Syntopical Reading เทคนิคการอ่านเพื่อเรียนรู้ Skill ใหม่แบบติดสปีด!

Kamin Phakdurong
Product Mixtape
Published in
3 min readFeb 2, 2023

หลายครั้งมักจะมีคนถามว่า อยากเรียนเรื่อง Data อยากเริ่มทำเกม อยากเปลี่ยนสายไปเป็น Designer etc.

จะเริ่มยังไงดี ควรเรียนคอร์สไหน ควรอ่านเล่มไหน…วันนี้มีคำตอบ!

เอาหล่ะ ผมจะมาเล่าถึง Concept อันนึงที่ผมว่าเป็นประโยชน์มาก ๆ โดยเฉพาะเวลาเริ่มเรียนรู้ในหัวข้อใหม่ ๆ ที่เราอาจยังไม่คุ้นเคย ส่วนหนึ่งคือมันเป็นสิ่งที่ผมทำมานานแล้วเวิร์คกับตัวเองมาก ๆ จนก็นึกว่าเป็นเรื่องปกติ แต่เพิ่งจะได้ไปเห็นคำนี้มา ปรากฏว่า อ่าวเห้ย มันมีชื่อเรียกกับเค้าด้วย!

แท่นแทนแท๊น Concept ที่ว่ามีชื่อว่า…Syntopical Reading นั่นเอง!

Syntopical Reading คืออะไร?

Syntopical Reading คือวิธีในการอ่านหนังสือแบบหนึ่ง โดยไอเดียคืออ่านจากหลาย ๆ เล่ม หลาย ๆ Source ภายใต้หัวข้อเดียวกัน (หรืออะไรที่ใกล้ ๆ กัน) เพื่อ Formulate ความรู้ และไอเดียของตัวเองขึ้นมาในเวลาอันรวดเร็ว‍

เช่น สมมติ เราอยากเรียนรู้เกี่ยวกับการตลาด แทนที่เราจะอ่านหนังสือ Marketing ปรื๊ดเดียว 5 เล่มจากนักเขียน 1 คนเดียอย่าง Seth Godin ก็ให้ไปอ่าน 5 เล่มจากนักเขียน 5 แบบ 5 สไตล์ เพื่อให้ไม่ซ้ำกันแทน จะได้เทียบกัน‍

ซึ่งสุดท้ายมันจะทำให้เราเห็น Pattern บางอย่างที่นักคิดนักเขียนหลายคนเขาแชร์กัน ในขณะที่บางมุม บางความเห็น บางไอเดีย ก็อาจจะ Contrast กันบ้าง ซึ่งความสวยงามมันคือการที่เราจะเริ่มค่อย ๆ กลั่นรวมกับประสบการณ์ส่วนตัวของเรา อาจจะ Pick and Choose จนตกตระกอนกลายเป็นมุมมองของเราเอง หรือถ้าเรามือใหม่จริง ๆ ก็อาจจะลองหยิบไอเดียต่าง ๆ อย่างละนิดอย่างละหน่อย ไปทดลองดูว่าอันไหนเวิร์ค (หรือไม่เวิร์ค) กับเราก็ได้

จะเริ่ม Syntopical Reading ทำยังไง?

เอาหล่ะ ทีนี้เริ่มยังไงดี?

1. ค้นคว้าหา List (หนังสือ หรือ Source ที่เราจะค้นคว้า)

วิธีที่ผมทำง่าย ๆ ก็คือ Search ไปเลย อะไรคือ Must Read สำหรับหัวข้อนั้น ๆ หรือจะถามเพื่อนเอาใน Quora, Facebook, Twitter ก็ได้แล้วแต่ บางทีถ้าอยากได้เร็วนะ เดี๋ยวนี้ถามใน ChatGPT เอาก่อนก็ได้เพื่อความรวดเร็ว

