รีวิว 4 ปีไอทีลาดกระบัง: ว่าด้วยเรื่องการเรียน

Kasidis Chaowvasin
4 min readJul 11, 2020

--

หลังจากดองการเขียนมานาน ยุ่งมาก เพิ่งจะหาเวลาได้มารวมความคิดกับคำพูดตัวเอง โดยจะแบ่งเป็นสองส่วนหลัก ๆ คือเรื่อง การเรียน และกิจกรรม ซึ่งเอาจริง ๆ มันก็เป็นเรื่องที่ผสม ๆ กันไปมานะ แต่ก็ มาลองดูกัน โดย article จะพูดถึงการเรียนก่อน

ก่อนจะเข้าเรื่อง

สิ่งที่ผมเล่าตรงนี้อาจจะไม่เชิงว่าถูก หรือผิดไปเลย จะเน้นเป็นประสบการณ์ที่ผมเจอจริง ๆ มากกว่า (อย่าดราม่าใส่ผม ไม่อาววว) แต่ละคนอาจจะมี ways ในการทำสิ่งต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน บางทีสิ่งที่ผมบอกว่าเลี่ยงนะ อาจจะดีสำหรับคนอื่นก็ได้ อยากให้มอง article นี้เป็นเหมือนการแชร์ประสบการณ์มากกว่า

หลาย ๆ ส่วนใน article นี้จะเป็นเหมือน FAQ ที่คนชอบถามกันด้วย ก็ มีอะไรอยากให้เพิ่ม อัพเดทกันได้นะครับ

พูดถึงการเรียน

เรียนยังไงให้ได้เกรดดี ๆ

คำถามยอดฮิต 55555 ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่า คำว่าเกรดดี (“ดี” as “good” นะ ไม่ใช่ “D”) มันก็ขึ้นอยู่กับคนอีกว่าเท่าไหร่คือดีของตัวเอง

แต่สำหรับผม ผมมองว่าเกรดที่ดี คือมันดีในระดับที่เราก็ยังมีเวลาไปทำอย่างอื่นบ้าง (เช่น กิจกรรม) แล้วเราก็ยังสนุกไปกับการเรียนได้ อันนี้คือ definition ส่วนตัวที่ผมตั้งไว้ ผมจะแบ่งเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ สิ่งที่ดี และ สิ่งที่เลี่ยงได้ก็เลี่ยง

สิ่งที่ดี

  • อ่าน course syllabus!! ใช่ครับ ทำอะไรต้องทำเป็นระบบนะครับ 55555 คือมันเป็นเรื่องที่ simple มาก ทุกวิชา อาจารย์จะพูดถึงเรื่องนี้อยู่แล้ว เราต้องรู้ว่าเราจะเรียนอะไรบ้าง วันไหนบ้าง มันทำให้เราสามารถตามเนื้อหา อ่านล่วงหน้า หรือ focus ถูกจุด (ไม่ใช่ไปหาเอาในหนังสือ 800 หน้า)
  • จัด material ในการเรียนดี ๆ เวลาเรียนเราเรียนกันหลายวิชา ก็จะมีเอกสาร, slide ต่าง ๆ กองเท่าภูเขา การโยน material เหล่านี้กระจายกันมั่วไปหมด ทำให้ยากกับการมาตามหาที่หลัง เพราะฉะนั้น เก็บของเหล่านี้เข้าที่เข้าทางหน่อย ใส่ชื่อไฟล์ให้เข้าใจง่าย ๆ ว่าอันนี้เรียนอะไร วันไหน เอาที่เราเข้าใจง่าย ๆ มันทำให้เราตามเนื้อหาง่ายขึ้นมาก ๆ สำหรับ workflow ของผมคือ อะไรที่เรียนอยู่ จะใส่ GoodNotes ส่วนอะไรที่เรียนจบไปแล้ว จะ Backup ไว้ใน Google Drive เผื่ออยากดูย้อนหลังครับ
อันนี้คือ archieve ของเนื้อหาตลอด 4 ปีครับ ซึ่งจะส่งต่อมาจาก GoodNotes อีกที
  • นั่งหน้าห้อง และตั้งคำถาม ลองนั่งหน้า ๆ ห้อง สบตาอาจารย์ (เบรกอาจารย์เวลาอาจารย์แรพใส่ ประจำ) พยายามตอบคำถาม พยายามถาม คิดเสมอว่าเราจ่ายค่าเทอมมา ต้องถามให้คุ้ม อย่าไปอาย ถ้าทำตรงนี้ได้ มันจะลดภาระที่เราต้องไปอ่านสอบเยอะมาก ๆ เลย

