Cisco Packet Tracer ตอนที่ 3 My First Packet Tracer Lab

Kong ATKom
3 min readNov 27, 2019

--

สวัสดีครับ สำหรับตอนนี้ก็เป็นตอนที่ 3 แล้วนะครับสำหรับซีรี่ย์ Cisco Packet Tracer สำหรับท่านที่ยังไม่ได้อ่าน 2 ตอนที่แล้ว คลิ๊กอ่านได้จากลิ้งค์ด้านล่างเลยครับ
ตอนที่ 1 Welcome to Packet Tracer
ตอนที่ 2 Introduction to Packet Tracer

Lab 1 Deploying Devices

ให้ทำการดาวน์โหลดไฟล์ packet tracer คลิ๊ก

1.ให้ทำการดับเบิ้ลคลิ๊กเพื่อเปิดไฟล์ที่เพิ่งดาวน์โหลดไป ซอฟต์แวร์ก็จะถูกเปิดขึ้นดังรูป

2.ให้เราติดตั้งอุปกรณ์ตามlabelที่กำหนดไว้ ต้องดูรุ่นของอุปกรณ์ให้ถูกต้องด้วย


2.1 ติดตั้ง Router0 2811 ให้คลิ๊กเลือกที่อุปกรณ์ Network Devices และคลิ๊กเลือก Routers จากนั้นให้คลิ๊กเลือก Router 2811 ดังรูป แล้วนำไปวางบน workspace ให้ตรงกับ label ที่กำหนด

Router 2811

มีวิธีการเลือกอุปกรณ์ไปวางบน workspace อยู่ด้วยกัน 2 วิธีคือ
1. คลิ๊กอุปกรณ์ที่ต้องการ แล้วคลิ๊กอีกครั้งนึงบน workspace เพื่อวางอุปกรณ์ที่เลือก
2. คลิ๊กซ้ายค้างไว้บนอุปกรณ์ที่ต้องการเลือกจากนั้นให้ลากเมาส์ไปวางบน workspace

2.2 ติดตั้ง Router1 1841 ให้คลิ๊กเลือก Router 1841 ดังรูป แล้วนำไปวางบน workspace ให้ตรงกับ label ที่กำหนด

Router 1841

2.3 ติดตั้ง Router2 2901ให้คลิ๊กเลือก Router 2901 ดังรูป แล้วนำไปวางบน workspace ให้ตรงกับ label ที่กำหนด

Router 2901

เมื่อเสร็จสิ้นจะได้อุปกรณ์ที่ต้องการบน workspace ดังรูป

จัดวางอุปกรณ์ให้ตรงรุ่น

2.4 ติดตั้ง Router 2911 สำหรับ Router3,4,5 ให้คลิ๊กเลือก Router 2911 ดังรูป แล้วนำไปวางบน workspace ให้ตรงกับ label ที่กำหนด

Router 2911

วิธีการวางอุปกรณ์รุ่นเดียวกันทีละหลายๆตัวทำได้โดยการกด Ctrl บนคีย์บอร์ดค้างไว้แล้วคลิ๊กเลือกอุปกรณ์จากนั้นปล่อยปุ่ม Ctrl ที่กดค้างไว้และไปคลิ๊กวางบน workspace ได้ตามต้องกัน หากต้องการยกเลิกหรือจัดวางจำนวนอุปกรณ์ได้ตามที่ต้องการแล้วให้กดที่คำสั่ง Delete หรือคีย์ลัด Del บนคีย์บอร์ด

เมื่อเสร็จสิ้นจะได้อุปกรณ์ที่ต้องการบน workspace ดังรูป

จัดวางอุปกรณ์ให้ตรงรุ่น

2.5 ให้ทำการ copy Router1–5 โดยการใช้คำสั่ง copy จาก Main Tool Bar ตามรูป

คำสั่ง copy

วิธีการใช้คำสั่ง copy คือให้เลือกอุปกรณ์ที่ต้องการและคลิ๊กคำสั่ง copy จากนั้นให้คลิ๊กคำสั่ง paste ซึ่งอยู่ติดกัน เราก็จะได้อุปกรณ์เพิ่มขึ้นมา 1 อุปกรณ์ เป็นอุปกรณ์ที่ถูก copy มาแม้กระทั่งชุดคำสั่งที่เรากำหนดไว้ในตัวอุปกรณ์ทั้งหมด