2. ลองดู Outline ของแต่ละเล่มแบบคร่าว ๆ

ส่วนใหญ่ผมจะเอาชื่อหนังสือไป Search เพื่อดู Outline ก่อน จริง ๆ ใน YouTube ก็มีพวกคลิปสรุปหนังสือเยอะแยะ ซึ่งส่วนใหญ่มันจะมี Timestamp ให้ดู เราก็ดูตรงนั้นเป็นสารบัญว่ามันมีหัวข้ออะไรบ้าง แล้วจด ๆ ใส่ Note

แต่ถ้ามีเวลาผมจะจะชอบไปนั่ง Skim หนังสือหลาย ๆ เล่มที่ Kinokuniya สำคัญคือเราควรพยายามดูภาพรวมว่าอันไหนเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับสิ่งที่เราต้องการจะเรียนรู้ โดยเฉพาะถ้ามันเป็นเรื่องใหม่สำหรับเราจริง ๆ ตรงนี้อาจจะยังงง ๆ แยกไม่ออกว่าอันไหนเกี่ยว อันไหมไม่เกี่ยว อันไหนสำคัญ อันไหนไม่สำคัญ เอาเป็นว่า ถ้าเจอ Terminology (คำศัพท์เฉพาะ) ที่มันโผล่ขึ้นมาบ่อย แต่เราไม่รู้ว่าคืออะไร ก็ให้ลองจด ๆ พอเปิดอ่านไปซัก 2–3 เล่ม จะพบว่านักเขียนบางคนใช้คำเหมือนกันบ้าง ไม่เหมือนกันบ้าง ซึ่งมันจะทำให้เราเริ่มคุ้นมากขึ้น‍

ใครไม่คุ้นกับ Process นี้ให้พยายามใจเย็นและมีสติ โดยเฉพาะถ้าเป็นหัวข้อที่เราไม่รู้ เราอาจจะเจอคำศัพท์ใหม่ที่เราไม่รู้เต็มไปหมด เอ๊ะ ในเรื่อง DevOps เจ้า Orchestration แปลว่าอะไรนะ หรือใน Project Management เอ๊ะ Scrum คืออะไรนะ ตรงนี้ก็ค่อย ๆ สะสมไป ใจเย็น ๆ ให้เวลาสมองได้ค่อย ๆ ย่อยหน่อย ซักวันสองวัน แล้วเดี๋ยวมันจะดีขึ้น เราเป็นกำลังใจให้ สุดท้าย เอาให้พอที่จะ Skim Outline แล้วมันรู้เรื่อง

3. จด!

พอพูดถึงตรงนี้ก็เลยนึกขึ้นมาได้ว่า พอเรียนรู้คำใหม่อะไรก็ช่วยจดด้วย เข้าใจไหมนักเรียน! จดเป็นภาษาตัวเอง เอาแบบเป็นภาพกว้างในเชิง Concept ของคำนั้น ๆ ไม่ต้องเป็น Paragraph ไม่ต้องยืด แต่เอาแบบกลับมาแล้วช่วยให้จำได้ และเป็นภาษาเราเอง

และถ้าคุณเป็นคนโคตรขยัน ผมเคยไปอ่านมา หลายคนจะแนะนำว่าให้เขียนคำถามที่ปิ๊งขึ้นขณะที่เรา Skim หนังสือด้วยตรงข้าง ๆ สมุดโน้ต หรืออย่างของผมก็จะหยิบมือถือขึ้นมาจดใน Apple Notes ตอนยืนอ่านที่ Kinokuniya แต่ถ้าตอนไหนอยู่บ้านนี่ก็ชิว พิมพ์สบายเลย เพราะส่วนใหญ่คือผมจะเปิดคอมไปด้วยอยู่แล้วเวลานั่ง Research อะไรพวกนี้

