Goh Nanthawad Promsorn
6 min readJul 9, 2018

วีธีใช้งานเบื้องต้น : Appsheet

*** โดย Appsheet นั้นจะไม่เปิดบริการให้เราใช้ทั้งหมดจะมีแค่บางบริการเท่านั้นที่เราสามารถใช้ได้ถ้าจะใช้นั้นหมดจะต้องเสียค่าบริการเพิ่ม ***

1. Login ก่อนโดยเข้าไปที่ Website ของตัว Appsheet เพื่อจัดการสร้าง App ของเรา link website : https://www.appsheet.com/

เมื่อกดที่ Login จะมีให้เลือกว่าจะให้ Login โดยใช้อะไร ในตัวอย่างนี้จะเลือกใช้เป็นของ Google

2. เมื่อ Login เข้ามาแล้วเราจะเริ่มทำการสร้าง Application ของเราโดยจะสร้างเองทั้งหมดเลยก็ได้หรือจะเอา Application ที่ระบบหรือคนอื่นทำไว้มาแก้ไขก็ได้

เมื่อกด Make a new app จะมีหน้าต่างขึ้นมาให้เลือก

Start with your own data : สร้างเองใหม่ทั้งหมด

Start with an idea : แสดงตัวอย่าง application ตามความต้องการ ของเรา

Start with a simple app : copy simple application ของทาง Appsheet

___________________________________________________________________

Start with your own data :

เมื่อเลือก Start with your own data แล้วจะเข้ามาที่หน้านี้เพื่อตั้งชื่อและเลือกประเภทให้กับ Application ของเราจากนั้นกด Next step : choose your data เพื่อเลือกที่เก็บข้อมูล

เมื่อ Next step : choose your data แล้วจะสามารถเลือกที่เก็บข้อมูลได้โดยจะดึงข้อมูลจาก Google Drive ของ Gmail ที่ใช้ login กับ Appsheet *โดยในตัวอย่างนี้จะเก็บข้อมูลไว้ที่ไฟล์ example.xlsx

*** โดยในไฟล์ที่จะใช้เก็บข้อมูลนั้นจะต้องไม่เป็นไฟล์ที่ว่างเปล่าเพราะถ้าไฟล์ว่างเปล่าจะเกิด error ได้ ดังนั้นเราจะสร้างตารางไว้รอก่อน ***

ในกรณีที่ไฟล์ที่ใช้เก็บข้อมูลมี Table กับ Columns ไว้ก่อนแล้วทาง Appsheet จะสร้างขึ้นมาให้เองโดยอัตโนมัติดังภาพตัวอย่างโดยข้อมูลชื่อ Table และ Columns จะเหมือนกันกับที่เราตั้งไว้ในไฟล์ที่ใช้เก็บข้อมูล

ในกรณีที่เราจะเพิ่ม Table และ Columns สามารถกดเพิ่มในตัว Appsheet ได้เลยแต่ว่าถ้าเพิ่มใน Appsheet ก็ต้องเพิ่มในไฟล์ที่ใช้เก็บข้อมูลด้วย สรุปก็คือถ้าเพิ่ม Table และ Columns จะต้องให้ข้อมูลเหมือนกันทั้งหมดทั้งชื่อ Table และ ชื่อ Columns เพราะถ้าไม่เหมือนกันจะเกิด Error ได้

ถ้าเราต้องการแก้ไขที่อยู่ของที่เก็บข้อมูลเพียงเลื่อน Scroll mouse ลงมาก็จะเจอกับการจัดการกับที่เก็บข้อมูลโดยเราสามารถแก้ที่เก็บข้อมูลได้

Source Path : ไฟล์ที่เก็บข้อมูล

Worksheet Name/Qualifier : เลือกชีทที่อยู่ในไฟล์ที่ใช้เก็บข้อมูล

**** ต่อไปจะเป็นตัวอย่างการเพิ่ม Table และ Columns ใน Appsheet ****

อันดับแรกกดที่ Add New Table

พอกดเสร็จแล้วก็จะมีให้เลือกว่าจะเลือกเก็บข้อมูลไว้ที่เดิมหรือไม่ถ้าต้องการจะเปลี่ยนที่เก็บข้อมูลให้เลือก New Data Source

ในตัวอย่างนี้จะเก็บข้อมูลไว้ที่ไฟล์เดิมจะเลือกที่ Google เมื่อเลือกแล้วก็จะมาให้เลือกไฟล์ที่เก็บอีกทีนึงเราก็จะเลือกไฟล์เดิม

