Droidcon SG 2022 Review แบบบ้าน ๆ ตอนที่ 2

Komkrit Kunanusont
3 min readOct 16, 2022

--

สวัสดีครับ มาแล้วสำหรับ Review งาน Droidcon ที่สิงคโปร์ของปี 2022 ในวันที่ 2 ถ้าใครยังไม่เคยได้อ่านตอนที่ 1 สามารถเข้าไปอ่านที่นี่ได้เลย

เช่นเคย ผมจะหยิบเอาหัวข้อที่พอจะจำรายละเอียดได้มาเล่าให้ฟังสั้น ๆ

งานวันที่ 2 จัดขึ้นที่ Everest Room ครับ ซึ่งเป็นหอประชุมขนาดใหญ่ของ Google Asia Pacific ที่สิงคโปร์ คาดว่าน่าจะเพราะผู้ลงทะเบียนมามีจำนวนมากกว่าวันที่ 1 พอสมควร

เริ่มกันเลยดีกว่า

Kenichi Kambara — Wear OS & Compose

พี่คนนี้แกมาจากญี่ปุ่นครับ สไลด์แกก็จะน่ารัก ๆ สไตล์คนญี่ปุ่น 555 แกมาเล่าให้ฟังว่าการทำ App บน Wear OS เนี่ย แตกต่างยังไงบ้างกับใน Mobile ซึ่งหลัก ๆ ก็คือขนาดหน้าจอนี่แหละที่เล็กกว่ามาก แล้วก็ตอนที่จะปรับมาเป็น Jetpack Compose ก็คือต้องไปเอามาจาก package .wear แทนที่จะเป็นแบบปกติ

ถ้าอยากจะเริ่มลอง develop ใน Wear OS ก็ง่ายมาก ๆ เลยเพราะว่า Android Studio มีให้เลือกอยู่แล้วตอนสร้างแอป

เนื่องจากวันที่ 2 นี่ แม้ว่าคนจะเยอะขึ้น แต่จำนวนห้องน้ำที่เข้าได้ลดลงเหลือ 2 ห้อง การ network ส่วนนึงเลยเกิดขึ้นหน้าห้องน้ำ 5555 ที่เล่าเรื่องนี้ให้ฟังเพราะว่ามีคนชวนผมคุยเรื่อง Wear OS นี่แหละหน้าห้องน้ำ ผมถามว่าแล้วเราจะ debug ยังไงบนเครื่องของจริง เขาบอกว่า ต้อง Bluetooth นาฬิกากับมือถือก่อน แล้วใช้ Wireless Debugging via WiFi ไป ซึ่งก็ แอบยุ่งยากแฮะ

Nicola Gibson — Localization

อันนี้น่าจะเป็น Talk ที่ energetic มากที่สุดของงานนี้ละครับ วันแรก Speaker คนนี้นั่งหน้าผม แล้วเขาก็หันมาชวนผมคุย เขาว่าเขามาจากซิดนีย์ แล้วก็อยากลองไปที่ไทยซักครั้ง ไทยนี่น่าไปเที่ยวมั้ย ผมก็แนะนำไปแกน ๆ ตามประสา Bangkokian ที่อยู่มา 30 ปี ว่าไปทะเลเถอะ อย่ามากรุงเทพเลย 555

แกเริ่มต้นด้วยการบอกว่า โทษทีชั้นอ่าน doc มาผิด จริง ๆ แล้วหัวข้อมันต้องเป็น 87 languages ต่างหาก แต่ถ้าพวกเธอดูดี ๆ เธอจะเห็นว่าภาษามันซ้ำ ๆ อะ มี English ตั้ง 7 อัน ดังนั้นสุดท้ายแล้วมันก็จะเป็น 72 อะนะ แต่เลขก็ไม่ได้สำคัญอะไร เป็นวิธีเปิด presentation ที่ unique และน่าจดจำมาก ๆ

แล้วแกก็ร่ายกฎของการทำ localization มาสามสี่ข้อ เป็นต้นว่า ห้าม hard code text เด็ดขาด หรือห้าม concat text ให้ทำแยกกัน สารภาพว่าผมก็ยังมีแอบ ๆ ทำสิ่งพวกนี้บ้าง ซึ่งไม่ดีมาก ๆ ต้องเอาไปแก้ละครับ

หลังจากนั้นแกก็เล่าว่า รู้มั้ยว่าบางทีภาษามันก็มีเพศ ทำให้เราต้องใช้คำที่ต่างกันถ้ามี prefix ที่ต่างกัน แล้วเราจะทำยังไงดี ก็ duplicate english value มันไปเลยให้มี key ที่แตกต่างกัน และอื่น ๆ ผมละอยากให้แกมาเจอภาษาไทยจริง ๆ น่าจะมีแต่บ้านเราที่คำว่า ฉัน พูดได้ตั้งหลากหลายรูปแบบ แถมยังมี suffix ตามเพศอีกนะ

