การสร้างแบบสอบถาม ง่ายๆประหยัดกระดาษด้วย google form ตอน 3

Kittisak Sangtong
jackyman.cc
Published in
3 min readJun 14, 2018

จ๊ะเอ๋! เจอกันอีกครั้งครับ กับการสร้างแบบสอบถาม ด้วย Google form ต้องขอเท้าความว่าเหตุที่เขียนบทความหัวข้อนี้ขึ้น…เกิดจากพี่สาวที่เคารพรัก ซึ่งตอนนี้ทำงานห่างไกลกันพอสมควร ท่านอยากสร้างแบบสอบถามโดยผู้ตอบแบบสอบถามสามารถตอบแบบสอบถามผ่านโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ได้เลยโดยที่ไม่ต้องแจกกระดาษให้วุ่นวาย และแปลผลออกมาโดยง่ายดายและถูกต้องผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์

หลังจากตอนที่ 2 เราคุยกันเรื่อง ประเภทของคำถามในฟอร์มที่ใช้เก็บข้อมูล ใน Google Form

ตอนที่ 3 นี้ท่านผู้อ่านจะได้เริ่มใช้งาน google form โดยเรียนรู้จากงานจริงๆ จากแบบสอบถามตอนที่ผมเรียนป.โท ไม่รอช้า….เราไปเริ่มกันเลยดีกว่าครับ……..

ก่อนอื่นนี่คือแบบสอบถาม ตอนที่ 1 แบบสอบถามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม

ตอนที่ 1 สถานภาพผู้ตอบแบบสอบถาม

จากตอนที่ 1 นี้ หากเราวิเคราะห์กัน จะเห็นได้ว่า เป็นแบบสอบถาม มีคำตอบหลายคำตอบให้ผู้ตอบแบบสอบถามเลือกได้แค่คำตอบเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้น เราจะสร้างคำถามในรูปแบบนี้โดยใช้ ประเภทของคำถามแบบ หลายตัวเลือก (Multiple choice) นั่นเอง จะช้าอยู่ใย มามะเราไปลองสร้างกัน

เริ่มต้นเปิด google form ขึ้นมา จากนั้นกดปุ่มเริ่มแบบฟอร์มใหม่ได้เลย

กดปุ่มเริ่มแบบฟอร์มใหม่

ตั้งชื่อฟอร์มสักหน่อยให้รู้ว่านี่คือฟอร์มอะไร เขียนคำอธิบายด้วยนะ เพื่อความสมบูรณ์ของแบบสอบถาม

ตั้งชื่อและคำอธิบายของแบบฟอร์ม

จากนั้นสร้างคำถามโดยเลือก ประเภทของคำถามแบบ หลายตัวเลือก (Multiple choice) และลงข้อมูลตามแบบสอบถามที่ได้ออกแบบไว้ (อย่าลืมตั้งค่าให้ จำเป็นต้องตอบแบบสอบถามด้วยนะ)

ทดลองสร้างแบบสอบถาม ประเภทหลายตัวเลือก

ถ้าอยากเพิ่มข้อคำถาม เพียงกดปุ่มเพิ่มคำสั่งทางขวามือ เพิ่มคำถาม เท่านี้ก็จะได้
ข้อคำถามเพิ่มแล้ว

ปุ่มเพิ่มคำถาม

ต่อมา นี่คือแบบสอบถามตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการศึกษา

ตัวอย่างแบบสอบถาม ตอนที่ 2 เกี่ยวกับปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

โดยลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ ของ Likert (1987 cited in Best & Kahn, 1997, p. 247)
กำหนดน้ำหนักคะแนน ดังนี้ (อย่าเพิ่งเครียดนะครับ อ่านๆผ่านตาได้ครับ)

5 หมายถึง มีระดับปัญหาในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ในระดับมากที่สุด
4 หมายถึง มีระดับปัญหาในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ในระดับมาก
3 หมายถึง มีระดับปัญหาในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ในระดับปานกลาง
2 หมายถึง มีระดับปัญหาในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ในระดับน้อย
1 หมายถึง มีระดับปัญหาในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ในระดับน้อยที่สุด

เมื่อลองมองดู จะเห็นว่าเป็นแบบสอบถามที่ให้เลือกเป็นมาตราส่วนประมาณค่า สามารถสร้างทีละหลายข้อหรือรายชุดที่มีลักษณะแบบสอบถามเหมือนกันหรืออยู่ในหมวดเดียวกันได้ แต่ละข้อสามารถเลือกตอบได้คำตอบเดียว นั่นคือต้องเลือกใช้ประเภทของคำถาม ประเภทที่ 8 ตารางตัวเลือกหลายข้อ

