Kvongthoung
2 min readMar 5, 2024

Plasma cell

พลาสมาเซลล์ คือ เม็ดเลือดชนิดหนึ่งซื่งอาศัยอยู่ในไขกระดูก หน้าที่หลักของพลาสมาเซลล์ คือ สร้างแอนติบอดีหรืออิมมูโนโกลบูลิน (Immunoglobulin) หลายชนิด เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค1 ปกติร่างกายจะมีจำนวนพลาสมาเซลล์ในไขกระดูกประมาณ 2–3 % หากมีความผิดปกติของการสร้างพลาสมาเซลล์จนเกิดเป็นโรค จะพบจำนวนพลาสมาเซลล์เพิ่มขึ้นในไขกระดูกเกิน 10% ร่วมกับความบกพร่องในการสร้างอิมมูโนโกลบูลินชนิดต่าง ๆ จนทำให้เกิดการสร้างโปรตีนบางชนิดในเลือดที่มากผิดปกติ ซึ่งเรียกว่า เอ็มโปรตีน (M Protein — Monoclonal Protein) โปรตีนดังกล่าวสามารถทำอันตรายต่ออวัยวะอื่น ๆ ของร่างกายได้ เช่น กระดูกพรุน ปวดกระดูก เสี่ยงต่อภาวะกระดูกหัก ไตวาย และระดับแคลเซียมในร่างกายสูงจนเกิดอันตรายได้2 บางครั้งพลาสมาเซลล์ที่เป็นมะเร็ง สามารถพบเป็นก้อนมะเร็งภายนอกไขกระดูกได้ เรียกว่า พลาสมาไซโตมา (Plasmacytoma) โดยตำแหน่งที่พบบ่อย คือ กระดูกสันหลัง กระดูกสันอก ซี่โครง3 แม้ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาใดที่ทำให้โรคมะเร็งไขกระดูกมัยอิโลมาหายขาดได้ แต่ถือเป็นโรคที่รักษาได้ และมีความเจริญก้าวหน้าในการรักษาอย่างก้าวกระโดด และพบว่าผู้ป่วยมีชีวิตยืนยาวขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มะเร็งไขกระดูกมัยอิโลมา (Multiple Myeloma) ยังไม่พบสาเหตุแน่นอนในการเกิดโรค ผู้ป่วยที่พบโปรตีนผิดปกติในเลือดมาก่อนโดยไม่มีอาการ (Monoclonal Gammopathy of Undetermined Significance — MGUS) มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งไขกระดูกมัยอิโลมา (Multiple Myeloma) โดยเฉลี่ยประมาณ 1% ต่อปี4 ตรวจนับเม็ดเลือด มักพบภาวะซีด หรือเกล็ดเลือดต่ำได้ ถ้าอาการรุนแรงสามารถพบมะเร็งพลาสมาเซลล์ในเลือดได้ เรียกว่า ลูคีเมียของพลาสมาเซลล์ (Plasma Cell Leukemia) ตรวจเลือดเพื่อดูชนิดและระดับของเอ็มโปรตีน (M Protein) และอิมมูโนโกลบูลินตัวอื่น ๆ รวมไปถึงระดับ Serum Free Light Chain ตรวจเลือดทางชีวเคมีเพื่อประเมินการทำงานของไต รวมถึงค่าระดับแคลเซียมและเกลือแร่อื่น ๆ ตรวจไขกระดูกเพื่อประเมินจำนวนมะเร็งพลาสมาเซลล์ รวมไปถึงการตรวจโครโมโซมจากไขกระดูกเพื่อวางแผนการรักษา เอกซเรย์กระดูกเพื่อประเมินสภาพกระดูกก่อนการรักษา (Skeleton Survey) ตรวจปัสสาวะที่เก็บรวมใน 24 ชั่วโมง เพื่อตรวจหาเอ็มโปรตีน (M Protein) ในปัสสาวะ5

Plasma cells

Plasma cells

เอกสารอ้างอิง

1. D’Souza L, Bhattacharya D. Plasma cells: You are what you eat. Immunol Rev. 2019;288(1):161–177.

2. Boyle EM, Davies FE, Leleu X, Morgan GJ. Understanding the multiple biological aspects leading to myeloma. Haematologica. 2014;99(4):605–612.

3. PDQ Adult Treatment Editorial Board. Plasma Cell Neoplasms (Including Multiple Myeloma) Treatment (PDQ®): Health Professional Version. 2023 Jun 30. In: PDQ Cancer Information Summaries [Internet]. Bethesda (MD): National Cancer Institute (US); 2002-. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK65924/

4. Atrash S, Mammadzadeh A, Peng F, et al. Outcomes of Penta-Refractory Multiple Myeloma Patients Treated with or without BCMA-Directed Therapy. Cancers (Basel). 2023;15(11):2891.

5. Suska A, Vesole DH, Castillo JJ, et al. Plasma Cell Leukemia — Facts and Controversies: More Questions than Answers?. Clin Hematol Int. 2020;2(4):133–142.