Michael Cheng — Technical Debt

หัวข้อนี้น่าจะตรงใจใครหลาย ๆ คนที่มักจะโดนบอกให้อัด Features รัว ๆ จนไม่มีเวลาไปแก้ Technical Debt ที่สะสมมาแรมปี

พี่ Micheal Cheng แกแนะนำว่า จริง ๆ เราควรมี Technical Debt Sprint นะ หรือไม่ก็ต้องจัด 10% ของแต่ละ Sprint เพื่อจัดการ Technical Debt เหล่านี้ (ดีครับ ผมจะเอาไปแก้ localization จากข้างบนนี่แหละ)

แล้วเมื่อไหร่เราถึงจะรู้ว่า ต้องแก้แล้ว? แกบอกว่า เมื่อการทำอะไรที่ Simple มาก ๆ ใช้เวลานานอย่างผิดปกติ เช่น เพิ่มปุ่มนึง ใช้เวลา 3 สัปดาห์ (โหดร้ายนัก)

แล้ว Technical Debt มีตั้งเยอะ เราจะรู้ได้ไงว่าต้องแก้อะไรก่อน? ก็ใช้ท่าปกติเลยครับ คือสร้างตารางของ Effort / Impact แล้วก็เลือกอันที่ Effort น้อย Impact สูงนั่นแหละ

P’ Ake — Backend for Mobile Apps

อีกหนึ่ง Speaker ที่คุ้นหน้าคุ้นตากันดี และหัวข้อที่น่าจะเคยฟังกันมาแล้วใน Android Bangkok Conference ครับ รอบนี้มาฟังเป็นแบบเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ

พี่เอกมาเล่าให้ฟังว่าทาง LMWN ทำ Backend for Mobile ด้วย Ktor แล้วมีข้อดีอะไรบ้าง มีข้อควรระวังอะไรบ้าง มีสไลด์แจกด้วยนะ

จบแล้วครับสำหรับ Review งาน Droidcon Singapore 2022 แบบบ้าน ๆ ที่เอามาจากความทรงจำล้วน ๆ สิ่งที่ผมชอบมาก ๆ ในงานนี้มีหลายอย่างเลย

  • ผู้จัดงาน ที่ดูเอาจริงเอาจัง ตั้งใจ แล้วก็ Friendly มาก ๆ ตอบอีเมล์ไวสุด ๆ และวิ่งทำหลายอย่าง ทั้งเสิร์ฟอาหาร ทั้ง run talks แล้วก็คอยเปิดประตูเข้าออกให้คนที่ไปเข้าห้องน้ำ
  • Speakers & Contents ที่อัดแน่นด้วยคุณภาพจริง ๆ ฟังเพลิน และเป็นประโยชน์กับงานที่เราทำไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
  • ผู้เข้าร่วมงาน แต่ละคนที่ได้คุยด้วยนี่คือเทพ Android ทั้งนั้นแบบประสบการณ์ 8+ ปี ผมถือเป็นเด็กตัวเล็ก ๆ ที่ต้องเรียนรู้อีกหลายอย่างมาก ๆ ไปเลย แค่พูดคุยกันไม่นาน เราก็ได้ insights ใหม่ ๆ เยอะมาก แล้วก็ตอกย้ำให้รู้ว่าเรายังต้องพัฒนาตัวเองอีกมากถึงจะไปอยู่ในระดับมาตรฐานของเขา

สิ่งหนึ่งที่ผมบอกกับ Angie ไปตอนทำ Focus group คือ Android สำหรับผมแล้วเป็นเหมือน Comfort zone ในเชิง Mobile / Software development เพราะ Android เป็นสิ่งเดียวที่ผมรู้สึกตื่นเต้นมาก ๆ เวลามีของใหม่ ๆ ออกมา อยากใช้อยากลองไปหมด แล้วจะรู้สึกเสียดายมาก ๆ ถ้าไม่มีเวลาได้ลอง หรือได้ทำ การมางานนี้ ทำให้ผมต้องกลับไปคิดทบทวนตัวเองแล้วว่า จริง ๆ แล้วสิ่งที่เราต้องการทำ สิ่งที่ทำให้เรารู้สึกสนุก และอินไปกับมัน คืออะไร แล้วเราควรจะใช้เวลากับมันให้มากขึ้นหรือเปล่า

ขอบคุณทีมงาน Droidcon Singapore ที่จัดงานนี้ขึ้นมาครับ ไว้โอกาสหน้า ถ้ามี Droidcon Singapore 2023 ผมจะพยายามมาอีกครั้ง :)

ผม และป้าย Droidcon

--

--

Komkrit Kunanusont

Mainly a Mobile developer, sometimes leading a small software devs team, sometimes thinking, sometimes coding, sometimes dreaming and coding in parallel