แต่เอาจริง ๆ ผมว่า ณ จุด ๆ นี้ เรายังไม่ต้องไป Advanced มากก็ได้ สมมติเราไปเจอ Concept ไหนที่เรางงงวย และเต็มไปด้วยคำถาม ก็ให้ Take มันเป็น Black Box ไปก่อน เอาให้เห็นภาพรวมของ Topic นั้นก็พอ ว่าตกลงส่วนใหญ่มันมีอะไรบ้างที่หนังสือแต่ละเล่มเขาพูดถึงกัน และแต่ละก้อนมันเชื่อมโยงกันยังไง (อารมณ์แบบสร้าง Mental Model ขึ้นมาในหัวก่อน)

4. อย่าคิดมาก เลือกแล้วก็อ่านซะ!

ถึงจุดนี้แล้วผมว่าไม่ต้องไปคิดเยอะ เลือก ๆ มาก่อน 2–3 เล่มที่ดูถูกโฉลกกับเรา และก็เริ่มอ่านไป

จริง ๆ ถ้าได้เริ่มอ่าน + วิเคราะห์ Outline มาประมาณนึงผมว่าการเริ่มอ่านใน Stage นี้ไม่น่าจะยากมากแล้ว เพราะเราพอเห็นภาพรวมคร่าว ๆ + รู้ว่าจะ Expect อะไร

สำหรับใครที่ไม่ใช่สายอ่าน ผมจะแนะนำให้ Allocate เวลาวันละเท่าไรก็ได้ แต่จะแนะให้ Fix เวลาไปเลยก็ดี และถ้า Fix สถานที่ด้วยก็ดีมาก เพราะจะช่วยให้คล่องปรื๊ดมากขึ้น สำหรับบางคนก็คือใช้วิธีพกหนังสือไปด้วยทุกที่ อันนี้ก็เวิร์คเหมือนกันเพราะจะช่วยให้เราหยิบขึ้นมาอ่านแทนที่จะหยิบมือถือขึ้นมาแทนเวลาเบื่อ ๆ

5. อย่าลืมจดด้วย ย้ำอีกที!

อีกอย่างที่อยากแนะนำคือผมจะมักจะเปิด Note-taking App ไว้ด้วยข้าง ๆ เพื่อจะได้จดไอเดียสำคัญเป็น Bullet ๆ ขณะอ่าน จดเติมเข้าไปใน Outline ที่เราเคยโน้ตตอน Research ว่าจะซื้อหนังสือเล่มไหนก็ได้ ซึ่งการจดจะช่วยกันลืม หรือถ้าลืมก็ Recall กลับมาได้เร็วขึ้น

อ้อ ผมมักจะ Note เลขหน้าไว้ด้วยประมาณนึง โดยเฉพาะจุดไหนที่คิดว่าเดี๋ยวน่าจะต้องกลับมาอ่านเพื่อเก็บ Detail ภายหลัง

6. Mindset: การอ่านแบบ Syntopical Reading เหมือนการเปิด Map ในเกม

อีกจุดนึงที่ผมว่ามันต่าง สำหรับการอ่านแบบ Syntopical Reading เมื่อเทียบกับการอ่านเพื่อจุดประสงค์อื่นก็คือเรื่อง Mindset เนี่ยแหละ ถ้าใครเคยเล่นเกมวางแผนพวกแนว RTS (Real-time Strategy) ในเกมส่วนใหญ่มันจะต้องเดินเปิด Map ใช่ไหม อันนี้เหมือนกัน เวลาเราเริ่มเรียนรู้หัวข้อใหม่ เราอาจจะยังมือแปดด้าน มองไม่เห็นทาง เพราะ Map ยังไม่ได้ถูกเปิดออก หน้าที่หลักของเราก็คือคอยดูว่าตอนนี้เรา Explore พื้นที่ไหนไปแล้วบ้าง ที่ได้เปิดไปแล้วมันมีอะไรบ้าง ถ้าตรงไหนเรารู้แล้ว ก็อาจจะลองดูสิว่านักเขียนอีกคนคิดเหมือนกันรึเปล่า หรือจะอ่านข้าม ๆ ไปเลยถ้ามันซ้ำ ตรงนี้ก็ขึ้นอยู่ดุลพินิจ แต่จะเห็นได้ว่ามันเป็นการมองการอ่านเหมือนการต่อภาพ Jigsaw‍

