Olympus OM-4, No other camera measures up to this (1985–1987)

I.Shoot.OM
2 min readJul 15, 2017

--

สวัสดีตอนเย็นๆวันเสาร์ที่อากาศยังคงไม่เย็นเท่าไหร่ ฮ่าๆ ต้องขออภัยท่านผู้อ่านที่สัปดาห์ที่แล้วหายไป พอดีเดินทางไปเที่ยวเชียงรายมา คนน้อยดีเหมือนกัน อากาศค่อนข้างโอเค แต่เดินเยอะมาก และถ่ายรูปมาเยอะมากเช่นกัน 55 แล้วท่านผู้อ่านไปเที่ยวไหนกันมาบ้าง มาแชร์กันได้นะ

อ่ะ เข้าเรื่องๆ เมื่อสัปดาห์ก่อนนู้นเราได้พูดถึงกล้อง OM-3 กันไปแล้ว ซึ่งถ้า OM-1 มี OM-2 ฉันใด… OM-3 ก็ต้องมี

ผ่ามพ๊ามมม!!!

กล้อง Olympus OM-4 สุดหล่อสีดำ ในรูปมี Grip ด้วยนะ

Olympus OM-4

ฉันนั้น

ก่อนอื่นขอกลับมาทวนก่อนว่ากล้อง OM เลขตัวเดียวหรือเป็นกล้องสำหรับ Professional ของ Olympus เนี่ยแบ่งเป็นสองสาย คือสาย Mechanic กับ Electronic ซึ่งรุ่นเลขคี่จะเป็น Mechanic อย่าง OM-1 และ OM-3 ส่วนรุ่นเลขคู่อย่าง OM-2 จะเป็น Electronic

OM-4 ก็เช่นกัน

เรียกได้ว่า OM-4 นั้นถูกผลิตเพื่อมาแทนที่ OM-2n ก็ว่าได้ ซึ่งกล้องตัวนี้นอกจากจะมีระบบวัดแสงที่แม่นยำเหมือน OM-2n แล้ว เขายังยัดสารพัดสิ่งอย่างที่สุดยอดมากๆเข้ามาไว้รวมกัน อย่างเช่น
- Built-in multi-spot exposure meter หรือการวัดแสงเฉพาะจุดซึ่งรองรับได้ถึง 8 จุดในคราวเดียวกัน!!
- ปรับแต่งค่า Highlight / Shadow หรือส่วนมืดส่วนสว่างแล้วกล้องจะปรับค่า Exposure ให้
- ใช้วัสดุที่ทนกว่า OM-2n ทำให้กลายเป็นกล้องที่เรียกได้ว่า Weatherproof ที่ทนต่อความร้อน อากาศหนาว ฝุ่นทราย น้ำ(น่าจะหมายถึงละอองน้ำ) ร่วมถึงแรงกระแทกได้ แต่ไม่ใช่ Waterproof นะจะ ลงน้ำไปก็พังอยู่ดี…

แค่สองอย่างแรกนี้ก็สุโค่ยไปแล้วใช่ไหมล่ะ!! แถมหน้าจอภายใน Viewfinder ยังเป็น LCD อีกต่างหาก

แต่ไม่ใช่ว่าทุกอย่างจะ perfect เสมอไป

ตัวกล้อง OM-4 เองยังมีปัญหาเรื่องแบตเตอรี่ที่ถูกกล่าวขานกันไว้ว่ากินแบตมากเหลือเกิน และยังกินแบตเรื่อยๆแม้จะปรับความเร็วชัตเตอร์ไปยัง 1/60 หรือปิดกล้องแล้วก็ตาม (แต่อาการกล้องกินแบตนี้ได้ถูกแก้ไขใน OM-4 รุ่นหลังๆ) แถมยังมีบางกรณีที่หน้าจอ LCD เสื่อม (ซึ่งอาการจอเสื่อมเป็นเรื่องปกติของกล้องฟิล์มอยู่แล้ว แต่กรณีนี้เป็น LCD อาจทำให้ส่งผลกระทบมากกว่าปกติ)

ก่อนจะจบบทความไปขอฝากวิธีตรวจเชคกล้อง OM-4 กันซะหน่อย
- เชคฟังก์ชั่นต่างๆของกล้อง ทั้ง Spot, Highlight, Shadow และ Memory โดยเวลาเราส่งไปยังแสงสว่างที่ต่างกัน ค่าจะต้องต่างกัน
- เชคหน้าจอว่าสว่างปกติหรือไม่
- เชคระบบวัดแสงเวลาเราเปลี่ยนค่ารูรับแสงว่าค่า exposure เปลี่ยนตามรึเปล่า
- เชคฟองน้ำกันแสงเข้าว่ากล้องแสงรั่วไหม
- กระจกสะท้อนภาพสะอาดรึเปล่า
- เชควงจรกล้องว่าเป็น OM-4 รุ่นเดิมที่ขึ้นชื่อเรื่องกินแบตหรือไม่ โดยการหมุน switch ไปยัง battery test mode ก็จะได้ยินเสียง “beep” ดัง แสดงว่าแบตยังดีอยู่ ให้รอไปจน 20–30 วิ ถ้าเสียงหายไปแสดงว่าได้วงจรรุ่นใหม่ที่แก้ไขปัญหานี้แล้ว แต่ถ้าเสียงยังดังต่อไปเรื่อยแสดงว่าได้วงจรรุ่นแรกสุดที่ยังไม่ถูกแก้ปัญหานั่นเอง

หวังว่าบทความนี้จะพอเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยกับคนที่สนใจกล้อง OM-4 นะ แล้วเราจะมาเป็นครอบครัว Olympus ด้วยกัน :)

ปล. เราก็ยังไม่มี OM-4 นะเออ… งบไม่มี 555

สเปคกล้อง OM-4

ผลิตโดย: Olympus Optical Co., Ltd
ชนิดของกล้อง: SLR
เม้าท์กล้อง: Olympus OM
ขนาดฟิล์มที่ใช้: 135 film (35mm)
ระบบโฟกัส: Manual Focus
ระบบปรับรูรับแสง: Manual
ระบบวัดแสงอัตโนมัติ: Yes
ความเร็วชัตเตอร์: 1 to 1/2000s; B (Bulb)
ขนาด (กว้าง x ยาว x สูง): 136 x 84 x 50mm
น้ำหนัก: 540g
แบตเตอรี่: 1.5V จำนวน 2 ก้อน (SR44 หรือ LR44)
การวัดแสง: Center-weighted, Average light measurement, Spot measurement (Multi spot, highlight and shadow-based methods)
ความไวแสงของฟิล์ม: 6–3200
ฐานเสียบแฟลช: ติดกับตัวกล้อง
ช่องมองภาพ: LCD multi-mode
การขึ้นฟิล์ม: Manual

โปสเตอร์โฆษณา OM-4

ติดตามบทความตอนอื่นๆได้ที่ “สา-ระ-บาน”

References
The Camera Site
Olympus OM-4
Olympus OM4-Thinking about it

Follow me
Facebook
Twitter
Instagram

--

--

I.Shoot.OM

“Just grab a camera and take a shot” “แค่หยิบกล้องและออกไปแชะรูปซักใบ” มือใหม่กล้องฟิล์มผู้ชื่นชอบกล้อง Olympus OM System #IShootOM