หลังจากนั้นเลือกไฟล์ที่ต้องการบันทึกข้อมูลแล้วเลือก Sheet ที่ต้องการจะเก็บข้อมูลจากนั้นก็จะมีการให้กำหนดสิทธิ์สำหรับผู้ใช้มีกำหนดเสร็จแล้วก็กด Add This Table เพื่อทำการสร้าง Table

**** หากมี Error ก็เพราะว่าใน Table ที่พึ่งสร้างนี้ไม่มี Columns เราต้องสร้างไว้ก่อนอย่าปล่อยให้ Table มันว่าง ****

ทำการเพิ่ม Columns ให้กับ Sheet2 เพื่อไม่ให้ Table มันว่างเมื่อทำเสร็จแล้ว Error จะหายไป

**** ชื่อ Table สามารถเปลี่ยนได้แต่ชื่อ Columns ถ้าจะเปลี่ยนต้องเปลี่ยนทั้งสองที่คือที่ Appsheet และไฟล์ที่เก็บข้อมูลให้เหมือนกันเสร็จแล้วกด Regenerate ****

ต่อไปจะเป็นการเพิ่ม Columns โดยอันดับแรกให้เลือก Table ที่ต้องการจะเพิ่ม Columns จากนั้นกดที่ Virtual Columns เพื่อเป็นการสร้าง

จากนั้นตั้งชื่อ Columns หลังจากนั้นกด OK เพื่อยืนยันการสร้าง

จากนั้นมันจะ Error เพราะว่าในไฟล์ที่ใช้เก็บข้อมูลไม่มี Columns นั้นอยู่ต้องไปสร้าง Columns ที่มีชื่อเดียวกันในไฟล์ที่ใช้เก็บข้อมูล

ทำการสร้าง Columns ที่มีชื่อเดียวกันกับ Columns ที่พึ่งสร้างไปเมื่อสักครู่โดยไปสร้างที่ Sheet1 เพราะว่า Table example นั้นลิ้งค์กับ Sheet1 อยู่โดยสามารถเช็คได้ที่ STORAGE

*** เมื่อสร้าง Columns เสร็จแล้วทำการกด Regenerate ต้องกดทุกครั้งที่มีการสร้างหรือเปลี่ยนแปลง Table ***

ต่อไปเป็นการสร้าง Columns อีกวิธีนึงคือสร้างในไฟล์ที่ใช้เก็บข้อมูลก่อนแล้วค่อยมา Regenerate ในตัวของ Appsheet ซึ่งวิธีนี้จะสะดวกและง่ายกว่าวิธีที่แล้ว

อันดับแรกสร้าง Columns รอไว้ที่ Sheet2 จากนั้นเข้าไปที่ Appsheet

พอเข้าไปที่ Appsheet จะพบว่ามัน Error เพราะว่าเราไม่ได้กด Regenerate

เมื่อทำการกด Regenerate แล้ว Error จะหายไป Columns ที่เราสร้างไว้ก็จะมาโดยอัตโนมัติและสามารถใช้งานได้โดยปกติ

ต่อไปจะเป็นการกำหนดสิทธิ์ให้กับผู้ใช้ จากในภาพจะไม่สามารถเพิ่มหรือลบข้อมูลได้เลยเราจะทำการให้สิทธิ์กับผู้ใช้โดยเลือกได้เลย

Updates : สามารถแก้ไขข้อมูลได้

Adds : สามารถเพิ่มข้อมูลได้

Deletes : สามารถลบข้อมูลได้

Read-Only : อนุญาติให้ดูข้อมูลได้อย่างเดียวไม่สามารถแก้ไข เพิ่มหรือลบได้

เมื่อทำการให้สิทธิเรียบร้อยแล้วตัว Application ด้านขวามือจะมีปุ่มให้สามารถเพิ่มข้อมูลได้

โดยเมื่อกดปุ่มเพิ่มข้อมูลแล้วก็จะมีหน้าฟอร์มขึ้นมาให้กรอกข้อมูลโดยข้อมูลที่จะให้กรอกนั้นจะเหมือนกันกับ Columns ถ้าข้อมูลใน Columns เป็นอย่างไรข้อมูลที่จะกรอกในฟอร์มก็จะเป็นอย่างนั้น

ต่อไปนี้เราจะมาทำความรู้จักเกียวกับ Type ต่างๆของ Columns กันก่อนว่าแต่ละ Type เป็นอย่างไรและใช้สำหรับทำอะไรโดยจะยกตัวอย่าง Type เบื้องต้นดังนี้

