Design Thinking class 05

Kissanapong Sanguanprang
2 min readSep 21, 2018

--

Define | Ideate

เห้ย เราสนุกกับการเป็นคนไร้สาระได้ด้วยหรอ!?
นี่คือคำแรกที่เราคิดกับตัวเองหลังเรียนคลาสนี้จบ

เราสนุกกับคลาสนี้มากๆ รู้สึกเหมือนได้กลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง รู้สึกว่า เราไม่ต้องคอยระแวงสายตา หรือคำดูถูกคนอื่นเวลาเราจะพูดอะไรออกไป หรือจะสื่ออะไรออกไป เหมือนกับเวลาเราเป็นเด็กเลย เราเคยเป็นเด็กแบบนี้แหละมีอะไรก็จะพูดๆออกไปเยอะๆ แล้วก็จะโดนตอกกลับมาบ่อยๆว่าใช้ไม่ได้ หรือ ไม่ก็พูดไปเรื่อยเปื่อยบ้างไม่มีแก่นสารใดๆ จนเราเลิกที่จะพูดหรือเสนอความคิดออกไป ตั้งแต่ตอนไหนก็จำความไม่ได้แล้ว เหมือนเด็กคนนั้นตายจากเราไปแล้ว ตอนแรกที่อาจารย์โฆษณาคอร์สนี้ว่า เค้าจะเป็นคนพาเด็กคนนั้นกลับมา ผมดีใจมากนะเอาตรงๆ ผมอยากให้เด็กคนนั้นกลับมาตลอด แต่ไม่อยากให้กลับมาในสภาพแวดล้อมแบบนี้ ไม่อยากโดนดูถูกอีก แต่คลาสนี้เริ่มทำให้เห็นแสงขึ้นมาเล็กๆ เพราะเราเริ่มจะกลับไปมีความคิดแบบเด็กๆ(ในแง่ ความกล้าที่จะแสดงความคิดเห็น )เหมือนแต่ก่อนแล้ว เราชอบคลาสนี้มากที่สุดจากที่ผ่านมาเลย

“girl covering her face with both hands” by Caleb Woods on Unsplash

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในคลาสนี้มันมีเยอะมากเลยนะ
เริ่มจากได้รู้ว่ากลุ่มอื่นๆ มีวิธีการคุยกัน และสัมภาษณ์อาจารย์กันอย่างไร เราฟังๆไปก็เริ่มเห็นแพทเทิร์นปัญหาของอาจารย์ออกมาเรื่อยๆ

ในคลาสนี้เราได้เรียนรู้เครื่องมือๆหนึ่งมันเรียกว่า empathy map เป็น framework นึงที่ให้เราเอามาใช้จัดการกับข้อมูลที่เราเพิ่งได้จากการทำ empathy work มา ส่วนตัวก็ค่อนข้างชอบวิธีนี้นะ เป็นการ groupping ข้อมูลที่เรามีแล้วสะกัดออกมาเหลือแค่ประโยคๆเดียว( problem statement ) ว่าจริงๆแล้วปัญหาเค้า “น่าจะ” เป็นอะไร ที่ใช้คำว่าน่าจะเพราะมันเกิดจากการตีความของเรา พี่ต้องให้เวลาสำหรับกระบวนการนี้น้อยมาก คงเพื่อจะบรีฟเวลาเราให้คิดแล้วทำเลย มากกว่าจะมาคุยกัน ก็ทำให้เริ่มสนุกกับการทำงานที่อยู่ภายใต้ภาวะกดดันแบบนี้เหมือนกัน แบบพี่เต้ย พี่ในกลุ่มเรา(น่าจะเริ่มได้อิทธิพลมาแล้วแหละ5555)

ตามมาด้วยประโยคต่อมาคือ “how might we…” เราจะช่วย…เค้าได้อย่างไร ก็ได้มาจากการสะกัดจากข้อมูลที่เรามีนี่ไม่ใช่การหา solution นะแต่มันเป็นการแตก point ของปัญหาออกมาว่าสรุปแล้วอะ มันมีจุดไหนที่เราสามารถช่วยเค้าได้บ้าง

