ็ดเสร็จในจุดเดียว (Unified Management)

ด้วยประโยชน์ที่มีให้ทั้งหมดดังที่ได้กล่าวมา มันจึงไม่ใช่เรื่องที่ทำให้ต้องประหลาดใจ ที่ Hybrid Cloud ถูกคาดการณ์ว่าจะเป็นโมเดลกระแสหลักในอนาคต — กว่า 90% ขององค์กร ได้ให้ความคิดเห็นว่า Hybrid Cloud เป็นรูปแบบไอทีในอุดมคติ, จากรายงานการวิจัยโดย VansonBourne

ข้อดี และ ข้อเสียของ Hybrid Cloud

หากมีการจัดการอย่างเหมาะสมกับระบบคลาวด์แบบ Hybrid ก็จะช่วยให้บริษัทต่างๆ ที่มีความคิดแบบเก่าๆ สามารถที่จะมองเห็นข้อได้เปรียบของทั้งข้อดีและข้อเสียของ Hybrid Cloud ได้ในเวลาเดียวกัน เนื่องจากข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน (Sensitive Data) ขององค์กร ก็ยังคงสามารถที่จะรักษาและจัดเก็บไว้ภายในศูนย์ข้อมูลของบริษัท โดยใช้วิธีการควบคุมอย่างเข้มงวดเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาหรือข้อมูลลูกค้าในแบบที่หลายๆ องค์กรต้องการ อย่างไรก็ตาม บริษัทยังคงสามารถได้ประโยชน์จากการประหยัดค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นและความยืดหยุ่นในการปรับขนาดที่เสนอโดยผู้ให้บริการคลาวด์สาธารณะ

ในส่วนของคลาวด์สาธารณะ ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญ แต่มักจะถูกนำมาใช้ในการส่งมอบภารกิจที่มีความสำคัญในระดับที่น้อยกว่า ยกตัวอย่างเช่น แผนกทรัพยากรมนุษย์หลายแห่งใช้บริการคลาวด์สาธารณะเพื่อจัดการกับบัญชีเงินเดือนของพวกเขา อาจมีบ้างในบางครั้งที่แอปพลิเคชั่นเหล่านี้จำเป็นต้องค้นหาข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ในโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ (Cloud Infrastructure) แบบส่วนตัวของบริษัท แต่ Core Data ที่เป็นสินทรัพย์ของบริษัท ก็ยังคงอยู่ภายในขอบเขตขององค์กร

ข้อเสียของวิธีการแบบ Hybrid ก็คือการจัดการทางด้านเทคนิค ที่ยากกว่าโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่เป็นแบบส่วนตัว (Private) หรือสาธารณะ (Public) ซึ่งแผนกไอทีจะต้องอุทิศทั้งเวลาและความพยายามในการรักษาความปลอดภัยอย่างเพียงพอ, การกำหนดค่าและการวางแผนพัฒนาแบบผสมผสาน และอาจจำเป็นที่จะต้องปรับระบบภายในเพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพกับระบบของบุคคลที่สาม (Third Party Systems)

นอกจากนี้ มันยังอาจทำให้บริษัทต้องพึ่งพาโครงสร้างพื้นฐานเป็นครั้งแรกจากผู้ให้บริการภายนอก (External Provider) ในขณะที่ระบบอำนวยความสะดวกสำหรับกรณี Failover และ Backup Facility ในผู้ให้บริการคลาวด์แบบสาธารณะที่มีชื่อเสียง ก็น่าจะมีแนวโน้มที่เหนือกว่าบริษัทของตัวเอง แต่ก็ยังเกิดปัญหาขัดข้อง และบริษัทก็จะต้องคำนวณความเสี่ยงด้านชื่อเสียง (Reputational Risk) และความเสี่ยงทางด้านการเงิน (Financial Risk) ของแอปพลิเคชั่นทางธุรกิจ (Business Applications) ที่ไม่พร้อมใช้งานในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