เมื่อเสร็จสิ้นจะได้อุปกรณ์ที่ต้องการบน workspace ดังรูป

จัดวางอุปกรณ์ให้ตรงรุ่น

2.6 เมื่อเสร็จสิ้นและตรวจสอบดูแล้วว่าถูกต้องให้บันทึกจัดเก็บไว้

Lab 2 Deploying and Cabling Devices.

ให้ทำการดาวน์โหลดไฟล์ packet tracer คลิ๊ก

1.ให้ทำการดับเบิ้ลคลิ๊กเพื่อเปิดไฟล์ที่เพิ่งดาวน์โหลดไป ซอฟต์แวร์ก็จะถูกเปิดขึ้นดังรูป

2.ให้เราติดตั้งอุปกรณ์ให้ตรงตาม label ที่ถูกกำหนดไว้ดังรูป

3.ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการเชื่อมต่อสายสัญญาณเข้าด้วยกันระหว่าง PC และ Switch

3.1 ให้คลิ๊กเลือกที่กลุ่มอุปกรณ์ Connections และคลิ๊กเลือกที่สายสัญญาณ Copper Straight-Through ตามรูป

เลือกสายสัญญาณ Copper Straight-Through

3.2 ให้คลิ๊กเลือกที่ PC0 จากนั้นจะมีกล่องเมนูขึ้นมาให้คลิ๊กเลือก FastEthernet0 ตามรูป หลังจากนั้นจะเห็นว่ามีสายสัญญาณถูกเชื่อมต่อเข้ากับ PC0

เลือกเชื่อมต่อเข้ากับ FastEthernet0 ของ PC0

3.3 ให้คลิ๊กเลือกที่ Switch0 จะมีกล่องเมนูขึ้นมาให้คลิ๊กเลือก FastEthernet0/1 ตามรูป หลังจากนั้นจะเห็นว่ามีสายสัญญาณถูกเชื่อมต่อเข้าหากันระหว่าง PC0 และ Switch0

เลือกเชื่อมต่อเข้ากับ FastEthernet0/1 ของ Switch0

3.4 ให้ทำการเชื่อมต่ออุปกรณ์ PC ที่เหลือเข้ากับ Switch ดังนี้
PC1 FastEthernet0 to Switch0 FastEthernet0/2
PC2 FastEthernet0 to Switch0 FastEthernet0/3
PC3 FastEthernet0 to Switch1 FastEthernet0/1
PC4 FastEthernet0 to Switch1 FastEthernet0/2
PC5 FastEthernet0 to Switch1 FastEthernet0/3
เมื่อเสร็จสิ้นจะได้ดังรูป

เชื่อมต่อ PC เข้ากับ Switch

3.5 ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการเชื่อมต่อสายสัญญาณระหว่าง Switch0 กับ Switch1 โดยจะต้องเลือกประเภทสายสัญญาณเป็น Copper Cross-Over และเชื่อมต่อเข้าที่ GigabitEthernet0/1 ของ Switch0 และ GigabitEthernet0/1 ของ Switch1 ดังรูป

เชื่อมต่อ Switch0 เข้ากับ Switch1 ด้วย Copper Cross-Over

3.6 เมื่อเสร็จสิ้นและตรวจสอบดูแล้วว่าถูกต้องให้บันทึกจัดเก็บไว้

สำหรับ Lab ในตอนนี้ เราก็ได้เรียนรู้การเลือกใช้งานอุปกรณ์ประเภทต่างๆและวิธีการสร้างการเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้าด้วยกันด้วยสายสัญญาณทองแดงทั้งสองประเภทคือ Copper Straight-Through และ Copper Cross-Over

บทความตอนหน้าจะเป็นอะไรนั้น ติดตามอ่านครับ……สวัสดี

--

--