การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม
กุสุมาศ ตันไชย สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา #BSRU #SciBSRU #ThaiMedBSRU
•การดูแลสุขภาพเพื่อให้เกิดความสมดุล กลมกลืนระหว่างร่างกาย จิตใจ สังคม จิตวิญญาณ ปัญญา และสิ่งแวดล้อม
•ในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ครอบคลุมทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคในขณะที่ไม่เจ็บป่วย เพื่อให้เกิดสุขภาวะที่ดี
•รวมถึงการรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสุขภาพ เมื่อเกิดการเจ็บป่วย ซึ่งอาจเรียกว่าเป็นการแพทย์แบบองค์รวม (Holistic Medicine) โดยคำนึงถึงองค์ประกอบทุกอย่างในตัวคนและรอบ ๆ ตัวคน
•มุ่งเน้นให้ผู้รับการบำบัดได้มีส่วนร่วมในกระบวนการดูแลสุขภาพของตน จนเกิดการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต มีพฤติกรรมสร้างสุขภาพ และหายจากโรคได้ด้วยตนเอง
•เป็นการดูแลรักษาคนทั้งคน ไม่ใช่เพียงแค่รักษาโรค
ความหมายของการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม
การดูแล หมายถึง เป็นการปฏิบัติกิจกรรมที่บุคคลริเริ่มและกระทำด้วยตนเอง เพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิตสุขภาพ และสวัสดิภาพของตน และเมื่อกระทำอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้โครงสร้าง หน้าที่และพัฒนาการดำ เนินไปได้ถึงข้อสูงสุด การที่บุคคลจะดูแลตนเองได้นั้น จะต้องริเริ่มและปฏิบัติกิจกรรม การดูแลตนเองอย่างต่อเนื่อง และปัจจัยส่งเสริมที่จะทำ ให้การดูแลตนเอง คือ การให้ความสำคัญ ในการดูแลตนเอง รับรู้พฤติกรรมการดูแลตนเอง ทำกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ มีกำลังใจและความตั้งใจสูงตั้งแต่เริ่มปฏิบัติจนสิ้นสุด
สุขภาพ หมายถึง สุขภาพ ตามการนิยามขององค์การอนามัยโลกว่า สุขภาพเป็นภาวะที่ไม่เพียงแต่ปราศจากโรค แต่ยังหมายรวมถึง ความเป็นปกติสุขทั้งกาย ใจ สังคม และปัญญา ครอบคลุมสุขภาพใน 4 ด้าน อย่างสมบูรณ์ และเป็นการดูแลคนทั้งคนได้พอเหมาะพอดีเรียกว่า ดุลยภาพของชีวิต
องค์รวม หมายถึง การมองกระบวนการชีวิตและสุขภาพเชื่อมโยงสิ่งดีงามเข้าหากันแล้วนำมาเป็นเครื่องมือในการดูแลสุขภาพ เป็นการมองเรื่องสุขภาพเป็นระบบ ไม่เน้นเฉพาะเรื่องป่วยไข้ และการบำบัดเท่านั้น
หลักธรรมานามัย
การดูแลสุขภาพของตนเองให้แข็งแรง และป้องกันโรค และโดยใช้หลักธรรมานามัย ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ทุกช่วงวัย และทุกสถานการณ์โดยให้ความสำคัญกับปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ และความมีอายุยืนทุกปัจจัยอย่างเป็นองค์รวม ได้แก่ กาย จิต และพฤติกรรม โดยประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
1. กายานามัย
- การส่งเสริมสุขภาพทางกาย
- เมื่ออายุอยู่ในช่วงปัจฉิมวัย (30-อายุขัย) ในทางการแพทย์แผนไทย ถือว่าธาตุทั้ง 4 เริ่มถดถอยลง
- กินอย่างพอดีกินให้ถูกกับโรค
- การส่งเสริมสุขภาพกาย ด้วยวิธีการบริหารต่างๆ เช่น ออกกำลังกายโดยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ กายบริหารฤๅษีดัดตน การเล่นโยคะ การว่ายน้ำ การเต้นแอโรบิก เป็นต้น
การกินอาหารตามธาตุเจ้าเรือน
ธาตุดิน มักจะเสี่ยงต่อโรคอ้วน ความดันโลหิตสูง เบาหวาน อาการปวดตามข้อ โรคระบบทางเดินหายใจ และโรคเกี่ยวกับระบบน้ำย่อย ควรกินอาหารรสฝาด เพื่อช่วยสมานปิดธาตุ เช่น ฝรั่ง ดอกแค มะขามป้อม ใบชา ใบกระถิน ควรกินอาหารรสหวาน ทำให้ชุ่มชื่นบำรุงกำลัง เช่น ผัดหมี่กะทิ ผัดเปรี้ยวหวาน ไอศกรีม แกงมัสมั่น ควรกินอาหารรสมัน เพื่อแก้เส้นเอ็นพิการ ปวดเสียว ขัดยอก และกระตุก เช่น กะทิ นมถั่วเหลือง ควรกินอาหารรสเค็ม ช่วยการดูดซึมอาหาร ป้องกันการเสื่อมของเส้นเอ็น และกระดูก เช่น เกลือ ปลาอินทรีย์เค็ม ปลาทูต้มเค็มน้ำสมุนไพร : น้ำฝรั่ง น้ำมะตูม น้ำแตงโม น้ำอ้อย เป็นต้น