การรักษาความปลอดภัยก็เป็นปัญหาอีกประการหนึ่ง สำหรับ Hybrid Cloud ด้วยโครงสร้างพื้นฐานแบบผสมผสานทำให้เกิดเหตุการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัย (Security Incident) ที่มีความรุนแรงยิ่งกว่าการใช้ประโยชน์จาก Cloud Hosting หรือการจัดการกับ Workload ด้วยระบบที่มีอยู่ภายในองค์กร (On-Premises) โดยมีการวิจัยของ Voice of the Enterprise จาก 451 Research ที่แสดงให้เห็นว่า 51.8% ของผู้ตอบแบบสอบถาม ที่มีความเห็นว่าพื้นที่จัดเก็บข้อมูล (Storage) บนระบบคลาวด์แบบ Hybrid มีระบบการรักษาความปลอดภัยที่น้อยกว่า ซึ่งจัดว่าเป็นข้อเสียในลำดับต้นๆ เลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม พบว่ายังมีอีกหลายวิธีที่สภาพแวดล้อมคลาวด์แบบ Hybrid สามารถทำงานเพื่อปกป้องข้อมูลทั้งในระหว่างการโอนย้าย (In Transit) และในส่วนที่เหลือ แต่มาตรการเหล่านั้นอาจแตกต่างกันไปตามผู้ให้บริการ และอาจจะไม่เพียงพอที่จะสนองความกังวลด้านความปลอดภัยของตลาดที่เฉพาะเจาะจง (Specific Markets) ซึ่งความปลอดภัยของข้อมูลมักจะขัดแย้งกับความคาดหวังในยุคที่มีการเร่งการพัฒนาของคลาวด์ แต่ก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องมีระบบคลาวด์แบบ Hybrid ที่สามารถทำให้นโยบายด้านความปลอดภัยของข้อมูลที่เป็นไปโดยอัตโนมัติและรับประกันว่าพวกเขาจะปฏิบัติตาม ในขณะที่ยังคงเปิดใช้งานความสามารถแบบออนดีมานด์ (On-Demand) สำหรับพื้นที่จัดเก็บบนระบบคลาวด์แบบ Hybrid

การกำหนดงบประมาณสำหรับการติดตั้งระบบคลาวด์แบบ Hybrid อาจทำให้เกิดความซับซ้อนได้เช่นกัน ในสถานการณ์ที่ผู้ให้บริการคลาวด์แบบสาธารณะมอบความจุสำรองสำหรับการกู้คืนระบบ (Fallback Capacity) จากความเสียหาย หรือเครือข่ายส่วนตัว (Private Network) ขององค์กร ซึ่งมันอาจจะเป็นเรื่องยากที่จะคาดการณ์ถึงแนวโน้มความต้องการที่มีต่อโครงสร้างพื้นฐานแบบสาธารณะ แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมใช้งานของทรัพยากรในปัจจุบันของผู้ให้บริการคลาวด์สาธารณะ โดยความจุพิเศษนั้นอาจถูกเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในอัตราผันแปร (Variable Rate)

นั่นอาจเป็นวิธีที่ได้ผลกับบริษัท ทั้งในแง่ของการสนับสนุนและคัดค้าน หากมีการใช้ Extra Capacity ก็สามารถที่จะกำหนดช่วงเวลาให้ตรงกับ Quiet period ของผู้ให้บริการคลาวด์ ซึ่งทรัพยากรพิเศษที่ว่านั้น อาจพร้อมให้บริการในอัตราที่สมเหตุสมผล อย่างไรก็ตามหากมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นในช่วงที่มีการใช้งานมาก (Peak periods) บริษัทอาจถูกบังคับให้จ่ายเบี้ยประกันภัยเพื่อรักษาความพร้อมใช้งานของเครือข่ายองค์กร (Corporate Network) หรือแอปพลิเคชั่น ซึ่งมันอาจจะจบลงในสงครามการเสนอราคากับลูกค้าอื่นๆ ของผู้ให้บริการคลาวด์ เพื่อให้แน่ใจว่ามันมีความจุที่เพียงพอ เมื่อมีการซื้อขายบริการที่เรียกกันว่า Spot Instances เช่น Amazon EC2

