Cisco Packet Tracer ตอนที่ 13 Modify Your Thing

Kong ATKom
3 min readDec 20, 2019

--

สวัสดีครับ สำหรับตอนนี้ก็เป็นตอนที่ 13 แล้วนะครับสำหรับซีรี่ย์ Cisco Packet Tracer สำหรับท่านที่ยังไม่ได้อ่าน 12 ตอนที่แล้ว คลิ๊กอ่านได้จากลิ้งค์ด้านล่างเลยครับ
ตอนที่ 1 Welcome to Packet Tracer
ตอนที่ 2 Introduction to Packet Tracer
ตอนที่ 3 My First Packet Tracer Lab
ตอนที่ 4 Device Configuration
ตอนที่ 5 Configure End Devices Lab
ตอนที่ 6 Create a Simple Network
ตอนที่ 7 Simulation Mode
ตอนที่ 8 Physical View
ตอนที่ 9 Adding IoT Devices
ตอนที่ 10 Connect IoT Devices to a Registration Server
ตอนที่ 11 Modify and Monitor Environmental Controls
ตอนที่ 12 Create Your Own Thing

สำหรับบทความในตอนนี้จะมาแนะนำในส่วนของการแก้ไข Code เพื่อให้การทำงานของอุปกรณ์ IoT ที่เราสร้างขึ้นมาใหม่ทำงานได้ถูกต้อง มาเริ่มกันเลยครับ

1.ให้ดาวน์โหลดไฟล์ Modify Your Thing ได้ ที่นี่

2.ให้เปิดไฟล์ Modify Your Thing ด้วย Packet Tracer

3.แก้ไขไอคอนที่ใช้แสดงผลของ Security Camera

a.คลิ๊กที่ Security Camera แล้วคลิ๊กที่ปุ่ม Advanced มุมล่างขวาของหน้าต่าง

b.คลิ๊กที่แถบเมนู Thing Editor ให้ทำการเปลี่ยนรูปไอคอนตามที่เราได้เตรียมไว้ ใช้แทนสถานะปิดและเปิดอุปกรณ์ตามลำดับ

c.คลิ๊กแถบเมนู Rules และคลิ๊กปุ่ม Add จะปรากฏรายการ Sub Component, Slot Value, Image

d.คลิ๊กที่ Sub Component ให้เลือก Security Camera , Slot Value เลือก LOW, Image เลือกรูปที่แทนสถานะปิด

e.คลิ๊กปุ่ม Add อีกครั้งจะปรากฏรายการ Sub Component, Slot Value, Imageเพิ่มขึ้นมา

f.คลิ๊กที่ Sub Component ให้เลือก Security Camera , Slot Value เลือก HIGH, Image เลือกรูปที่แทนสถานะเปิด

4.ปรับแต่ง Code การทำงานให้กับ Security Camera

a.ให้ติดตั้ง Motion Detector ลงใน workspace เพื่อที่เราจะได้นำ Code ของอุปกรณ์นี้มาแก้ไขให้ Security Camera
b.คลิ๊กที่ Motion Detector แล้วคลิ๊กปุ่ม Advanced จากนั้นคลิ๊กที่แถบเมนู Programming

c. ให้ดับเบิ้ลคลิ๊กที่ Motion Detector(JavaScript) แล้วดับเบิ้ลคลิ๊ก main.js อีกครั้ง

d.ให้ทำการคัดลอก Code ทั้งหมด ด้วยการคลิ๊กที่ code แล้วกด Ctrl+A ที่คีย์บอร์ดจากนั้นคลิ๊กที่ปุ่ม Copy

e.ให้กลับมาที่หน้าต่างตั้งค่าของ Security Camera ไปที่แถบเมนู Programming

f.คลิ๊กที่ปุ่ม New จะปรากฏหน้าต่าง Create Project ระบุชื่อในช่อง Name เป็น Security Camera จากนั้นคลิ๊ก Create

g.ให้ดับเบิ้ลคลิ๊ก main.js แล้วกดปุ่ม Paste เพื่อวาง code ที่ได้ copy ไว้จาก Motion Detector

h.ให้ทำการแก้ไข code บรรทัดที่ 8 type: “Motion Detector”, เป็น type: “Security Camera”,

i.ให้คลิ๊กปุ่ม Run เพื่อทำการรันโปรแกรม

5.ทดสอบการทำงานของ Security Camera

a.คลิ๊ก Tablet ใน workspace คลิ๊กแถบเมนู Desktop จากนั้นคลิ๊กที่ไอคอน Web Browser

b.ระบุหมายเลข IP Address 192.168.0.106 ลงในช่อง URL จากนั้นคลิ๊ก Go
c.ระบุ Username เป็น cisco Password เป็น cisco123 จากนั้นคลิ๊กปุ่ม Sign In

c.ในหน้าต่างจะปรากฏรายการ Security Camera ให้คลิ๊กเพื่อดูรายละเอียดจะเห็นว่าเป็น On แต่ไม่ activated(สีแดง)

d.ทดสอบ activated อุปกรณ์โดยกดปุ่ม Alt บนคีย์บอร์ดค้างไว้แล้วนำเมาส์ไปวางบน Security Camera จะเห็นว่ารูปภาพได้เปลี่ยนไปตามที่เรากำหนดไว้เมื่อเกิดการ activated ของอุปกรณ์ และในหน้าต่างการตั้งค่าของ Tablet ก็เปลี่ยนสถานะเป็น สีเขียว และอุปกรณ์จะเปลี่ยนสถานะเป็น deactivated อีกครั้งเมื่อเวลาผ่านไประยะนึง

บทความในตอนนี้เราก็ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการแก้ไข code เพื่อให้อุปกรณ์ที่เราสร้างขึ้นมาใหม่สามารถทำงานได้ หากท่านผู้อ่านมีความรู้ด้าน programming ก็สามารถที่จะเพิ่มความสามารถของอุปกรณ์ให้มากยิ่งขึ้นไปได้ ด้วยการแก้ไข code ดังที่ได้เห็นไปแล้วในบทความ สำหรับบทความในซีรี่ย์ของ Cisco Packet Tracer คงต้องจบไว้เพียงเท่านี้ ขอบคุณผู้อ่านทุกท่าน……..สวัสดี

--

--