Cisco Packet Tracer ตอนที่ 5 Configure End Devices Lab

Kong ATKom
3 min readDec 2, 2019

--

สวัสดีครับ สำหรับตอนนี้ก็เป็นตอนที่ 5 แล้วนะครับสำหรับซีรี่ย์ Cisco Packet Tracer สำหรับท่านที่ยังไม่ได้อ่าน 4 ตอนที่แล้ว คลิ๊กอ่านได้จากลิ้งค์ด้านล่างเลยครับ
ตอนที่ 1 Welcome to Packet Tracer
ตอนที่ 2 Introduction to Packet Tracer
ตอนที่ 3 My First Packet Tracer Lab
ตอนที่ 4 Device Configuration

บทความในตอนนี้จะแนะนำการตั้งค่าอุปกรณ์ เพื่อให้อุปกรณ์สามารถส่งข้อมูลถึงกันได้ มาเริ่มกันเลยครับ

1.ให้เปิด Cisco Packet Tracer ขึ้นมา

2.ให้สร้างเน็ตเวิร์คดังรูป

a. ต่อ PC0 เข้ากับพอร์ต FastEthernet0/1 ของ Switch0
b. ต่อ PC1 เข้ากับพอร์ต FastEthernet0/2 ของ Switch0
c. ต่อ Server0 เข้ากับพอร์ต FastEthernet0/3 ของ Switch0

3.ให้ตั้งค่า Server0 ดังนี้

a. คลิ๊กที่แถบเมนู Desktop
b. คลิ๊กที่ไอคอน IP Configuration
c. ระบุ IP Address เป็น 192.168.1.1
d. Subnet Mask ใช้ค่าเริ่มต้นคือ 255.255.255.0
e. ปิดหน้าต่างการตั้งค่า

4.ให้ตั้งค่า PC0 ดังนี้

a. คลิ๊กที่แถบเมนู Desktop
b. คลิ๊กที่ไอคอน IP Configuration
c. ระบุ IP Address เป็น 192.168.1.2
d. Subnet Mask ใช้ค่าเริ่มต้นคือ 255.255.255.0
e. ปิดหน้าต่างการตั้งค่า

f. คลิ๊กที่ไอคอน Command Prompt จะปรากฏหน้าต่างดังรูป

g. พิมพ์คำสั่ง ping 192.168.1.1 และกดปุ่ม Enter บนคีย์บอร์ด
h. ถ้าตั้งค่าอุปกรณ์ได้อย่างถูกต้องจะปรากฏผลลัพธ์ดังรูป

i. ปิดหน้าต่าง Command Prompt และหน้าต่างตั้งค่า PC0

5.ให้ตั้งค่า PC1 โดยใช้วิธีการเดียวกันกับ PC0 แต่เปลี่ยน IP Address เป็น 192.168.1.3 และทดสอบด้วยคำสั่ง ping 192.168.1.1 ผลลัพธ์ต้องได้เหมือนกับ PC0

และสามารถใช้คำสั่ง ping 192.168.1.2 ไปยัง PC0 ได้เช่นกัน

ปิดหน้าต่าง Command Prompt และหน้าต่างการตั้งค่า

6.ให้คลิ๊กที่ PC0 และทดลองดังนี้

a. คลิ๊กที่แถบเมนู Desktop
b. คลิ๊กที่ไอคอน Web Browser
c. พิมพ์หมายเลข IP Address 192.168.1.1 แล้วคลิ๊ก Go
d. จะได้ผลลัพธ์ดังรูป

e. ทดสอบคลิ๊กลิ้งค์ต่างๆดูการเปลี่ยนหน้าเว็บเพจ
f. ปิดหน้าต่าง Web Browser และหน้าต่างตั้งค่า PC0

7.ให้คลิ๊กที่ Switch0 จากนั้นคลิ๊กที่แถบเมนู Config

a. ที่เมนู Global Settings เราสามารถเปลี่ยนชื่ออุปกรณ์ที่จะให้แสดงใน workspace และชื่ออุปกรณ์ Hostname ซึ่งเป็นชื่อที่อยู่ภายในอุปกรณ์
b. ให้เปลี่ยนชื่อ Hostname เป็น Central และกดปุ่ม Enter บนคีย์บอร์ด packet tracer จะแสดง ISO commands ที่เกี่ยวข้องในการเปลี่ยนชื่อ Hostname ในช่อง Equivalent IOS Commands ดังรูป

ซึ่งคำสั่ง enable , configure terminal, hostname Central คือชุดคำสั่งที่เราจะใช้ในการคอนฟิคอุปกรณ์จริง
c. คลิ๊กที่เมนู FastEthernet0/1
d. ที่กล่อง Equivalent IOS Commands จะแสดงคำสั่ง interface FastEthernet0/1

e. คลิ๊กที่แถบเมนู CLI จะสลับไปยังหน้าต่างที่มีคำสั่งแบบเดียวกับในกล่อง Equivalent IOS Commands
f. พิมพ์คำสั่ง shutdown ต่อจาก Central(config-if)# ดังรูป

คำสั่ง shutdown เป็นคำสั่งปิดการใช้งาน interface ที่เราเชื่อมต่ออยู่กับอุปกรณ์ ในที่นี้เราสั่งปิด interface FastEthernet0/1 ซึ่งเชื่อมต่ออยู่กับ PC0 เราจะเห็นว่าใน workspace สายสัญญาณจะเป็นสัญลักษณ์สามเหลี่ยมสีแดงซึ่งแปลว่าไม่สามารถใช้งานได้ดังรูป

เราสามารถทดลอง ping 192.168.1.1 จาก PC0 จะได้ผลลัพธ์ดังรูป

ไม่สามารถ ping หา Server0 ได้

บทความในตอนนี้เราก็ได้เรียนรู้การตั้งค่าอุปกรณ์เบื้องต้น และทดสอบการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ด้วยคำสั่ง ping ซึ่งเป็นคำสั่งที่มีประโยชน์มากในงานเน็ตเวิร์ค และเรียนรู้คำสั่งตั้งค่า hostname ของ switch และการปิดการใช้งาน interface บน switch

สำหรับบทความในตอนต่อไปจะเป็นอะไรนั้น ติดตามอ่านครับ…….สวัสดี

--

--