ก่อนจะสร้างคำถามตอนที่ 2 นี้ เราลองพิจจารณาเทคนิคของผู้เขียนสักเล็กนิด คือจะต้องใส่คำอธิบายให้ชัดเจนและแยกส่วนของคำถาม เพื่อป้องกันความสับสนของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยการเลือกปุ่ม คำสั่งทางขวามือ คือคำสั่งแยกส่วน

คำสั่งแยกส่วน

ส่วนที่ 2 นี้เขียนคำอธิบายให้ครบถ้วน เพื่อป้องกันความสับสนของผู้ตอบแบบสอบถามนะจะบอกให้

คำอธิบายในส่วนที่ 2

จากนั้นก็กดเพิ่มข้อคำถาม และสร้างคำถามแบบ ตารางตัวเลือกหลายข้อ ได้เลย

ตัวอย่างคำถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า

อยากได้กี่ข้อก็กดเพิ่มข้อคำถามเอานะ อย่าลืมกด ตั้งค่าให้มีคำตอบทุกแถวด้วยนะและนี่คือผลลัพธ์ :)

ผลลัพธ์ คำถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า

ต่อมา ตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการศึกษา

โดย เรียงลำดับความสำคัญเป็นแนวทางการพัฒนาฯโดยใส่หมายเลข 1,2 และ 3 ตามลำดับ ลงในช่องลำดับการพัฒนา โดยกำหนดให้แต่ละอันดับมีคะแนนดังนี้
1 หมายถึง แนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากที่สุด
2 หมายถึง แนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาก
3 หมายถึง แนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศปานกลาง

ตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนา

ส่วนที่ 3 นี้จากการสังเกตุ เราสามารถประยุกต์ใช้ประเภทของคำถาม ประเภทที่ 8 ตารางตัวเลือกหลายข้อ ได้เหมือนกับตอนที่ 2 ทุกประการ

เพราะ แต่ละข้อสามารถเลือกลำดับความสำคัญ คือใส่หมายเลข 1,2 และ 3 ตามลำดับ

ทดลองสร้างจะได้ดังนี้ (อย่าลืมเขียนตอนและระบุคำอธิบายให้ชัดเจนนะ เพื่อป้องกัน ผู้ตอบแบบสอบถามสับสน)

การสร้างตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนา

ผลลัพธ์จะได้ดังนี้

ผลลัพธ์ แบบสอบถามตอนที่ 3

สร้างแบบสอบถามให้ครบทุกข้อ ตามที่ออกแบบไว้

(ถ้าเป็นงานวิจัย) ถ้าไม่ใช้กรุณาข้าม เพื่อป้องกันการปวดหมอง อิอิ

นำแบบสอบถามที่สร้างเสร็จแล้วเสนอคณะกรรมการที่ปรึกษางานนิพนธ์เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ ถูกต้อง และรับข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงแบบสอบถามนำแบบสอบถามที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วเสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) และหาดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (Index of Item-Objective Congruence: IOC)

เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็พร้อมใช้งาน :)

ต่อมาเป็น ขั้นตอนส่งแบบสอบถามนี้ให้แก่ผู้ตอบแบบสอบถาม
ผ่านสมาร์ทโฟน หรือ คอมพิวเตอร์ ดังนี้

กดปุ่มส่ง มุมขวาบน

เลือกส่งฟอร์ม ในรูปแบบ ลิงก์ (Link) อย่าลืมตัด URL ให้สั้นลงด้วยนะ

นำลิ้งนี้ โดยการคัดลอกส่งต่อให้ผู้ตอบแบบสอบถามได้เลย

ตัวอย่าง คลิก https://goo.gl/forms/M0GG3aUtE1EvyLug1

จบไปแล้วสำหรับ การสร้างแบบสอบถาม ง่ายๆประหยัดกระดาษด้วย google form ตอน 3 หากมีข้อสงสัย สามารถพิมพ์คำถามไว้ใต้บทความนี้ได้เลย หรือ ข้อความมาทาง https://www.facebook.com/Kskittisak

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่าน ลาไปก่อนพบกันใหม่บทความหน้าจ้า :)

--

--

Kittisak Sangtong
jackyman.cc

เพราะ IT กับครู เป็นของคู่กัน