Cisco Packet Tracer ตอนที่ 6 Create a Simple Network

Kong ATKom
4 min readDec 3, 2019

--

สวัสดีครับ สำหรับตอนนี้ก็เป็นตอนที่ 6 แล้วนะครับสำหรับซีรี่ย์ Cisco Packet Tracer สำหรับท่านที่ยังไม่ได้อ่าน 5 ตอนที่แล้ว คลิ๊กอ่านได้จากลิ้งค์ด้านล่างเลยครับ
ตอนที่ 1 Welcome to Packet Tracer
ตอนที่ 2 Introduction to Packet Tracer
ตอนที่ 3 My First Packet Tracer Lab
ตอนที่ 4 Device Configuration
ตอนที่ 5 Configure End Devices Lab

บทความในตอนนี้เราจะมาสร้างระบบเน็ตเวิร์คแบบง่ายๆกันครับ เริ่มกันเลย

1.ให้เปิด Cisco Packet Tracer ขึ้นมา

2.ให้เลือกอุปกรณ์เพื่อจัดวางใน workspace ดังรูป

ประกอบด้วยรายการอุปกรณ์ดังนี้
กลุ่ม End Devices
a. PC
b. Laptop
c. Server
กลุ่ม Wireless Devices
a. WRT300N
กลุ่ม WAN Emulation
a. Clound
b. Cable Modem

3.ให้เลือกสายสัญญาณเพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ ดังรูป

a.PC0 เชื่อมต่อด้วย copper straight-through เข้ากับพอร์ต Ethernet 1 ของ WRT300N
b. WRT300N เชื่อมต่อพอร์ต Internet ด้วย copper straight-through เข้ากับพอร์ต Port 1 ของ Cable Modem
c. Cable Model เชื่อมต่อพอร์ต Port 0 ด้วย Coaxial เข้ากับพอร์ต Coaxial7 ของ Cloud
d. Cloud เชื่อมต่อพอร์ต Ethernet6 ด้วย copper straight-through เข้ากับพอร์ต FastEhernet0 ของ Server

4.ตั้งค่า WRT300N ดังนี้

a. คลิ๊ก WRT300N
b. คลิ๊กแถบเมนู GUI
c. คลิ๊กแถบเมนู Wireless

d. ตั้งค่า Network Name (SSID) เป็น HomeNetwork
e. คลิ๊กแถบเมนู Setup
f. เลือก Enable ที่ DHCP Server
g. ตั้งค่า Static DNS 1 เป็น 208.67.220.220

h. คลิ๊ก Save Settings อยู่ล่างสุดของหน้า

5.ตั้งค่า Laptop ดังนี้

a. คลิ๊ก Laptop
b. คลิ๊กแถบเมนู Physical
c. ให้ปิด laptop โดยกดที่ปุ่มในรูป

d. ให้ถอด module Ethernet โดยการคลิ๊กค้างแล้วลากไปวางที่แถบ Modules

e. ให้ติดตั้ง Module WPC300N เข้ากับ slot ว่าง และเปิด laptop ขึ้นมาอีกครั้ง

f. คลิ๊กที่แถบเมนู Desktop
g. คลิ๊กที่ไอคอน PC Wireless
h. คลิ๊กที่แถบเมนู Connect

i. เลือก HomeNetwork แล้วคลิ๊ก Connect ใต้ Site Information
j. ปิดหน้าต่างการตั้งค่า

6.ตั้งค่า PC ดังนี้

a. คลิ๊ก PC
b. คลิ๊กแถบเมนู Desktop
c. คลิ๊กไอคอน IP Configuration
d. เลือก DHCP

e. ปิดหน้าต่าง IP Configuration แล้วคลิ๊กไอคอน Command Prompt
f. ตรวจสอบ IP Address ที่ได้รับโดยใช้คำสั่ง ipconfig /all ดังรูป

ip ที่ได้รับ 192.168.0.xxx

7.ตั้งค่า Cloud ดังนี้

a.คลิ๊ก Cloud
b.คลิ๊กแถบเมนู Physical
c. สำรวจดูว่า module PT-CLOUD-NM-1CX และ PT-CLOUD-NM-1CFE ถูกติดตั้งเรียบร้อยแล้วหรือไม่ หากยังไม่ติดตั้งให้ปิดอุปกรณ์และทำการติดตั้ง Module ดังกล่าว
d.คลิ๊กแถบเมนู Config แล้วคลิ๊กที่เมนู Ethernet6
e.เลือก Cable

f.คลิ๊กเมนู Cable
g.เลือกCoaxial7 และ Ethernet6
h.คลิ๊ก Add

i. ปิดหน้าต่างการตั้งค่า

8. ตั้งค่า Server ดังนี้

a.คลิ๊ก Server
b.คลิ๊กแถบเมนู Services
c.คลิ๊กเมนู DHCP
d.ตั้งค่าตามรูปแล้วคลิ๊ก Add

e.คลิ๊กเมนู DNS
f.ตั้งค่าตามรูปแล้วคลิ๊ก Add

g. คลิ๊กแถบเมนู Config
h. คลิ๊กเมนู Settings
i. ตั้งค่าตามรูป

j. คลิ๊กเมนู FastEhernet0
k.ตั้งค่าตามรูป

l.ปิดหน้าต่างการตั้งค่า

9.ทดสอบการเชื่อมต่อ

a.คลิ๊กที่ PC0
b.คลิ๊กแถบเมนู Desktop
c.คลิ๊กไอคอน Command prompt
d.ตรวจสอบ IP Address ด้วยคำสั่ง ipconfig /all

e.ทดสอบ ping cisco.com

สามารถ ping ไปยังเครื่อง Server ได้

บทความในตอนนี้เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ในระบบเน็ตเวิร์คที่หลากหลายขึ้น และการตั้งค่าเบื้องต้นของอุปกรณ์เพื่อให้เชื่อมต่อ และส่งข้อมูลถึงกันได้

พบกันในบทความถัดไปครับ……….สวัสดี

--

--