Pomodoro Technique คืออะไร? ดีอย่างไร?

Layle Achiraya Klinpipat
3 min readJun 27, 2018

--

Pomodoro Technique คือเทคนิคการจัดการเวลา คิดค้นโดย Francesco Cirillo ชาวอิตาลี ซึ่งคำว่า ‘Pomodoro’ มาจากมาจากคำว่า ‘มะเขือเทศ’ ในภาษาอิตาลี มะเขือเทศนั้นมีรูปร่างคล้ายคลึงกับรูปทรงของนาฬิกาจับเวลาของ Francesco จึงทำให้เกิดเทคนิคชื่อนี้ขึ้นมานั่นเอง

https://kerririchardson.com/wp-content/uploads/2013/01/pomodoro.png

“แล้ว Pomodoro มีประโยชน์อย่างไร แล้วสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?”

วิธีการใช้เทคนิค Pomodoro

การใช้เทคนิค Pomodoro ง่ายนิดเดียว สามารถแบ่งเป็น step ดังกล่าว

  1. วางแผนเลือกหรือตั้ง list สิ่งที่ต้องการจะทำให้เสร็จ
  2. ตั้ง Pomodoro timer (1 หน่วย pomodoro = 25 นาที) — สามารถหาได้ใน Website ต่างๆ,ใน AppStore, และ ใน PlayStore หรือใช้ Timer ปกติตั้งเวลานับถอยหลัง 25 นาทีก็ได้ค่ะ
  3. จับเวลา
  4. เริ่มการทำ task ที่ตั้งไว้ในข้อ 1 อย่างตั้งใจ— ระหว่างนี้ให้ละทิ้งสิ่งรบกวนต่างๆ อย่างเช่นโทรศัพท์มือถือออกไป ไม่ควรทำ multitasking
  5. เมื่อครบ 1 pomodoro (25 นาที) ให้พักสั้นๆประมาณ 5 นาที เพื่อพักผ่อน เข้าห้องน้ำ เล่นมือถือ ฯลฯ
  6. พอทำงานครบ 4 ครั้ง (หรือ 4 ‘pomodoro’) ให้พักเบรกยาวประมาณ 15–30 นาที
  7. วนการทำงานแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนเสร็จ
https://twitter.com/buffer
ขอบคุณรูปภาพ infographic จาก https://blog.sogoodweb.com/Article/Detail/54986

“25 นาทีชีวิตเปลี่ยน”

ผลลัพธ์จากการใช้เทคนิค Pomodoro

  1. จากการที่ได้พักบ่อยๆ ทำให้รู้สึกกระปรี้กะเปร่า มีแรงมากขึ้น สดชื่นขึ้น ไม่เหนื่อยหล้าจากการทำงาน
  2. สามารถแบ่งการทำงานเป็นงานชิ้นย่อยๆ ชิ้นเล็กๆ ทำให้ไม่หลุดโฟกัสจากงาน
  3. มีสมาธิมากขึ้น จากการที่ละทิ้งสิ่งรบกวนต่างๆและโฟกัสที่งาน
  4. ทำให้งานเสร็จเร็วขึ้น เนื่องจากมีสมาธิ ไม่วอกแวก
  5. สรุปแล้วการใช้เทคนิค Pomodoro ทำให้การจัดการเวลาดีขึ้น และทำงานได้อย่างมีปนะสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจาก brain-flow ที่ดีขึ้น

ข้อเสียของ Pomodoro

Pomodoro Technique ไม่ได้มีแค่ข้อดีอย่างเดียว แต่ข้อเสียของ Pomodoro มีดังนี้

  1. การจำกัดเวลาอาจทำให้กดดัน ซึ่งอาจจะทำให้กังวลเรื่องเวลาจนทำให้หลุดโฟกัสจากงาน
  2. บาง task อาจจะใช้เวลานานกว่า 25 นาที — ทำให้คิดว่าเวลาการทำงานไม่พอ
  3. เมื่อพักเสร็จอาจจะลืมสิ่งที่ได้ทำไว้ ทำให้เกิด discontinuity หรือความไม่ต่อเนื่องในการทำงาน
  4. เทคนิคนี้ไม่เวิร์คกับการทำงานที่มีการ interrupt บ่อยๆ

ทั้งนี้ทั้งนั้น Pomodoro Technique เป็นเทคนิคอย่างหนึ่งที่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้อย่างน่าเหลือเชื่อ เป็นเทคนิคที่สามารถป้องกัน office syndrome หรือการนั่งติดหน้าจอจนเกินไป แต่ก็ไม่ได้เวิร์คสำหรับทุกคนเสมอไป เราต้องลองใช้เทคนิคต่างๆแล้วหาเทคนิคการทำงานดีที่สุดสำหรับการทำงานของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขอบคุณค่าาา :)))

ข้อมูลอ้างอิง สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก:

--

--