จุดนึงที่มักจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติคือพออ่าน ๆ ไป เรามักจะดำดิ่งลึกลงไปในดีเทลที่อาจจะไม่ได้จำเป็นมาก ณ ขณะนั้น คือไม่ได้บอกว่าการดื่มด่ำและให้เวลากับตัวหนังสือทุกตัวมันเป็นสิ่งไม่ดีนะ แต่ Syntopical Reading จะมุ่งเน้นไปที่การพยายามเปิด Map ให้ครบก่อน และก็เทียบแผนที่เวอร์ชั่นต่าง ๆ จากหนังสือหลาย ๆ เล่มว่าเหมือนหรือต่างกันยังไง มากกว่า

7. ประติดประต่อ (Formulate/Triangulate) สิ่งที่เรียนรู้ให้กลายเป็นมุมมองของตนเอง

ผมว่าตรงนี้สำคัญสุด การกลั่น (Articulate) ให้สิ่งที่เราได้อ่าน + จด + เปรียบเทียบออกมาเป็นองค์ความรู้ของเราเองจริง ๆ เพราะแต่ละคนก็มีประสบการณ์/มุมมองไม่เหมือนกัน ตรงนี้แหละที่สมองของเราจะค่อย ๆ ทำงาน และเชื่อมมันจนเกิดเป็น Opinion ของเราเองว่า เห้ย ที่กูรูคนนั้นพูดมันก็ไม่ได้จริงเสมอไปนะ หรือแบบอย่างในเคสที่ข้าเจอ ข้าพบว่าทำแบบนี้ดีกว่า อะไรก็ว่าไป ซึ่งสุดท้าย ยิ่งถ้าเราได้ Share + Discuss กับเพื่อนว่าเราคิดเห็นยังไงอีกก็ยิ่งมันส์ใหญ่

สุดท้ายนี้ แล้วการอ่านแบบอื่นหล่ะ?

ผมมองว่า Syntopical Reading เป็นแค่ “Tool” อันนึงเฉย ๆ คือมันอยู่กับกับ Objective ในการอ่านแต่ละครั้ง หลายครั้งเราอาจจะอยากอ่านเพื่อลงลึกไปถึง Detail ของแต่ละเล่ม ไม่ได้เอาแค่ Concept กว้าง ๆ หลายครั้งเราอ่านเพื่อความดื่มด่ำ เพื่อความบันเทิง หรือการอ่านบางครั้งของผมก่อนนอน ก็เป็นแค่การอ่านเพื่อให้เพลินแล้วหลับไป โดยที่ไม่ได้แคร์ว่าจะจำอะไรได้ไหมด้วยซ้ำ แล้วการอ่านของเพื่อน ๆ หล่ะครับ เป็นอย่างไร

ก็หวังว่า Concept หรือ Tool ที่เอามาเล่าให้ฟังวันนี้จะมีประโยชน์กับเพื่อน ๆ นะครับ ถ้าเพื่อน ๆ มีอะไรอยากจะแชร์กันก็แนะนำได้เช่นกันครับ

และเหมือนเดิมครับ ถ้าเพื่อน ๆ ชอบก็อย่าลืมกดติดตาม และ Share ให้กับเพื่อน ๆ ที่คิดว่าน่าจะได้ประโยชน์ได้ครับ ขอบคุณมากคร้าบ!

--

--

Kamin Phakdurong
Product Mixtape

Co-founder at LOOK ALIVE Studio (MIT based Startup) and a band member of The Dai Dai (Genie Records)