*** โดยแต่ละ Columns Type นั้นจะมีรูปแบบในการกรอกข้อมูลไม่เหมือนกันขี้นอยู่กับ Type ที่เลือก เช่น Columns Type Date ก็จะมีปฏิทินขึ้นมาให้เลือกวัน ***

Address : เมื่อเรากรอกข้อมูลเข้าไประบบจะทำการหาสถานที่ให้ตรงกับข้อมูลทีกรอก

Color : ใช้ในการกำหนดสีให้กับข้อมูล เช่น ข้อมูลดี = สีเขียว , ข้อมูลเสีย = สีแดง

Date : จะเป็นการกรอกและกำหนดวันที่

DateTime : จะเป็นการกำหนดวันที่และบันทึกเวลา ณ ขนาดนั้น

Decimal : จะเป็นการกรอกข้อมูลแบบทศนิยม

Drawing : จะเป็นการกรอกข้อมูลโดยการวาดรูปหรือบันทึกรูปภาพ

Duration : จะเป็นการกรอกระยะเวลา

Email : จะเป็นการกรอกอีเมล

Enum : จะเป็นการเลือกกรอกข้อมูลแบบ Dropdownlist โดยสามารถเพิ่มตัวเลือกขณะกรอกข้อมูลได้หรือเพิ่มจากการตั้งค่าที่ Columns ก็ได้

EnumList : จะเหมือนกับ Enum เลยแต่ว่าต้องเพิ่มตัวเลือกจากการตั้งค่า Columns ก่อน

File : จะเป็นการกรอกข้อมูลโดยการเพิ่มไฟล์โดยใช้ไฟล์ภายในเครื่องที่ใช้ Application

Image : จะเป็นการกรอกข้อมูลโดยการถ่ายรูปภาพหรือเลือกรูปภาพภายในเครื่องที่ใช้ Application

LatLong : การกรอกข้อมูลโดยอาศัยละติจูดและลองจิจูด

Longtext : การกรอกข้อมูลแบบตัวอักษรและตัวเลข

Number : การกรอกข้อมูลแบบตัวเลข

Percent : การกรอกข้อมูลแบบเปอร์เซ็นต์

Phone : การกรอกข้อมูลแบบตัวเลขซึ่กสามารถกดโทรตามเบอร์ที่กรอกไว้ได้

Price : การกรอกข้อมูลแบบตัวเลขและมีสกุลเงินต่อท้ายสามารถเลือกได้โดยการตั้งค่าที่ Columns

Progress : การกรอกข้อมูลแบบ Dropdownlist โดยข้อมูลที่กรอกนั้นเมื่อกรอกมาแล้วหน้าสแดงผลจะเป็นลักษณะของกราฟวงกลม เช่น เมื่อเลือก Full ก็จะได้กราฟวงกลมที่เต็มวง

Ref : เป็นการดึงเอาข้อมูลจาก Columns ของ Table อื่นมาแสดงให้เลือกกรอกขอมูลในลักษณะแบบ Dropdownlist โดยต้องตั้งค่าให้ Columns ที่ต้องการจะดึงข้อมูลมานั้นเป็น key

โดยอันดับแรกกดที่รูปดินสอเพื่อทำการตั้งค่าตัวของ Columns Type จากนั้นเลือกเป็น Ref แล้วเลือก Table หรือ Columns ที่ต้องการจะเอาข้อมูลมาแสดง

จากนั้นให้ไปติ๊ก Columns ที่ต้องการจะดึงข้อมูลไปแสดงเป็น Key

Signature : การกรอกข้อมูลแบบลายเซ็นต์โดยตอนกรอกจะมีกรอบมาให้และจะเซฟเก็บไว้เป็นไฟล์รูปภาพ

Time : จะเป็นการเซฟเวลา ณ ขนาดตอนกรอกข้อมูล

Url : กรอกข้อมูลโดยการนำเอา Link หรือ Url ของเว็ปไซต์ที่ต้องการมากรอก

Yes/No : การกรอกข้อมูลโดยเลือกระหว่าง Y หรือ N ถ้าเลือก Y จะเก็บข้อมูลงไฟลข้อมูลว่า TRUE แต่ถ้าเป็น N จะเก็บข้อมูลงไฟลข้อมูลว่า FALSE

โดยเมื่อทราบ Columns Type เบื้องต้นแล้วก็สามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการของงานได้เลย นอกจากนี้การตั้งค่า Columns นั้นยังมีการกำหนดสิทธิ์เพิ่มเติมอีกด้วยโดยมีรายระเอียดดังนี้

