Joy Kanyawee
4 min readMay 28, 2019

[#3 MySQL Workbench] สอนการใช้งาน MySQL Workbench 🐬

ขอเรียกน้องค้าบสั้นๆว่า Workbench แล้วกันเนอะ เจ้า Workbench เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการฐานข้อมูล เป็นของทางค่าย MySQL โดย เจ้า Workbench นี้ จะมี 3 ฟีเจอร์หลักๆ ดังนี้

  • SQL Development → เป็นการจัดการ การเชื่อมต่อ(connection) และจัดการตารางฐานข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สร้างตาราง ลบตาราง แก้ไขตาราง และอื่นๆ
  • Data Modeling → เป็นการสร้าง EER Model โดยใช้ตารางที่เรามีอยู่จ้า
  • Server Administration → เป็นการจัดการในส่วนของฝั่ง Admin รวมถึงการ Import/Export SQL

โดยเจ้า Workbench มีประสิทธิภาพค่อนข้างสูงเลย และใช้งานได้รวดเร็ว อีกทั้งยังสามารถออกแบบ Data Model ,EER Model รวมทั้งฟีเจอร์ที่น่าสนใจอื่นๆอีกมากมาย เกริ่นจบแล้ว ไปลองใช้งานกันเลยดีกว่าจ้า

การทำ SQL Development

1.ขั้นแรกให้ทำการติดตั้งโปรแกรมกันก่อนเลย ตาม link ด้านล่างจ้า (อันนี้เราใช้ 6.3.10 แล้วก็เลือกของ Windows เลย)

2.ทำการเปิด package Xampp ขึ้นมา แล้วกด Start 2 ตัว คือ Apache และ MySQL

3.เปิดโปรแกรม workbench ขึ้นมา

ให้ทำการกด เครื่องหมาย ㊉ ตรง MySQL Connections
ตั้งชื่อตรงช่อง Connection Name แล้วกด OK เลย
จะมีกล่องขึ้นมาแบบนี้ เป็นชื่อ connection ที่เราตั้งตะกี้นี้จ้า ให้คลิกเข้าไปเลย
ถ้าขึ้นแบบนี้ให้กด Continue Anyway เลยจ้า
จะได้หน้าตาแบบนี้ขึ้นมานะ

4.กด Create Schema ในวงสีเหลือง แล้วให้ทำตามดังนี้

  1. ตั้งชื่อในช่อง Name
  2. เปลี่ยน Collation เป็น utf8-utf8_general_ci
  3. กด Apply
ถ้าขึ้น alert แบบนี้แสดงว่า มี schema ชื่อ test ไปแล้วให้เปลี่ยนเป็นชื่ออื่น แล้วกด Apply ใหม่
ขึ้นแบบนี้ กด Apply อีกครั้ง
กด finish เลยจ้า

5.ทำการคลิกขวาที่ Tables ในชื่อ Schema ที่เราสร้างไป

กด Create Table เพื่อสร้างตารางใน Schema
  • ให้สร้างตารางชื่อ users ดังภาพเลยจ้า แล้วกด Apply

AI → เป็น Auto Increment คือจะรันเลขให้อัตโนมัติ

ถ้าคลิกตรง id ที่มีกุญแจ ให้ดูตรง Storage อยู่ทิศเยื้องไป45องศาทางขวาค่อนไปทางล่าง ให้คลิกตัว Unsigned เพิ่มไปด้วย เป็นการบอกว่าให้เลข id เริ่มที่ 1 2 3 4… ไปทางขวา

คลิกขวาที่ users แล้วเลือก Select Rows-Lmit 1000
จะปรากฎดังภาพด้านบนเลยยย
  • ทีนี้ลองมาสนใจเจ้าตัวกรอบสีเหลืองด้านล่างกันหน่อยดีกว่า
  • ทำการซูม ซูม ซูม แบบเพลงของหนูรัตน์
  • ให้พิมพ์ชื่อไปในช่อง Name เลยจ้า ช่อง id ไม่ต้องพิมพ์อะไร เพราะเราตั้งเป็น Auto Increment (AI) คือมันจะรันเลขให้เราโดยอัตโนมัติ ไม่อัตโนมือ
แล้วทำการ กด Apply ด้านขวาล่างประมาณ ตั้งอยู่ทิศเยื้องไป 45 องศาหน่อยๆ
  • โดยถ้าต้องการแก้ไข Tables ไหน ให้คลิกขวาที่ชื่อ Tables นั้น แล้วคลิก Alter Table…
แล้วทำการแก้ไข Tables ตามต้องการ

การทำ Data Modeling

1.คลิกที่ File → New Model เพื่อมายังหน้าในภาพด้านล่าง แล้ว Double Click ที่ Add Diagram

2.คลิกตามลูกศร เเล้วมาปล่อยในหน้าว่างๆตรงกลางเลย จะขึ้น Tables มาให้

3.ทำการสร้าง Tables ทั้ง 2 ดังภาพด้านล่าง

4.คลิกเครื่องมือที่อยู่แถบด้านซ้ายแล้วคลิกจากตารางหนึ่งไปอีกตารางหนึ่งเพื่อเชื่อมเส้นระหว่างตาราง ซึ่งหากเราไม่ได้ทำ Foreign key เอาไว้ โปรแกรมจะช่วยเพิ่ม key ให้เลยอัตโนมัติ โดยในที่นี้ให้เลือก 1:n

5.คลิกขวาที่ Tables ชื่อ portfolio เลือก Copy SQL to Clipboard

6.กลับไปยังหน้าที่มี Schema ที่เราใช้ตอนแรก แล้ว กด Ctrl+T เพื่อสร้างแท็บใหม่ขึ้นมา แล้ววางตัว SQL ที่ Copy มา โดยลบ ‘mydb’. ที่เป็นตัวหนาในโค้ดด้านล่างออก จากนั้นคลิกขวาที่ schema ที่เราสร้างเลือก Set as Default Schema

CREATE TABLE IF NOT EXISTS `mydb`.`portfolio` (
`id` INT UNSIGNED NOT NULL AUTO_INCREMENT,
`title` VARCHAR(255) NULL,
`content_head` VARCHAR(255) NULL,
`content` TEXT NULL,
`head_image` VARCHAR(255) NULL,
`client` VARCHAR(255) NULL,
`url` VARCHAR(255) NULL,
`date` DATETIME NULL,
PRIMARY KEY (`id`))
ENGINE = InnoDB

7.คลิกตรงรูปสายฟ้า เพื่อทำการ Execute

8.จะพบว่ามี Tables ชื่อ portfolio เพิ่มขึ้นมาแล้ว จากนั้นให้เราเลือก Select Rows-Limit 1000

9.ถ้าเสร็จเรียบ(สอง)ร้อยสุดท้ายจะได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นตารางแสดงดังภาพเลยจ้า