MEAN Stack : ตอนที่ 2

Aiya Aiyara
3 min readMay 28, 2023

--

ติดตั้ง NodeJS

Photo by Jorge Rosal on Unsplash

ต่อจากตอนที่ 1 หลังจากที่เราได้ทำการ Setup MongoDB พร้อมกับสร้าง (Document) น้อง Lisa ขึ้นมาเรียบร้อยคราวนี้เราจะต้องติดตั้ง NodeJS กันหละ

ถ้าพูดให้ดูเท่ห์ๆ NodeJS คือ JavaScript Runtime แล้ว Runtime คืออะไร ??? งงไปอีก ยังไม่ต้องสนใจ สมองคนเรามีจำกัด เราไม่มีทางรู้ทุกเรื่อง บทความนี้มีเป้าประสงค์อธิบายการสร้าง Web Application ด้วย Stack MEAN เพราะฉนั้นจำไว้ว่า NodeJS คือ ภาษา JavaScript ที่ใช้ทำงานฝั่ง Back-End รับไว้เท่านี้ก่อน

เริ่มต้นด้วยการ Download NodeJS จาก Website นี้ตามรูป ตามเส้นสีแดงๆ

https://nodejs.org/dist/v18.16.0/node-v18.16.0-x64.msi

ให้ Install จาก File msi (Window Installer) ตัวนี้จะมี npm package manager
มาให้ด้วยตามรูป

npm packge manager จะถูกลงมาด้วย

ต่อไปเราจะมาทำการตรวจสอบกันว่า เครื่องของเรามี NodeJS และ NPMหรือยัง
เราจะใช้คำสั่งสองคำสั่งนี้เพื่อดู version ใน Terminal เปิด Terminal ใหม่ขึ้นมาแล้วพิมพ์

cd c://

จากนั้นกด Enter คำสั่งนี้เอาไว้เรียก Path C:// พิมพ์ต่อด้วยคำสั่ง

node -v

จากนั้นกด Enter terminal จะแสดง Version ของ Node มาให้เห็น จากนั้นลองพิมพ์

npm -v

จากนั้นกด Enter ถ้าทำถูกต้อง Terminal ของเราจะแสดงตามรูปข้างล่าง

ถ้าขึ้นเลข Version เป็นอันใช้ได้ ถ้าไม่ได้ต้องกลับไปเริ่มต้นใหม่หรืออาจจะไปลองใช้ ตัว Install ตัวอื่นดู เรามาเริ่มเขียน Code กันดีกว่า เปิด Notepad ขึ้นมาแล้วพิมพ์คำสั่งตามนี้

const http = require('http');

const hostname = '127.0.0.1';
const port = 3000;

const server = http.createServer((req, res) => {
res.statusCode = 200;
res.setHeader('Content-Type', 'text/plain');
res.end('Hello World');
});

server.listen(port, hostname, () => {
console.log(`Server running at http://${hostname}:${port}/`);
});

ตอน Save File นั้นให้พิมพ์ชื่อ app.js เพื่อสร้างไฟล์ที่เป็น JS ขึ้นมา โดยเราจะ Save ไว้ใน Folder เดียวกับ Project ที่ชื่อ medium ของเราตามรูป

ถ้าสำเร็จจะมีไฟล์ app.js สีเหลืองๆโผล่ขึ้นมา

ต่อไปเราจะมาลอง Run NodeJS กัน เริ่มจากเปิด Terminal ใหม่ขึ้นมา (Terminal Mongo Server และ Terminal Mongo Shell ให้เปิดไว้เหมือนเดิม)

จากนั้นเรียกไปที่ Path ที่เราวาง app.js ไว้ ตามตัวอย่างในบทความคือ c://nodejs/medium

c://nodejs/medium

จากนั้นเรียกไฟล์ app.js ด้วยคำสั่ง node
ถ้าขึ้นคำว่า Server running at …….. แล้วมีขีดขาวๆกระพริบ คือ ถูกต้องแล้ว

เปิดทิ้งไว้ก่อนนะ …

ตอนนี้ Node ของเรากำลัง Run File app.js อยู่ เท่ากับว่าตอนนี้เราต้องมี Terminal เปิดอยู่ 3 Terminals คือ

  • NodeJS Terminal
  • MongoDB Server Terminal
  • MongoDB Shell Terminal

ไหนเรามาลองดูใน Browser หน่อยว่ามันแสดงผลคำว่า Hello World ตามที่เราต้องการไหม

เปิด Browser อะไรก็ได้ Chrome, Firefox, Edge แล้วใส่ url ว่า localhost:3000
จากนั้นกด Enter

ว้าววววว Hello World มาแว้วววววว

อธิบายการทำงานคือ ตัว Browser ได้เรียก localhost port 3000 ไปที่ endpoint “/” Endpoint นี้จะไม่ใส่ก็ได้ พิมพ์เปล่าไปว่า localhost:3000 ก็ทำงานได้

เมื่อ Node ได้รับ Request http ดังกล่าวก็ได้ Response คำว่า “Hello World” กลับมาที่ Browser ด้วยคำสั่ง res.end (“Hello World”);

เท่ากับว่าตอนนี้เราสั่งให้ NodeJS ทำงานได้เรียบร้อย

ในบทความต่อไปเราจะมาอธิบายว่าทำไมเราควรต้องใช้ Express Framework ผมยืนยันว่าจะไม่ใช้ก็ได้ แต่มืออาชีพเขาใช้กัน เราจะเอาหมัดไปสู้กับคนมีมีด เพื่ออะไร

มืออาชีพ : เราสามารถใช้ VSCode เป็น IDE แทน Notepad ได้และอาจจะดีกว่าด้วย แต่ผมจะไม่พูดถึงในบทความนี้เพราะต้องการให้ทำงานบนพื้นฐานที่ง่ายที่สุดเสียก่อน ถ้าลองใช้ VScode แล้วติดขัด ลองพิจารณากลับมาใช้ Notepad ดู รวมทั้งสำรวจความรู้พื้นฐานอื่นๆที่จำเป็นต้องมี เช่น ภาษา JavaScript เพราะการ copy and paste มันอาจจะสร้างผลงานสวยๆไว้จัดแสดงได้ แต่ถ้าเจอสถานะการณ์ที่ต้องทำงานจริง มีโจทย์ที่มีลักษณะเฉพาะ เราจะแก้ปัญหาไม่ได้ ไม่ว่าจะทำงานเป็นลูกจ้างหรือนายจ้างล้วนต้องแก้ปัญหาทั้งนั้น ถ้าแก้ปัญหาไม่ได้ เงินก็ไม่มา

--

--