ต่อมาเป็นเรื่องของการ brainstorm เราชอบเรื่องนี้ค่อนข้างมากในเลคเชอร์วันนี้ เพราะการ brainstorm ส่วนใหญ่ที่เราทำมันไม่เคยทำให้เกิด idea ใหม่ๆได้เลยจริงๆ พี่ต้องก็หัดให้เราได้สร้าง environment ใหม่ขึ้นมามันคือการลองพูด yes and… yes but…. ทั้งสองคำนี้มีฟังก์ชั่นต่างกันนะ คือมันดีทั้งคู่แต่ว่าอยู่ที่จังหวะที่จะใช้มันให้ถูกเวลาแค่นั้นเอง

yes and… เห้ย เจ๋งว่ะ เออ แล้วถ้าเราทำแบบนี้ล่ะ
กับ
yes but… เออ มันก็ดีนะเว้ย แต่กูว่าถ้าทำแบบนี้มันน่าจะเป็นแบบนั้น กูว่าลองเอาแบบนี้ไหม

เด็กจุฬาถูกฝึกมาให้วิพากษย์ ฝึกมาให้โต้แย้งไอเดียที่ตัวเองไม่เห็นด้วย มากกว่าถูกฝึกให้ครีเอทไอเดียเอง คนที่ครีเอทไอเดียไม่จำเป็นต้องเป็นไอเดียที่สุกแล้ว มีคุณภาพเสมอไป ไอเดียสดๆนั่นแหละดี สิ่งที่เราทำเพื่อรักษาไอเดียสดๆนี้ไว้ได้คือ การสร้างตู้เย็นที่เก็บของสดได้นานพอ เหมือนกับ การสร้างบรรยากาศให้เกิดความคิดสร้างสรรค์เพื่อที่จะครีเอทไอเดียออกมา ส่วนใหญ่เวลาเราเสนออะไรก็จะคอยมีคนแย้งเราตลอด จนเราก็ไม่ได้เป็นตัวของตัวเองสุดท้ายก็ต้องยอมคล้อยตามเสียงส่วนมากไป แต่การที่เราพูดว่า เห้ย ไอเดียเจ๋งดีว่ะ ไว้ก่อน ถึงบางทีจะดูเฟค แต่เราก็ทำเพื่อเก็บไอเดียนี้เอาไว้ในตุ็เย็นของเรานั่นเอง

“group of people sitting near round brown wooden table” by Thomas Drouault on Unsplash

เราก็ได้ทำกิจกรรมๆนี้ คือให้เสนอไอเดียอะไรก็ได้ออกมา แบบไม่ต้องมีกรอบเลย ไม่ต้องแคร์ว่าจะเกี่ยวกับหัวข้อไหม เป็นไปได้ เป็นไปไม่ได้ เราเน้น ปริมาณ ที่ออกมาก่อนโดยการทำ yes and… และค่อยตบมันกลับมาสู่ความเป็นจริงภายหลังด้วย ผyes but… ตอนแรกเราก็กลัวๆว่าจะโดนพี่ๆค้านหรือหัวเราะ หรือ ไม่เก๊ทกับสิ่งที่เราเสนอไปไหม แต่ปรากฏว่าทุกคนแม่งไม่ทำให้ไอเดียเราดูแย่อะ คือพอทุกคนชมกลับมาอะ เราแม่งโคตรชื่นใจเลยนะ เราไม่เคยพูดอะไรไปแล้วทุกคนว้าวหรือเห็นด้วยกับเรามากขนาดนี้มาก่อนอะ บางอันเฟค บางอันก็ดูชอบไอเดียเราจริงๆ คือเราปลื้มกับสังคมแบบนี้มากๆอะ โคตรชอบเลยจริงๆ เราเลยครีเอทไอเดียออกมาได้เรื่อยๆเลย เป็นคลาสที่สนุกมาก

มีอีกมากมายที่ได้จากการเรียนรู้ในคลาสนี้นะ สุดท้ายนี้จะไม่บอกตัวเองว่าเราโตขึ้นแล้วนะ แต่จะขอพูดว่า

“ยินดีด้วย นายกลับไปเป็นเด็กได้อีกก้าวนึงแล้วนะ “
ขอบคุณมากๆที่ให้อะไรกับผมมากมายในคลาสนี้ครับ

“child surrounded by plants” by Liana Mikah on Unsplash

--

--

Kissanapong Sanguanprang

faculty of commerce and accountancy Chulalongkorn University