    อีกทั้ง หลาย ๆ ทีการตั้งคำถามทำให้เราเจออะไรแปลก ๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ในเนื้อหา เป็นที่มาของ meme ฮา ๆ เช่น …..
เด็ก lab network ก็คือ กรีดร้อง (ขอบคุณภาพจากเพื่อน Phanupong Rangsanseri)
  • มองเรื่องเรียนเป็นเรื่องสนุก ข้อนี้จะง่ายหน่อยสำหรับคนที่เรียนตรงสายกับที่ตัวเองชอบ ก็คือแทนที่เราจะแบบ อ่านสอบเพราะมันต้องสอบ เรามองเป็น ก็อ่านสอบเพราะอยากรู้ เหมือนเวลาเราอยากรู้เรื่องใด ๆ สักอย่าง เราจะขุดมันลึกขึ้น เพราะเราอยากรู้ไง เราจะหาข้อมูลที่อยู่นอกตำรา ขุดลึกเกินขอบเขตของวิชาไปเลย เหมือนเวลาเราดูซีรีส์อ่ะ พอเราติดแล้วมันจะอยากดูต่อ เผลอแปป ๆ จบทั้ง season ละ
มีความสุขมากกกกกก
  • ลองเรียน textbook ภาษาอังกฤษ ไม่รู้ทำไม หนังสือเรียนที่เป็นภาษาไทยชอบ เล่นคำเยอะ นิยามเยอะ วนไปวนมา ต่างจาก textbook ภาษาอังกฤษ ภาษาเขาง่ายกว่า ตรงประเด็น และยกตัวอย่างชัดเจนกว่ามาก ๆ ซึ่งภายในคณะ ส่วนมากวิชาเรียนก็จะแจก handout เป็นภาษาอังกฤษ แม้จะไม่ใช้ภาค inter ก็ตาม
  • รู้ว่าเรียนเรื่องนั้น ๆ ไปทำไม ข้อนี้สำคัญมาก (ก ไก่ ล้านตัวต่อท้าย) เคยเรียนสมการคณิตศาสตร์แบบยัดแต่สูตรป่ะ มันน่าเบื่อนะ แบบ เรียนแคลไปทำไม ทำไมต้องดิฟ ทำไมต้องอินทิเกรต รู้แต่ว่าแก้สมการได้ แล้วสรุปแก้แล้วไปไหน ใช้ทำอะไรได้?

    สำหรับเรา ซึ่งเป็นคนกากเลขมาก (เกรด 1.5 เลขทุกตัวมาแทบทุกเทอมตอนมัธยมปลาย ให้เพื่อนสนิทสองคนติวยังไม่ดีขึ้นมา) แล้วก็ต้องมาเจอแคลอีกตอนมหาลัย แต่ดีที่ในคณะอาจารย์สอนค่อนข้างดี ให้ตัวอย่างการใช้งานจริงเยอะ เราเลยจับภาพได้ ส่งผลให้มันเห็นภาพรวม จับต้นชนปลายได้ดีขึ้น
เว็บ mathsisfun.com เป็นเว็บที่เข้าบ่อยมาก เพราะอธิบายได้เห็นภาพสุด ๆ
  • ทำสรุปเรื่อย ๆ อ่านสรุปของคนอื่นมันก็ได้ เอาไว้เก็บรายละเอียด แต่หลัก ๆ คือเราควรทำสรุปของตัวเอง โดยทำไปเรื่อย ๆ พอเรียนเรื่องใหม่ก็ทำเพิ่มลงไป การทำสรุปทำให้เราเข้าใจตัวเนื้อหาเป็นเรื่อง ๆ และความสัมพันธ์ของแต่ละอย่าง มากกว่าแค่การจำไปสอบ แถมเราก็ไม่ต้องไปอดนอนก่อนสอบนั่งอ่านทุกอย่างอีกด้วย
Wireless is love ❤️
  • เปิดคอร์สติวเพื่อน + ให้เพื่อนติวเรา การที่เราสอนเพื่อน ทำให้เราพยายามเข้าใจสิ่งที่เราสรุปไปแล้ว แปลงเป็นภาษาคนที่คนอื่นเข้าใจได้ง่าย ๆ แล้วเพื่อนยังสามารถช่วยเราแก้ในสิ่งที่เราเข้าใจผิดได้ด้วย ถือเป็นการ update ข้อมูลให้ตรงกัน

