REVIEW คณะ การสอบเข้า และสัมภาษณ์ BALAC (อักษรอินเตอร์ จุฬา) + เคล็ดลับการเขียน SOP 💌♪

mild
4 min readJul 24, 2021

--

สวัสดีค่า เราชื่อมายด์น้า ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ที่ BALAC หรือ Bachelor of Arts in Language and Culture program ซึ่งก็คือหลักสูตรนานาชาติของคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั่นเอง ซึ่งตอนนี้เรากำลังจะขึ้นปี 2 เลยตั้งใจจะมารีวิวคณะ (จากการเรียนที่นี่ครบ 1 ปี) และบอกเล่าประสบการณ์การสอบเข้า (ยุคโควิด) แบบละเอียดยิบโดย one of BALAC13 (Class of 2024) ไปดูกันเลย ୧(﹒︠ᴗ﹒︡)୨

WHY BALAC? เราเลือก apply ที่นี่เพราะส่วนตัวเป็นคนที่ถนัดวิชาภาษาอังกฤษที่สุด และสนใจเรียนรู้เกี่ยวกับ culture ต่าง ๆ เป็นพิเศษอยู่แล้ว ชอบอ่านเรื่องราวที่เกี่ยวกับประเทศต่าง ๆ บวกกับเวลาอ่านวรรณกรรมภาษาอังกฤษหรือดูหนังชาติอื่น ๆ จะเอนจอย และรู้สึกว่าน่าค้นหามาก ๆ (+จุฬาเป็น dream school ของเราด้วย เลยรู้สึกว่า BALAC suits เราที่สุดแล้ว) ᜊ( ᜊ. ´ ˘) ੭♡

cr. BALAC

อย่างแรก BALAC เรียนเกี่ยวกับอะไร? บาลัคมุ่งเน้นสอนเกี่ยวกับ culture ซึ่งไม่ได้หมายถึงแค่วัฒนธรรมของประเทศต่าง ๆ เพียงเท่านั้น แต่รวมถึงสื่อทั้ง digital และพวกวรรณกรรมต่าง ๆ โลกาภิวัตน์ การเมืองการปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ปรัชญา ศาสนา movement ของผู้คน ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดความเข้าใจของมนุษย์ และอื่น ๆ อีกมากมาย (ทุกวิชาจะสอนเป็นภาษาอังกฤษ) นอกจากนี้เด็กบาลัคต้องเรียนวิชาจากภาควิชาภาษาอังกฤษด้วย สอนทั้ง reading และ writing แบบ advanced ที่สำคัญบาลัคบังคับนักเรียนปี 1 ทุกคนลงเรียนวิชาภาษาที่ 3 ซึ่งจะมีตัวเลือกให้ 4 ภาษา และจะแตกต่างกันไปในแต่ละปีแล้วแต่ผลโหวตของปีนั้น ๆ (อย่างเช่นรุ่นเรา BALAC13 มีภาษาจีน ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส และสเปน)

CONCENTRATION หรือโทของเด็ก BALAC จะเลือกตอนขึ้นปี 2 มีให้เลือกทั้งหมด 3 เอก ได้แก่ global, media, และ language (ภาษาที่เรียนปีแรก)

cr. BALAC

นอกจากนี้ BALAC ก็พึ่งเปิดหลักสูตรใหม่อย่าง Double Degree ด้วย เป็น program ที่บาลัคจับมือกับ SILS (School of International Liberal Studies) ของ Waseda University สำหรับนักเรียน global และ media ซึ่งจะเรียนที่ BALAC 2 ปี และปี 3–4 จะได้ไปเรียนที่ Waseda University ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงโตเกียวนั่นเอง (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในรูปเลย)

สังคมและกิจกรรม เราต้องบอกก่อนว่าปีเราโควิดระบาด เกือบทุกกิจกรรมถูกยกเลิก ( i ¯ i ) แต่ปกติแล้วบาลัคมีกิจกรรมสายรหัส BALAC trip Intergames ฯลฯ ส่วนกิจกรรมอื่น ๆ อย่างรับน้องหรือชมรมต่าง ๆ ของคณะอักษรและจุฬา เด็กบาลัคก็สามารถเข้าร่วมได้เช่นกัน แต่อย่างที่บอกว่าปีเรามีโควิดเลยทำให้เรียนออนไลน์แบบ 90% เลย เพื่อน ๆ ที่สนิทกันส่วนใหญ่ก็จะเป็นเพื่อนที่เรียนเซคเดียวกันตอนปี 1 เพราะว่าได้เรียนด้วยกันเกือบทุกตัว (ตอนปี 1 หลาย ๆ วิชาที่เรียนจะแบ่งเป็น 5 เซคใหญ่) จากที่เราสังเกตมีเด็กที่จบจากโรงเรียนอินเตอร์เยอะพอสมควร เพื่อน ๆ ก็จะใช้ภาษาไทยและอังกฤษสลับ ๆ กันไป แล้วแต่กลุ่ม