KEY : ถ้าเลือกให้ Columns ไหนให้เป็น KEY ในการกรอกข้อมูลลงใน Columns นั้นจะไม่สามรถกรอกข้อมูลที่มีอยู่แล้วหรือซ้ำกันได้ เช่น ในกรณีที่เราต้องการให้ Columns นั้นใช้เก็บรหัสของสินค้า เพราะฉะนั้นข้อมูลไม่ควรจะซ้ำกัน

READ-ONLY : ถ้าเลือกให้ Columns ไหนให้เป็น READ-ONLY ในการกรอกข้อมูลลงใน Columns นั้นจะไม่สามรถกรอกข้อมูลได้จะดูข้อมูลได้อย่างเดียวแต่ว่าข้อมูลจะยังถูกบันทึกลง Columns อยู่เช่น ในกรณีที่ Columns ไม่จำเป็นต้องแก้ไขให้บันทึกได้เลยก็ตั้งเป็น READ-ONLY เพื่อไม่ต้องต้องการให้แก้ไข

HIDDEN : ถ้าเลือกให้ Columns ไหนให้เป็น HIDDEN Columns นั้นจะไม่แสดงในการกรอกข้อมูลใช้ในการซ่อนข้อมูลที่ไม่ต้องการให้กรอกข้อมูล

REQUIRED : ถ้าเลือกให้ Columns ไหนให้เป็น REQUIRED Columns นั้นจะต้องกรอกข้อมูลลงไปถ้าไม่กรอกข้อมูลจะไม่สามารถเซฟหรือบันทึกข้อมูลทั้งหมดได้ เช่น ข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลที่จำเป็นต้องกรอกก็ตั้งให้เป็น REQUIRED ก็จะไม่สามารถข้ามได้

___________________________________________________________________

ต่อไปจะเป็นการบันทึกข้อมูลลงในไฟล์ที่ใช้เก็บข้อมูลโดยมีทั้งหมด 2 วิธีดังนี้

โดยวิธีแรกนั้นจะเป็นการบันทึกในเว็ปไซต์ของ Appsheet ที่เราใช้ตั้งค่าตัว Application ได้เลยโดยทำการกดปุ่มเพิ่มข้อมูลและเพิ่มข้อมูลได้เลย

เมื่อกดปุ่มเพิ่มข้อมูลแล้วจะมีแบบฟอร์มขึ้นมาดังภาพโดยการกรอกข้อมูลของแต่ละ Columns จะเป็นไปตาม Columns ที่ได้ตั้งไว้

ส่วนอีกวิธีนึงคือบันทึกข้อมูลโดยใช้โทรศัพท์ อันดับแรกต้องไปโหลด Application ที่มีชื่อว่า AppSheet มาก่อนโดยโดยมีทั้ง Android และ Ios

เมื่อติดตั้ง AppSheet เสร็จแล้วให้ทำการ Login โดยใช้ G-mail เดียวกันกับที่ใช้ในเว็ปไซต์ AppSheet

เมื่อทำการ Login เข้ามาแล้วจะเจอกับหน้า App Gallery ซึ่งจะมี Application ทั้งหมดที่เราทำเอาไว้ใน

กดเข้ามาที่ Application ที่เราเลือกคือ Example เมื่อเข้ามาแล้วก็สามารถกดเพิ่มข้อมูลได้เลยเหมือนกับที่ทำในเว็ปไซต์เลยแต่แบบนี้จะสะดวกกว่า

ทำการเพิ่มข้อมูลลงไปในไฟล์ที่เก็บข้อมูล

เมื่อทำการบันทึกข้อมูลเสร็จแล้วข้อมูลในไฟล์เก็บข้อมูลจะมาแสดงที่หน้าแรกซึ่งเราสามารถกำหนดได้ว่าจะให้แสดงอะไรบ้าง

**** ทุกครั้งที่มีการเพิ่ม ลบ หรือเปลี่ยนแปลงอะไรต้องก็ตามแต่ให้ทำการ Sync ทุกครั้งเพื่อเป็นการ Update ข้อมูลให้ตรงกัน ****

ต่อไปเมื่อเราต้องการเซ็คข้อมูลที่ทำการเพิ่มเข้าไปสามารถเช็คได้โดยเข้าไปที่ Google Drive ของ Gmail ที่ใช้ Login กับ Appsheet

เมื่อเข้าดูไฟล์ที่เก็บข้อมูลแล้วข้อมูลที่เราเพิ่มไปบันทึกเข้ามาก็ถือว่า Application ใช้งานได้แล้ว.