สิ่งที่เลี่ยงได้ก็เลี่ยง

ที่ผมไม่บอกว่านี่เป็นสิ่งที่ไม่ดี เพราะจริง ๆ แล้วมันก็ต้องมีบ้างที่เราไม่ไหวแล้วจะเทอะไรแบบนั้น (นี่ก็เท ประจำ) เลยพูดแบบกลาง ๆ ดีกว่าว่า ถ้าเป็นไปได้ ก็เลี่ยงครับ 55555

  • เริ่มมาอ่านสอบตอนใกล้ ๆ สอบ + One Night Miracle มันเครียดครับ เอาจริง ๆ ส่วนตัวเป็นคนจำอะไรไม่ได้ถ้าเครียดอยู่ ถ้าทำได้ คิดว่าวางแผนอ่านไปเรื่อย ๆ ตั้งแต่เนิ่น ๆ จะดีกว่า (แต่ก็มีเคยทำบ้างนะ แบบ ไม่ไหวจริง ๆ แต่ไม่บ่อยครับ ครั้งสองครั้ง)

เรียนในสิ่งที่ชอบ + รัก ดีจริงไหม

ส่วนตัวคิดว่าจริงครับ แต่เพิ่มไปข้อนึงคือ มันต้องมีงานรองรับด้วย

ซึ่งระหว่างเรียน ก็ต้องเก็บ Port ตัวเองไว้บ้าง แข่งนู้นนี่ ประกวดต่าง ๆ ทำประวัติตัวเองดี ๆ เก็บประสบการณ์เยอะ ๆ ลองฝึกงานหน่อย เพราะความรู้ในห้องเรียนมันคือ basic เลย แต่งานจริงมันคนละเรื่อง การฝึกงาน การไปแข่ง ทำให้เราได้ส่วนที่ห้องเรียนไม่ได้สอน ซึ่งเป็นสิ่งที่งานต้องการ

เพื่อนดีก็สำคัญ

.อย่า เพิ่ง ดราม่า.

ไม่ได้แบ่งแยกอะไรอย่างนั้น ไม่ได้ให้คบเพื่อนหวังผลประโยชน์ แต่หมายถึงว่า เราควรรู้ว่าเพื่อนคนไหนพาเราเรียนได้ ไม่ทำให้เราหลุดประเด็น พอเราจะหลุดเล่น เพื่อนเหล่านี้จะตบเรากลับเข้าที่ให้ เป็นกลุ่มที่เราถามเรื่องที่เราไม่เข้าใจได้

พอเราไม่หลุดประเด็น เราจะเรียนได้ดี แล้วก็ดูเพื่อนข้าง ๆ เราด้วยว่าหลุดไหม ถ้าหลุดก็ตบกลับให้สักนิด รอดไปด้วยกัน 😘

ทำไมเลือกแขนงที่เลือก

ในคณะจะมีแขนงให้เลือกประมาณช่วงปีสอง ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับหลักสูตรที่เราเรียน อย่างนี่ก็จะมี 4 แขนงให้เลือก Software Engineering, Network, Multi, และ Business Intelligence ซึ่งก็มีจุดแข็งต่างกัน แต่นี่เลือก Network

สาเหตุที่เลือก Network เพราะรู้สึกว่ามันเป็นสิ่งที่น่าสนใจ คือคิดสภาพว่าเรากดโพส Facebook เบา ๆ 1 ที ข้อความมันไปกระจายอยู่ เข้าถึงได้ทั่วโลกได้ยังไง มันน่าสนใจมากว่าข้อมูลมันวิ่งข้ามโลกในหลักวินาทีได้ยังไง และมันมี Hardware ให้จับด้วย (คณะทำ partner กับ Cisco ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ราคาสูงอยู่ ถ้ามีโอกาสได้จับก็อยากจับ อะไรแบบนั้น 55555)

อีกข้อนึงคือ ชอบอาจารย์ที่สอนในแขนงมาก ไอดอลเลย ตลกมาก ๆ สอนได้น่าติดตาม ชอบ encourage ในนักศึกษาลองเล่นนู่นนี่ (นี่เล่นจนพัง อาจารย์ต้องมาแก้ให้ 😂) ชอบให้คำถามแปลก ๆ กลับไปนั่งคิดตลอด ชอบมานั่งคุยกับนักศึกษา เวลานักศึกษาถามอะไรแบบหลุดโลกเขาก็แบบ “เออ ไหนลองทำแบบที่คุณคิดสิ ผมก็ไม่มั่นใจ” แล้วเขาก็นั่งดู นั่งลุ้นไปกับนักศึกษานั่นแหละ ชอบมาก น่ารักก ❤️

เมื่อ router คุณไม่ทำงาน จนคุณต้องพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อย่าหาทำ

