รู้จัก Firebase และการเพิ่มเข้าไปในโปรเจค Android

Jirawatee
Firebase Thailand
3 min readJul 3, 2016

--

จากงาน Google I/O 2016 ที่ผ่านมา มีการเปิดตัว Firebase อย่างยิ่งใหญ่ จะเห็นได้ว่า Google นั้นให้ความสำคัญเรื่องของ Firebase มากในงาน ตัว Firebase เองมีผลิตภัณฑ์เพียบ ทั้งแบบเกิดใหม่ และมาจากผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วหลายตัวไปรวมกัน นอกจากนี้นักพัฒนาตัวเทพๆใน Google หลายคน ก็ถูกดึงตัวไปร่วมทีม Firebase ด้วยเช่นกัน ดูท่าทางแล้วอนาคตของ Firebase สดใส รุ่งโพธิ์ทอง เอ้ย สดใสแน่นอน

มาในฝั่งนักพัฒนากันบ้าง นาทีนี้ใครยังไม่รู้จัก ยังไม่เคยลอง ถือว่า Out มาก อย่างที่บอกผลิตภัณฑ์ของ Firebase นั้นเยอะจริง ดูสรุปจากรูปด้านล่างนี่สิ

Firebase Features

เรียกได้ว่าเครื่องมือทำมาหากินของนักพัฒนามีมาให้เยอะ พร้อมมาก อีกทั้งระบบ Infrastructure เบื่องหลังทั้งหมดก็จัดให้โดย Google ดังนั้นเชื่อถือได้หายห่วง นอกจากนั้นแล้ว Firebase ยังรองรับการพัฒนาจาก 3 platforms ด้วยกันคือ Android, iOS และ Web แต่สำหรับบทความนี้ก็จะมีเฉพาะฝั่ง Android นะครับ (ก็ Blogger เป็น Android Developer)

ก่อนที่เราจะมาดูวิธีการเพิ่ม Firebase เข้าไปในโปรเจค Android เรามารู้จักข้อกำหนดเบื้องต้นกันหน่อยว่ามีอะไรบ้าง

  • รองรับ Android 4.0 (Ice cream Sandwich) เป็นต้นไป
  • รองรับ dependency ของ Google Play Services 11.8.0 เป็นต้นไป
  • พัฒนาด้วย Android Studio ตั้งแต่เวอร์ชัน 3.0.1 เป็นต้นไป

ถ้าพร้อมแล้วก็เริ่มกันเลย

เริ่มต้นไปที่ Firebase Console จากนั้นชีวิตเราจะมีทางเลือก 2 ทางคือ จะ Import โปรเจคเก่าจาก Google project หรือเริ่มชีวิตใหม่กับปุ่ม CREATE NEW PROJECT ซึ่งตัวอย่างนี้ผมจะเริ่มสร้างใหม่ โดยกรอกชื่อโปรเจค และเลือกประเทศ จากนั้นกด CREATE PROJECT

สร้างโปรเจคใน Firebase

ถัดไปก็จะเข้าสู่หน้าแรกของโปรเจค ให้กด Add Firebase to your Android app

หน้าแรกของโปรเจค

จะเจอ ขั้นตอนที่ 1ให้กรอกรายละเอียดของแอพ โดยจะต้องกรอก Package name ของแอพลงไป ส่วน Debug signing certificate SHA-1 จะใส่หรือไม่ก็ได้(Optional)

ขั้นตอนที่ 1 กรอกรายละเอียดของแอพ

หลังจากกรอกชื่อ Package name แล้วกดปุ่ม ADD APP จะไปสู่ ขั้นตอนที่ 2 ซึ่งในขั้นตอนนี้เราจะได้ไฟล์ google-services.json มาให้เรา copy ไฟล์ไปวางในโฟลเดอร์ app ของ Project (เปลี่ยนวิวเป็นแบบ Project เพื่อให้เห็น Directory ทั้งหมด) ใน Android Studio

ขั้นตอนที่ 2 copy ไฟล์ google-services.json ไปไว้ในโฟลเดอร์ app ของโป

เสร็จแล้วกด CONTINUE ก็จะมาถึง ขั้นตอนที่ 3ขั้นตอนนี้เราจะเพิ่ม code เพื่อใช้งาน Google services plugin

  1. build.gradle ใน project-level
buildscript {
dependencies {
// Add this line
classpath 'com.google.gms:google-services:3.2.0'
}
}

2. build.gradle ใน app-level

// Add to the bottom of the file
apply plugin: 'com.google.gms.google-services'

เมื่อเพิ่มเรียบร้อยแล้วก็กด Sync ใน Android Studio ได้เลย ถ้าไม่มี Error มาก็จบ

ขั้นตอนที่ 3 เพิ่ม code ลงไปใน build.gradle เพื่อใช้งาน Google services plugin

สำหรับหน้าขั้นตอนที่ 3 ก็กดปุ่ม FINISH ไป แอพของเราก็จะถูกเพิ่มใน Firebase เรียบร้อยเช่นกัน

เพิ่มแอพเข้าไปใน Firebase เรียบร้อย

เป็นไงครับ ไม่ยากเลยใช่ไหม สิ่งที่ยากที่สุดผมว่ามันอยู่ที่การเริ่มต้นนะ บทความนี้เป็นบทความตั้งต้นของอีกหลายบทความที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่างๆใน Firebase ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ยังไงก็ฝากติดตามกันด้วยนะครับ

--

--

Jirawatee
Firebase Thailand

Technology Evangelist at LINE Thailand / Google Developer Expert in Firebase