ธาตุน้ำ มักมีปัญหาเสมหะเป็นพิษ จึงควรกินอาหารรสเปรี้ยวเพื่อฟอกเสมหะ เช่น ปลานึ่งมะนาว แกงส้ม ต้มยำ ยำต่างๆ หลีกเลี่ยงอาหารรสมันส่วนปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เหมือนธาตุดิน เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ระบบทางเดินหายใจ และโรคอ้วน ในกรณีที่ธาตุน้ำ มักจะมีเสมหะและน้ำมูกคล้ายจะเป็นหวัด เพราะร่างกายต้องการขับน้ำออกมา ในช่วงอายุแรกเกิดถึง 16 ปี มักจะมีอาการเป็นหวัดคัดจมูก ตาแฉะ ในฤดูหนาวจะเจ็บป่วยง่าย เพราะธาตุน้ำกำเริบ น้ำสมุนไพร : น้ำมะขาม น้ำมะนาว น้ำสับปะรด น้ำกระเจี๊ยบ น้ำมะไฟ
ธาตุลม ปัญหาสุขภาพของคนธาตุลมนี้ คือ นอนไม่ค่อยหลับ ปวดท้อง จุกเสียด ระบบภายในมีความ เป็นกรดมาก ระบบย่อยอาหารไม่ดี อาจมีปัญหาโรคข้อและกระดูก ควรกินอาหารรสเผ็ดร้อน เพื่อแก้ลมจุกเสียด และช่วยให้ลมในร่างกายเคลื่อนได้ดี เช่น ผัดกะเพรา ผัดฉ่า ผัดขี้เมา ที่ไม่ใช้พริก ในฤดูฝนจะเจ็บป่วยง่ายเพราะธาตุลมกำเริบ ควรหลีกเลี่ยงรสหวาน น้ำสมุนไพร : น้ำขิง น้ำข่า น้ำตะไค น้ำกระเพราแดง
ธาตุไฟ ปัญหาสุขภาพคือ เครียดง่าย โรคกระเพาะอาหาร ผิวหนังแพ้ง่าย ท้องเสียบ่อย ร้อนใน เป็นฝีและมีแผลในปาก ในฤดูร้อนจะเจ็บป่วยบ่อย อาจเป็นไข้ตัวร้อนได้ง่าย เพราะธาตุไฟกำเริบ ควรกินอาหารรสขม แก้โลหิตเป็นพิษ เช่น ต้มจืดมะระ สะเดาน้ำปลาหวาน แกงขี้เหล็ก มะระขี้นก ดาร์กช็อคโกแลต มะเขือ ชะอม ใบบัวบก หลีกเลี่ยงอาหารรสร้อน น้ำสมุนไพร : น้ำใบบัวบก น้ำมะระขี้นก น้ำใบเตย น้ำลูกเดือย น้ำมะพร้าว น้ำรากบัว
2. จิตตานามัย
การดูแลให้จิตเกิดภาวะที่สมบูรณ์ 3 ภาวะ ดังนี้
2.1 คุณภาพ คือ จิตที่มีการเรียนรู้อย่างเข้าใจและปฏิบัติได้ถูกต้องตามหลักคุณธรรม
2.2 สมรรถภาพ คือ จิตอยู่นิ่งและตั้งมั่น เรียกว่าสมาธิ
2.3 สุขภาพ คือ จิตที่เรียนรู้และเข้าใจอย่างมีความสุข
ในปัจจุบันมีข่าวการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างต่อเนื่องและมีจำนวนนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ย่อมทำให้เกิดผลกระทบหลายมิติ หากเราพิจารณาสถานการณ์นี้ให้ชัดเจนของแต่ละปัญหาและวิเคราะห์ตามหลักการแก้ปัญหาจะแก้ไขได้ดังนี้
3. ชีวิตานามัย
การดำเนินชีวิตตามหลักอนามัยทั้งอาหารการกิน และความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน ในปัจจุบันเช่น ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 การสวมใส่หน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือ ใช้ยาสมุนไพรดูแลตนเอง และบรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น
การดูแลสุขภาพตามภูมิปัญญา เป็นวิธีที่ใช้ในการรักษาสุขภาพกายและจิตใจ เช่นสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีงาม ด้วยการปลูกต้นไม้ ไม้ผลหรือพืชที่กินได้ เพื่อนำมาทำ เป็นอาหาร ปลูกต้นไม้เพื่อช่วยกันสร้างอากาศให้กับสังคมโลก ความชุ่มชื่น ความร่มเย็นการทำความสะอาดบ้านเรือน การมีเครื่องแต่งกายที่สะอาด หรือเป็นที่พอใจของตนการขจัดสิ่งปฏิกูล การดูแลแม่น้ำลำธาร และการประกอบอาชีพที่เหมาะสม
เอกสารอ้างอิง
1. ขวัญใจ เอมใจ และวณี ปิ่นประดับ. (2543). ระบบสุขภาพที่คนไทยต้องการ นนทบุรี : สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ.
2. จรรยา สุทธิญาโณ พระมหา. (2543). พระพุทธศาสนากับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม. สงขลาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
3. สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์. (2564). คู่มือดูแลสุขภาพสำหรับประชาชน สร้างสุขภาวะด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยใน ยุคโควิด-19. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล.
4. อุทัยวรรณ พงษ์บริบูรณ์. (2557). การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมด้วยภูมิปัญญาไทย. วารสารพยาบาลตำรวจ. 6(2): 250-262.
5. Orem. D. E. (1985). Nursing Concept of Practice. ed. Newyork me Graw-Hill.