แต่ตอนนี้เป็น Dev นะ code ทั้งวันนะ 55555 แต่การรู้ network ก็มีประโยชน์กับการเขียนโปรแกรมเยอะเหมือนกัน อีกทั้งจริง ๆ แล้ว การเลือกแขนงในคณะก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่รู้เรื่องอื่น ๆ เลย แค่เราเลือกว่าอยากโฟกัสอะไรเฉย ๆ

ถ้าอยากเรียนรู้ลงลึกในด้านใดเป็นพิเศษ ทำยังไง

มีหลายทางนะ แต่จะพูดถึงสามทาง

  • พยายามฝึก หรือติดต่ออาจารย์ที่เขาดูเรื่องนี้โดยเฉพาะครับ ในคณะจะมี lab ต่าง ๆ ซึ่งก็จะโฟกัสให้หัวข้อต่าง ๆ กัน ใช่ Machine Learning, Data, Microprocessor, Multimedia, Network, Cyber Security , และอื่น ๆ คือเยอะมาก เราสามารถลองคุยกับอาจารย์ได้ว่า สนใจตรงนี้ ซึ่งมันอาจจะนอกเหนือเนื้อหา อาจารย์เขาจะได้ให้ resource ได้ถูกจุดครับ

    อย่างผมก็จะเป็น Software Engineer + Microprocessor นิด ๆ ก็จะมี lab ที่รองรับพวกนี้เหมือนกัน แต่เราต้องสนใจจริง ๆ นะ
  • ทำกิจกรรม ฟังไม่ผิดครับ เรื่องจริง เพราะกิจกรรมคณะ หรือมหาลัย ด้วยความเป็นไอที เราจะชอบไปมีส่วนร่วมกับตัวกิจกรรมที่มีการนำ technology มาใช้ ซึ่งคนทำก็หนีไม่พันนักศึกษานี่แหละ ทั้งเว็บกิจกรรมต่าง ๆ / ระบบที่ใช้ในกิจกรรมค่าย / เนื้อหาการสอนในค่ายวิชาการ คือเยอะจุใจ อยากได้อะไรก็จัดครับ

    ตัวอย่างของระบบที่นักศึกษาในคณะเข้าไปมีส่วนร่วม ก็จะมี กิจกรรม TEDxKMITL, ระบบเกมในค่ายอย่าง IT Camp 14 All Camp, เว็บค่ายอย่าง IT Camp ทุก ๆ ปี ก็เป็นผลงานนักศึกษานะ
ขอบคุณรูปจากบทความเกี่ยวกับตัวระบบ TEDxKMITL เขียนโดย Zartre
  • มีส่วนร่วมกับงานของคณะ คณะนี้ค่อนข้างมีงานเยอะนะที่ขอความร่วมมือจากนักศึกษา (เว็บหลาย ๆ ตัวที่เป็นของคณะ เป็นผลงานนักศึกษานะครับ) ซึ่งมันคืองานจริง เวลาทำมันจะเห็นภาพเลยว่า สิ่งที่เราเรียนมันใช้กับงานได้ตรงส่วนไหนบ้าง แล้วเราจะสามารถลงลึกไปได้เรื่อย ๆ ตามที่เราสนใจเลย
เว็บคณะเอง ก็เป็นความร่วมมือของนักศึกษาครับ https://www.it.kmitl.ac.th/

อาจารย์ดุไหม

ให้ภาพอธิบายครับ

เมื่ออาจารย์ Pace สวยกว่าคุณ

ก็จะมีประมาณนี้ครับสำหรับเรื่องการเรียน ถ้าอยากให้เพิ่มตรงไหนสามารถแนะนำได้นะครับ ส่วน part ต่อไปจะพูดถึงกิจกรรม ซึ่งยังใช้กฎเดิมนะ คือ

สิ่งที่ผมเล่าตรงนี้อาจจะไม่เชิงว่าถูก หรือผิดไปเลย จะเน้นเป็นประสบการณ์ที่ผมเจอจริง ๆ มากกว่า (อย่าดราม่าใส่ผม ไม่อาววว) แต่ละคนอาจจะมี ways ในการทำสิ่งต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน บางทีสิ่งที่ผมบอกว่าเลี่ยงนะ อาจจะดีสำหรับคนอื่นก็ได้ อยากให้มอง article นี้เป็นเหมือนการแชร์ประสบการณ์มากกว่า

copy ข้อความข้างบนมาทั้งหมดเลย ตามนี้นะครับ 555555

ไปตามกันต่อได้ที่นี่เลย

--

--

Kasidis Chaowvasin

Full-Stack Web Developer | Photographer | ITKMITL14 | Thriller Series Lover