การศึกษาสาเหตุความเครียดในการเรียนออนไลน์

--

กุสุมาศ ตันไชย สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา #BSRU #SciBSRU #ThaiMedBSRU

Photo by Chris Montgomery on Unsplash

สาเหตุความเครียดมาจากปัญหาหลายๆ อย่าง เช่น ระบบการเรียนการสอน การขาดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนักศึกษากับสถาบันการศึกษา การขาดความสอดคล้องระหว่างการเรียนในชั้นกับการ ฝึกปฏิบัติงาน ความคาดหวังของครูอาจารย์ที่มีต่อระดับความสามารถของนักศึกษา ความคาดหวังของ สังคมต่อภาพลักษณ์ ความรู้สึกของนักศึกษาต่อวิชาชีพ ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน ปัญหาด้านการเรียน กฎระเบียบ และปัญหาด้านการเงิน เป็นต้น

การที่นักศึกษามีความเครียดจะทําให้มีผลกระทบต่อการปรับตัว และปัญหาด้านการเรียน ปัจจุบันความเครียดได้กลายเป็นปัญหาสําคัญในชีวิตประจําวันของคนเรามากบ้าง น้อยบ้างแตกต่างกันไป ความเครียดได้กลายเป็นปัญหาสําคัญและทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น สังเกตได้จากข่าวสารที่ได้รับจากสื่อต่าง ๆ ในทุกวันนี้ พบว่า ความเครียดของคนเรายิ่งเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะข่าวที่สะเทือนใจจากการหนีปัญหาหรือหนีจากความเครียดต่าง ๆ ที่ต้องประสบ ซึ่งจะเห็นได้จากข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ เช่น เกิดความผิดหวังจากการเรียน สอบไม่ผ่าน สอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ ความคาดหวังที่สูงเกินความสามารถ ความกดดันภายในตนเองและคนรอบข้าง เศรษฐกิจการเงินภายในครอบครัว ปัญหาช่องว่างของคนภายในครอบครัว เป็นต้น (อรุณี, 2557)

จากรายงานการวิจัยของ อรุณี มิ่งประเสริฐ (2557), จิตต์พิสุทธิ์ ฉิมใหม่ (2551) พบว่า นักศึกษามีพฤติกรรมในการเรียนไม่เหมาะสม ไม่สนใจในการเรียนเท่าที่ควร มีการเข้าเรียนสาย ไม่ตรง ต่อเวลา ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวส่งผลให้นักศึกษาเกิดความเครียด เนื่องจากนักศึกษาเรียนไม่ทันเพื่อน เรียนไม่เข้าใจในเนื้อหา รวมไปถึงการไม่มีส่งงานอาจารย์ตามที่กําหนด ทําให้นักศึกษาไม่อยากเข้าห้องเรียน ซึ่งสอดคล้องเกี่ยวกับพฤติกรรมและปัญหาของนักศึกษา พบว่านักศึกษามีปัญหาในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ปัญหาด้านการเรียน ปัญหาส่วนตัว ปัญหาครอบครัว ปัญหาทาง เศรษฐกิจ การปฏิบัติตัวกับเพื่อนทั้งรุ่นเดียวกัน และรุ่นพี่ ปัญหาด้านจิตใจ เช่น เครียดจากการเรียน จนมีผลต่อร่างกายทําให้มีอาการ ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องผูก อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เป็นต้น ซึ่งปัญหา ดังกล่าวส่งผลให้นักศึกษามีผลการเรียนอยู่ในระดับต่ํากว่ามาตรฐานการประเมินผลการศึกษา เห็นได้จาก ในแต่ละปีการศึกษามีนักศึกษาต้องลาออกระหว่างภาคเรียน ลาออกเพื่อขอกลับเข้าศึกษาใหม่ หรือไม่จบ ตามระยะเวลากําหนด

จากรายงานการวิจัยของ ชฎาภา ประเสริฐทรง, จรินวรรณ แสงหิรัญรัตนา, พรชนา กลัดแก้ว (2564), พบว่านักศึกษาได้รับผลกระทบ จากการเรียนออนไลน์ในรายวิชาทฤษฏี ทำให้เกิดความเครียด โดยนักศึกษาไม่คุ้นเคยกับวิธีการเรียนผ่านการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ สถานที่พักอาศัยไม่เอื้อต่อการเรียนออนไลน์ เช่น สัญญาณอินเตอร์เน็ตที่บ้านไม่แรง สัญญาณหลุดง่าย กลัวส่งงานแล้วอาจารย์ไม่ได้รับ เป็นต้น สอดคล้องกับการศึกษาของ Moawad (2020) ที่กล่าวว่า การเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์ โควิด-19 เป็นเรื่องใหม่ที่ผู้เรียนต้องมีการปรับตัวจนอาจทำให้เกิดความเครียดได้ ความเครียดในการเรียนออนไลน์จะมีมากหรือน้อยอาจเนื่องมาจากปัจจัยในด้านต่างๆ บุคคลเกิดความเครียดร่างกายอาจจะเกิดความไม่สมดุลย์ของระบบฮอร์โมน ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย ทำให้ระบบการทำงานของร่างกายบกพร่องอาจทำให้เกิดอาการตั้งแต่ ปวดศีรษะ ปวดหลัง ปวดท้อง อ่อนเพลีย หรือเกิดโรคทางกายที่มีสาเหตุมาจากจิตใจ เช่น หน้ามืด เป็นลม ความดันโลหิตสูง ขึ้นผลกระทบต่อด้านจิตใจทำให้ การรับรู้เสื่อมลง และความสามารถในการแก้ปัญหาลดลง ไม่สนใจสิ่งรอบตัว ความจำลดลง สมาธิลดลง ความคิดสับสน ตัดสินใจไม่ได้ แสดงอารมณ์ไม่เหมาะสม โกรธและหงุดหงิดง่าย กลัว นอนไม่หลับ สูญเสียความเชื่อมั่นในความสามารถที่จะจัดการกับชีวิตของตนเอง หากความเครียดนั้นเกิดจากการเรียนออนไลน์ย่อมส่งผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยเช่นกัน

--

--