สำหรับธุรกิจที่เปิดกว้างในการรับเทคโนโลยีใหม่ๆ, Hybrid Cloud จะช่วยให้องค์กรเหล่านี้สามารถมุ่งเน้นไปที่การนำเอา Digital Technology มาปรับใช้กับทุกส่วนของธุรกิจ (Digital Transformation) ซึ่งมันจะแสดงให้เห็นว่า มีวิธีใดบ้างที่จะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ที่จะใช้สำหรับการผสมผสานระหว่างการลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่จะต้องจ่ายให้กับคลาวด์เทคโนโลยี (Cloud Technology) ที่สามารถเป็นไปได้อย่างยืดหยุ่น ในขณะเดียวกันก็ยังคงรักษาความสามารถในการควบคุมภายใน (Internal Control) และความปลอดภัยที่นำเสนอโดยโครงสร้างพื้นฐานภายในองค์กร (On Premise)

แต่ในการที่จะทำให้ Hybrid Cloud มีสภาพ Environment ที่ใกล้เคียงกับ Production แบบไดนามิก (Dynamic) อย่างแท้จริงนั้น มันจำเป็นที่จะต้องขึ้นอยู่บนพื้นฐานของกรอบ (Framework) ที่ครอบคลุมข้อกำหนดด้านความปลอดภัยและการจัดการนโยบาย (Policy Management) ที่สำคัญ โดยไม่คำนึงถึงตำแหน่งทางกายภาพ (Physical Locations) ของข้อมูลและ Mobile Workloads

ที่มา : https://nipa.cloud/_next/image?url=https%3A%2F%2Fs3-bkk.nipa.cloud%2Fcms-ncs%2FNIPA_CLOUD_NOV_CT_01_Multi_Cloud_1080x1080px_1024x1024_9be3428197.jpeg&w=2048&q=75

Multi-Cloud คือ

ในส่วนของ Multi Cloud คือการปรับใช้ Public Cloud มากกว่าหนึ่งราย เพื่อให้เหมาะสมกับประเภทของธุรกิจที่มีการทำอยู่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าใช้จ่าย ความเสี่ยงจากการใช้คลาวด์เพียงที่เดียว และช่วยเพิ่มความเป็นอิสระในการเลือกใช้

ประโยชน์ของการมีสภาพแวดล้อม Multi Cloud ได้แก่

จุดแข็งของคลาวด์ที่หลากหลาย — ผู้ให้บริการคลาวด์แต่ละที่นั้นมีจุดแข็งและจุดอ่อนที่ต่างกัน การที่เราสามารถเลือกใช้บริการ Multi Cloud ได้ ทำให้สามารถบริหารจัดการเพื่อใช้งานจุดเด่นของผู้ให้บริการคลาวด์ในแต่ละเจ้าได้

หลีกเลี่ยงการล็อกผู้ขาย — เมื่อใช้งานคลาวด์เจ้าเดียว ก็แน่นอนว่าข้อมูลเราจะอยู่กับคลาวด์เจ้านั้นมาก ทำให้การโยกย้ายระบบไปที่อื่นนั้นมีความยากลำบาก ไม่ว่าจะเรื่องระยะเวลา หรือค่าใช้จ่าย การมี Multi Cloud จะช่วยให้คุณสามารถควบคุมการจัดการปริมาณงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การจัดการความเสี่ยง — การมี multi cloud สามารถช่วยปกป้องข้อมูลธุรกิจที่สำคัญของ บริษัท ด้วยความสามารถในการสำรองข้อมูลและการกู้คืนที่ซ้ำซ้อน ทำให้เกิดความต่อเนื่องทางธุรกิจ ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าดับหรือภัยธรรมชาติ

