Cisco Packet Tracer ตอนที่ 2 Introduction to Packet Tracer

Kong ATKom
3 min readNov 26, 2019

--

สวัสดีครับ สำหรับตอนนี้ก็เป็นตอนที่ 2 แล้วนะครับสำหรับซีรี่ย์ Cisco Packet Tracer สำหรับท่านที่ยังไม่ได้อ่านในตอนที่ 1 คลิ๊กที่นี่ ได้เลยครับ

ในตอนนี้ก็จะเป็นการแนะนำเกี่ยวกับ user interface ของซอฟต์แวร์ เริ่มกันที่ส่วนแรกจะเป็นกลุ่มของอุปกรณ์ที่สามารถเลือกใช้งานได้

โดยแถวบนจะเป็นกลุ่มของอุปกรณ์ เรียงจากซ้ายไปขวาดังนี้

1.Network Device ซึ่งกลุ่มของ Network Device จะประกอบด้วยรายการอุปกรณ์ดังนี้( แถวล่าง )

1.1 Routers จะมีให้ใช้งานได้หลากหลายรุ่นตามรูป

รุ่นของ Routers ที่สามารถเลือกใช้งานได้

1.2 Switches จะมีให้ใช้งานได้หลากหลายรุ่นตามรูป

รุ่นของ Switches ที่สามารถเลือกใช้งานได้

1.3 Hubs จะมีให้ใช้งานตามรูป

รุ่นของ Hubs ที่สามารถเลือกใช้งานได้

1.4 Wireless Devices จะมีให้ใช้งานได้หลากหลายรุ่นตามรูป

รุ่นของ Wireless Devices ที่สามารถเลือกใช้งานได้

1.5 Security จะมีให้ใช้งานตามรูป

รุ่นของ Security ที่สามารถเลือกใช้งานได้

1.6 WAN Emulation จะมีให้ใช้งานตามรูป

WAN Emulation ที่สามารถเลือกใช้งานได้

2.End Devices ซึ่งกลุ่มของ End Devices จะมีหลากหลายประเภทมาก ประกอบด้วยรายการอุปกรณ์ดังนี้(แถวล่าง)

2.1 End Devices ประกอบด้วยอุปกรณ์ PC, Laptop,Server,IP Phone,Printer,Tablet เป็นต้น
2.2 Home ประกอบด้วยอุปกรณ์ AC,Battery,Bluetooth speaker,Ceiling Fan,Door เป็นต้น
2.3 Smart City ประกอบด้วยอุปกรณ์ ATM Pressure Monitor,Power Meter,Solar Panel,Street Lamp เป็นต้น
2.4 Industrial ประกอบด้วยอุปกรณ์ Fire Monitor,Fire Sprinkler,Humidifier,Signal Generator,Thermostat เป็นต้น
2.5 Power Grid ประกอบด้วยอุปกรณ์ Battery,Blower,Power Meter,Solar Panel,Wind Detector,Wind Turbine เป็นต้น

3.Components ซึ่งกลุ่มของ Components จะประกอบด้วยรายการอุปกรณ์ดังนี้( แถวล่าง )

3.1 Boards ประกอบด้วยอุปกรณ์ MCU Board,SBC Board
3.2 Actuators ประกอบด้วยอุปกรณ์ Air Cooler,Alarm,Ceiling Sprinkler,Dimmable LED,Floor Sprinkler เป็นต้น
3.3 Sensors ประกอบด้วยอุปกรณ์ Flex Sensor,Humidity Sensor,Humiture Sensor,Membrane Potentiometer,Metal Sensor,Motion Sensor,Photo Sensor เป็นต้น

4.Connections เป็นชุดสายสัญญาณเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ ประกอบด้วยประเภทสายสัญญาณดังนี้

4.1 Automatically
4.2 Console
4.3 Copper Straight-Through
4.4 Copper Cross-Over
4.5 Fiber
4.6 Phone
4.7 Coaxial
4.8 Serial DCE
4.9 Serial DTE
4.10 Octal
4.11 IoT Custom Cable
4.12 USB

ส่วนต่อไปที่จะแนะนำคือส่วนของ Common Tools Bar ซึ่งจะมีเครื่องมือต่างให้สามารถใช้งานได้ดังรูป

  1. Select ปุ่ม shortcut คือ ESC ทำหน้าที่เลือกอุปกรณ์หรือกลุ่มอุปกรณ์ที่ต้องการ วิธีใช้งานให้คลิ๊กซ้ายค้างและลากคลุมอุปกรณ์หรือกลุ่มอุปกรณ์ที่ต้องการ
ตัวอย่างการใช้ Select

2. Inspect ปุ่ม shortcut คือ I ทำหน้าที่ตรวจสอบสถานะการทำงานของอุปกรณ์ได้อย่างรวดเร็ว วิธีการใช้งานให้คลิ๊กที่ตัวอุปกรณ์จะมีเมนูต่างๆให้เลือกดูขึ้นอยู่กับชนิดอุปกรณ์

ตัวอย่างการใช้ Inspect

3. Delete ปุ่ม shortcut คือ Del ทำหน้าที่ลบอุปกรณ์ที่ไม่ต้องการใช้งาน วิธีใช้งานให้คลิ๊กเลือกอุปกรณ์ที่ต้องการลบ

ตัวอย่างการใช้งาน Delete

4. Resize ปุ่ม shortcut คือ Alt+R ทำหน้าที่ปรับขนาดกราฟฟิกที่สร้างขึ้นใน Workspace วิธีใช้งานให้คลิ๊กซ้ายค้างที่จุดสีแดงเพื่อปรับขนาดกราฟฟิก

ตัวอย่างการใช้งาน Resize

5. Place Note ปุ่ม shortcut คือ N ทำหน้าที่บันทึกข้อความตามที่เราต้องการ วิธีใช้งานเราสามารถพิมพ์ข้อความใดๆที่เราต้องการลงบน Workspace ได้เลย

ตัวอย่างการใช้ Place Note

ส่วนต่อไปที่จะแนะนำคือส่วนของ Main Tool Bar จะเป็นส่วนของคำสั่งที่ต้องใช้งานอยู่บ่อยๆ

จะคำสั่งอย่างเช่น
- New สำหรับสร้าง workspace ใหม่
- Open สำหรับเปิดไฟล์ packet tracer ที่ได้บันทึกไว้
- Save สำหรับบันทึกไฟล์ packet tracer
- Print สำหรับสั่งพิมพ์ไฟล์ packet tracer
เป็นต้น

ส่วนต่อไปที่จะแนะนำคือส่วนของ Menu bar

เมนู File ไว้จัดการเกี่ยวกับไฟล์ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดไฟล์ บันทึกไฟล์
เมนู Edit ไว้จัดการเกี่ยวกับการ copy , paste อุปกรณ์ที่อยู่บน workspace
เมนู Options ไว้จัดการเกี่ยวกับการตั้งค่าการแสดงผลต่างๆของซอฟต์แวร์
เมนู View ไว้จัดการเกี่ยวกับมุมมองของ workspace
เมนู Tools ไว้จัดการเกี่ยวกับการวาดรูปทรงต่างลงบน workspace , การจัดการสร้าง dialog ของอุปกรณ์ เป็นต้น

สำหรับการแนะนำ User Interface ของ Cisco packet tracer เบื้องต้นก็คงต้องขอจบไว้เพียงเท่านี้ ในตอนถัดไปจะแนะนำวิธีการเลือกใช้อุปกรณ์เครือข่ายและการเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้าด้วยกัน ติดตามอ่านครับ…..สวัสดี

--

--