Cisco Packet Tracer ตอนที่ 4 Device Configuration

Kong ATKom
3 min readNov 29, 2019

--

สวัสดีครับ สำหรับตอนนี้ก็เป็นตอนที่ 4 แล้วนะครับสำหรับซีรี่ย์ Cisco Packet Tracer สำหรับท่านที่ยังไม่ได้อ่าน 3 ตอนที่แล้ว คลิ๊กอ่านได้จากลิ้งค์ด้านล่างเลยครับ
ตอนที่ 1 Welcome to Packet Tracer
ตอนที่ 2 Introduction to Packet Tracer
ตอนที่ 3 My First Packet Tracer Lab

บทความตอนที่ 4 นี้จะอธิบายถึงการตั้งค่าอุปกรณ์ใน packet tracer โดยเริ่มกันที่เลือกอุปกรณ์ไปวางใน workspace เช่น Router รุ่น 2911 ดังรูป

เลือก router 2911 มาเพื่อตั้งค่า

ให้คลิ๊กที่ตัวอุปกรณ์ที่นำไปวางใน workspace จะปรากฏหน้าต่างการตั้งค่าดังรูป

หน้าต่างการตั้งค่าอุปกรณ์

แถบเมนูแรกคือ Physical เราจะเห็นหน้าตาของอุปกรณ์แบบจำลองจากของจริง ซึ่งจะแสดงทั้งด้านหน้าและด้านหลังของอุปกรณ์
ส่วนแรกที่จะแนะนำคือ Physical Device View จะมีปุ่ม Zoom In ที่สามารถขยายรูปอุปกรณ์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจะเห็นได้ชัดขึ้น ปุ่ม Original Size เมื่อคลิ๊กปุ่มจะกลับมาแสดงรูปอุปกรณ์ขนาดปกติ ปุ่ม Zoom Out เมื่อคลิ๊กปุ่มจะปรับขนาดอุปกรณ์ให้เล็กลงเพื่อให้เห็นได้ทั้งตัวอุปกรณ์

รูปอุปกรณ์ router 2911 ที่เห็นตอนนี้ รูปด้านบน จะเห็นช่องว่างๆ 4 ช่องสีดำนั่นคือ slot ไว้สำหรับใส่ module ชนิดต่างๆเพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งานดังรูป

Slot จำนวน 4 ช่อง

ส่วนต่อไปจะเป็นพอร์ตการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายนั่นคือ พอร์ต GigabitEthernet0/0,GigabitEthernet0/1,GigabitEthernet0/2 ดังรูป

พอร์ตสำหรับการเชื่อมต่อ

พอร์ต AUX ไว้สำหรับเชื่อมต่อกับโมเด็มแอนะล็อกแบบติดตั้งภายนอก เพื่อให้สามารถเข้ามาตั้งค่าอุปกรณ์จากระยะไกลได้
พอร์ต Console ไว้สำหรับเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านทางสาย Rollover เพื่อให้สามารถเข้ามาตั้งค่าอุปกรณ์ได้ ซึ่งเป็นพอร์ตที่นิยมใช้มากกว่าพอร์ต AUX

รูปด้านล่างของตัวอุปกรณ์จะมีสวิตซ์เปิด-ปิดอุปกรณ์ ซึ่งเราจะต้องทำการปิดอุปกรณ์ก่อนทุกครั้งหากต้องการจะติดตั้ง Module เพื่อใช้งาน มิฉะนั้นแล้ว packet tracer จะไม่ยอมให้ติดตั้ง

เรายังอยู่กันที่เมนู Physical ส่วนที่จะแนะนำต่อไปคือ Module ซึ่งประกอบด้วย Module ต่างๆที่สามารถติดตั้งได้ดังนี้
1. HWIC-1GE-SFP ซึ่งเราสามารถดูคำอธิบายด้านล่างได้ดังรูป

2. HWIC-2T
3. HWIC-4ESW
4. HWIC-8A
5. WIC-Cover
6. GLC-LH-SMD

แถบเมนูต่อไปจะเป็น Config ดังรูป

เมนูแรกคือ GLOBAL
- Settings สามารถตั้งค่า Display Name,Hostname ซึ่งจะเป็นชื่อของอุปกรณ์
- Algorithm Settings สามารถตั้งค่าในส่วนของ CBAC,TCP,Switching

GLOBAL

เมนู ROUTING
- Static สามารถตั้งค่า static route ได้ตามต้องการ
- RIP สามารถตั้งค่า route ได้ตามต้องการ

ROUTING

เมนู SWITCHING
- VLAN Database คือ สามารถสร้าง vlan ได้ตามต้องการ

SWITCHING

เมนู INTERFACE
- GigabitEthernet0/0 สามารถตั้งค่า bandwidth, duplex, MAC Address,IP Address, Subnet Mask
- GigabitEthernet0/1 สามารถตั้งค่าได้เหมือน GigabitEthernet0/0
- GigabitEthernet0/2 สามารถตั้งค่าได้เหมือน GigabitEthernet0/0

INTERFACE

แถบเมนูต่อไปจะเป็น CLI ดังรูป

CLI

โดยปกติแล้วเราจะใช้เมนู CLI ในการตั้งค่าอุปกรณ์ด้วยคำสั่งต่างๆ ซึ่งเราสามารถพิมม์คำสั่งลงไปได้เลย เช่น คำสั่ง show version ดังรูป

show version

สำหรับบทความในตอนที่ 4 ก็คงต้องขอจบไว้เพียงเท่านี้ สำหรับอุปกรณ์รุ่นอื่นๆลองเล่น ลองศึกษากันดูนะครับ………สวัสดี

--

--