“ความเชื่อเกี่ยวกับการรักษาโรค” ในพิธีกรรมโนราโรงครู

ความเชื่อเรื่องการรักษาอาการป่วยไข้ เป็นความเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อเรื่อง ครูหมอโนรา ชาวบ้านและคณะโนราเชื่อว่าครูหมอโนราและพิธีกรรมในโนราโรงครูสามารถรักษาอาการป่วยไข้บางอย่างได้ ซึ่งอาการป่วยไข้นั้นมาจากสาเหตุ 2 ประการ คือ อาการป่วยไข้อันเกิดจากความผิดปกติร่างกาย และโรคภัยต่าง ๆ การรักษาเบื้องต้นก็คือ การบนบานขอความช่วยเหลือ จากครูหมอโนราที่ตนเคารพนับถือให้หายป่วยจากโรคนั้น ๆ แล้วจะแก้บนเมื่อหายเป็นปกติ อาการป่วยไข้บางอย่าง เซ่น การเสียสติ ถูกคุณไสย ถูกวิญญาณผีร้ายเข้าสิงร่าง หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “ผีเข้า” ญาติพี่น้องต้องพาไปรักษากับครูหมอโนรา โดยผ่านศิลปินโนรา หรือคนทรง ครูหมอโนรา การรักษาอาการผู้ป่วยจะใช้ทั้งการบน การรดน้ำมนตร์ การต้มยา การปัดเป่า ด้วยเวทมนตร์คาถา บางครั้งคนทรงครูหมอโนราอาจจะเดินทางไปช่วยเหลือรักษาถึงที่บ้านของผู้ป่วย เพราะอาการป่วยบางอย่างมีความเกี่ยวข้องกับครูหมอโนราที่จะต้องใช้การบน การตั้งหิ้งบูชา หรือการรำโนราถวายหน้าหิ้งบูชาครูหมอโนราในบางครั้ง อาการป่วยไข้อีกสาเหตุหนึ่งเกิดจาก การกระทำหรือการลงโทษของครูหมอโนรา อันเนื่องมาจากความต้องการของครูหมอโนรา ที่ต้องการให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดหรือลูกหลานตายายโนรา เป็นผู้สืบทอดการรำโนรา เป็นคนทรง ครูหมอโนรา หรือเกิดจากความเฉยเมยของลูกหลานตายายโนราที่ไม่เคารพนับถือ ไม่บวงสรวง เซ่นไหว้ครูหมอโนรา ดังกล่าวมาแล้วในความเชื่อเรื่องการแก้บน โดยเฉพาะผู้มีเชื้อสายโนรา หรือเป็นลูกหลานตายายโนรา มักจะต้องประสบและเกิดอาการป่วยไข้ต่าง…

“ความเชื่อเกี่ยวกับการรักษาโรค” ในพิธีกรรมโนราโรงครู
“ความเชื่อเกี่ยวกับการรักษาโรค” ในพิธีกรรมโนราโรงครู

“เสน” ในพิธีกรรมโนราเหยียบเสน

“เสน” ในพิธีกรรมโนราเหยียบเสน จากการสัมภาษณ์ สืบพงศ์ ธรรมขันธ์ (2564) ศิลปินดนตรีพื้นบ้านโนรา เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2564 อธิบายว่า “เสน” มีลักษณะคล้ายปาน แต่จะเป็นเนื้องอกนูนออกมาจากผิวหนัง ซึ่งสามารถเกิดได้ทุกส่วนของร่างกายและจะใหญ่ขึ้นตามตัว โดยเสนมีทั้งลักษณะสีแดงและสีดำ ซึ่งไม่ได้ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดใด ๆ เพียงแต่ทำให้ไม่น่าดูและไม่สวยงาม ส่วนใหญ่จะเกิดในเด็กตั้งแต่แรกเกิดหรือผู้ใหญ่บางคนที่ไม่ได้รักษาให้หายตั้งแต่เด็ก ซึ่งเชื่อว่าต้องให้โนราใหญ่เป็นผู้ประกอบพิธีกรรมเหยียบเสนรักษาให้ เสนที่เป็นจึงจะหายขาดได้

“เสน” ในพิธีกรรมโนราเหยียบเสน
“เสน” ในพิธีกรรมโนราเหยียบเสน

การแต่งกายยืนเครื่องในนาฏศิลป์ไทย

ศิลปะการแสดงนาฏยศิลป์ไทย medium.com การแต่งกายยืนเครื่องในนาฏศิลป์ไทย ศิลปะการแสดงทางด้านนาฏศิลป์ไทย ถือเป็นศิลปะการแสดงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ และมีองค์ประกอบของศาตร์ทางด้านศิลปะกรรมไทยหลายแขนง โดยเฉพาะศิลปะการแต่งกายสำหรับนาฏศิลป์ไทยถือเป็นองค์ประกอบสำคัญซึ่งบ่งชี้ให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของความเป็นนาฏกรรมไทย นาฏศิลป์โขน – ละครถึงแม้จะมีความงดงามในชั้นเชิงการแสดง แต่มิอาจขาดองค์ประกอบในส่วนของเครื่องแต่งกายได้ ความงามในส่วนนี้เป็นปัจจัยที่สร้างความสำเร็จ และสร้างความสมบูรณ์ของการแสดง การแต่งกายตามแบบนาฏศิลป์ประเพณี เป็นความงดงาม ในอุดมคติประกอบกับเป็นการเลียนแบบเครื่องต้น ซึ่งเป็นเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์. และพระบรมวงศ์ที่ทรงใช้ในโอกาสพิเศษ อาทิ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก การเสด็จเลียบพระนคร และพระราชพิธีโสกันต์หรือเกศากันต์ ซึ่งการแต่งกายของนาฏศิลป์ประเพณีเช่นนี้เป็นที่รู้จักในนามว่า “การแต่งกายยืนเครื่อง” (มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ, 2552: 68)…

การแต่งกายยืนเครื่องในนาฏศิลป์ไทย
การแต่งกายยืนเครื่องในนาฏศิลป์ไทย