การจัดการ Multi-Cloud

เมื่อเรามีการใช้งานตัว Multi-Cloud เราก็ต้องคำนึงในเรื่องวิธีการจัดการข้อมูลที่อยู่บนคลาวด์ การเลือกผู้เชี่ยวชาญและเครื่องมือที่จะมาจัดการข้อมูลที่อยู่บน Multi-Cloud จึงต้องให้ความสำคัญ จึงทำให้มี Solution ใหม่ที่ชื่อว่า 360 Data Management เพื่อมาช่วยจัดการข้อมูลบน Multi-Cloud ให้นำไปใช้ประโยชน์แก่องค์กรให้ได้มากที่สุด

ศักยภาพที่สำคัญของตัว 360 Data Management

1.สามารถเห็นภาพของข้อมูลในมุมกว้าง สามารถเปลี่ยนข้อมูลสำรองที่มีอยู่แบบเดิมๆ ให้กลายเป็นระบบจัดการอัจฉริยะให้สอดคล้องกันระหว่างนโยบายและมูลค่าของข้อมูล

2.สามารถกู้ข้อมูลได้อย่างยืดหยุ่น จะช่วยให้สามารถกู้คืนแอพพลิเคชั่นที่เลือกได้อย่างอิสระ

3.สามารถจัดการการสำเนาข้อมูลได้อย่างรอบด้าน ช่วยลดพื้นที่การจัดเก็บได้ถึง 60% ช่วยในเรื่องการเข้าถึงข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีความปลอดภัย

Hybrid Cloud VS Multi Cloud เลือกแบบไหนถึงเหมาะ

ในโลกปัจจุบัน ภาคธุรกิจเริ่มมีการปรับใช้งานคลาวด์กันอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเทคโนโลยีคลาวด์จะสามารถเพิ่มความยืดหยุ่นในการขยายตัวของภาคธุรกิจได้แต่ก็ใช่ว่าจะสามารถตอบโจทย์ได้ทุกอย่าง หากผู้ให้บริการคลาวด์ เจ้าใด เจ้าหนึ่งเกิดล่มขึ้นมาก็จะทำให้ระบบของเรานั้นล่มไปด้วย จึงเริ่มเกิดแนวคิดในการปรับใช้ Multi cloud มากขึ้น ปัญหาที่น่ากังวลอีกด้านนึงก็คือ การที่บริษัทตัดสินใจลงทุน Private cloud เป็นของตัวเองแล้ว เกิดความต้องการในการใช้งาน (demand) สูงขึ้นจน private cloud ภายในไม่สามารถรองรับได้ ทำให้ต้องออกไปใช้งาน Public cloud ควบคู่กันด้วย จึงเกิดแนวคิดที่จะปรับใช้ทั้ง private cloud และ public cloud ไปพร้อมกัน หรือที่เราเรียกว่า Hybrid Cloud นั่นเอง

Hybrid Cloud และ Multi Cloud เลือกระบบ Cloud แบบไหนดี?

คำถามต่อมาที่หลายคนอาจจะสงสัย คือ องค์กรควรเลือกใช้อะไร ระหว่าง Hybrid Cloud และ Multi Cloud ซึ่งก็คงไม่มีคำตอบที่ตายตัวเพราะขึ้นอยู่กับโครงสร้างของแต่ละองค์กรด้วย การใช้ Hybrid Cloud จะเหมาะสมกับองค์กรที่ไม่ต้องการมี Private Cloud เป็นของตัวเอง หรือ อาจจะมีข้อมูลไม่ได้เยอะถึงขนาดต้องลงทุน Private cloud การใช้ Public cloud หลายเจ้าก็จะเป็นสิ่งที่สามารถตอบโจทย์ได้ แต่ถ้าองค์กรใด มีการลงทุน Private Cloud เป็นของตัวเอง มีข้อมูลค่อนข้างเยอะ การใช้งาน Hybrid Cloud ก็จะเป็นสิ่งที่เหมาะสมกว่านั่นเอง

ที่มา :

https://www.quickserv.co.th/knowledge-base/solutions/Hybrid-Cloud-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/

https://nipa.cloud/th/blog/hybrid-cloud-vs-multi-cloud#Multi%20Cloud%20%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3?

--

--