BALAC เรียนหนักไหม? ส่วนตัวเราว่าเรียนหนักพอสมควร ตอนปีแรกต้องปรับตัวเยอะเลย (เราจบจากโรงเรียนรัฐบาลด้วย เลยยิ่งรู้สึกแปลกใหม่) ต้องอ่านและเขียนเยอะมาก ๆ เป็นแบบนี้เกือบทุกวิชา เนื้อหาค่อนข้างหนักบางวิชา สอบบ่อย และข้อสอบไม่เคยออกเป็นปรนัยเลย (นอกจากวิชาภาษาญี่ปุ่น) ซึ่งข้อสอบส่วนใหญ่ต้องวิเคราะห์ด้วย ไม่ใช่แค่จำไปสอบแบบตอนม. ปลาย ต้องเข้าใจเนื้อหาจริง ๆ ถึงจะทำข้อสอบได้ ส่วนงานก็มีเขียน essay/report ทุกอาทิตย์เลยก็ว่าได้ mental breakdown บ่อย ๆ กันเลยทีเดียว ( ꃼ⏖ꃼ ) แต่ถ้าปรับตัวได้ก็จะทำใจคุ้นชินกันไปเอง อย่างทุกวันนี้ ถ้าวันไหนเราไม่มีการบ้านที่จะต้องเขียนจะรู้สึกแปลก ๆ (แพนิคว่าไม่มีงานจริง ๆ หรือเราลืมเอง…)

cr. CHULA TUTOR

ADMISSION สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่อ่านถึงตรงนี้แล้วพยักหน้าตามรัว ๆ เพราะรู้สึกว่าตัวเอง belong to BALAC นี้แหละ ก็มาเริ่มเตรียมตัวสอบเข้า BALAC กันดีกว่า! ใน 1 ปี BALAC เปิดรับสมัครทั้งหมด 2 รอบ

Early Admission (คิดจากสัมภาษณ์ 100%) เปิดรับสมัครประมาณเดือนธันวาคม ส่วน Admission (คิดจากข้อเขียน 70% และสัมภาษณ์ 30%) เปิดรับสมัครประมาณเดือนมีนาคม

ทุกรอบใช้คะแนนทั้งหมด 2 ตัว ได้แก่

  1. English proficiency test เลือกยื่นตัวใดตัวหนึ่ง TOEFL iBT, IELTS, หรือ CU-TEP
  2. Aptitude test เลือกยื่นตัวใดตัวหนึ่ง SAT (Evidence-Based Reading and Writing), CU-AAT (Verbal), หรือ ACT (English and Reading)

ซึ่ง minimum score หรือคะแนนขั้นต่ำที่ BALAC กำหนดของรอบแรกจะสูงกว่าของรอบที่สอง แต่ว่าความสูงต่ำของคะแนนเหล่านี้ไม่ได้มีผลต่อการพิจารณาว่าใครจะติดนะ ดังนั้นยื่นคะแนนที่ผ่านเกณฑ์ก็พอ แล้ว save เวลาไปเตรียมตัวสอบสัมภาษณ์และสอบข้อเขียนกันดีกว่า! เรายื่น CU-TEP 93 คะแนน และ CU-AAT (Verbal) 470 คะแนน

Statement of Purpose (SOP) ต่อมา อีกหนึ่งอย่างที่เราต้องเตรียมเพื่อใช้สมัครเข้า BALAC คือ SOP ซึ่งก็คือจดหมายแนะนำตัว แสดงเจตจำนง ความตั้งใจ และเหตุผลต่าง ๆ ในการเลือกศึกษาต่อที่นี่ ซึ่ง BALAC กำหนด limit ไว้ที่ไม่เกิน 1000 คำนะคะ ส่วนนี้เราตั้งใจเขียนมาก ๆ เพราะรู้สึกว่า SOP สามารถดึงดูดความสนใจและสร้างความประทับใจให้กับคณะกรรมการได้ตั้งแต่ยังไม่เริ่มสอบสัมภาษณ์ เหมือนเป็นพื้นที่ที่เรามีอิสระในการบอกเล่าสิ่งต่าง ๆ ที่อยากให้อาจารย์รับรู้ได้ นอกจากนั้นในการสอบสัมภาษณ์ อาจารย์มักจะถามคำถามเราจาก SOP นี้แหละ ดังนั้นอะไรที่เราอยากจะพูดคุยกับคณะกรรมการก็ลองใส่ลงไปใน SOP ดูนะ!

เคล็ดลับในการเขียน SOP อย่างแรกเราอยากแนะนำว่าควรพยายามเขียน SOP ให้ไม่น่าเบื่อที่สุด เพราะอาจารย์ล้วนเคยอ่าน SOP มาหลายร้อยหลายพันฉบับ ดังนั้นเราควรเลือกเขียนเรื่องของเราที่คิดว่าน่าสนใจและ stand out จากผู้สมัครคนอื่น ๆ อีก ทริคในการเขียนของเราคือ ถ้าใส่ข้อมูลอะไรลงไปแล้ว จะเล่าถึง cause และ effect ด้วย ยกตัวอย่างเช่น เราเขียนว่าเราชอบดูซีรี่ย์เกาหลี ก็จะเล่าเรื่องราวที่มาที่ไปที่ทำให้เราเริ่มดูและชอบ และจะอธิบายต่อด้วยว่าการดูซีรี่ย์เกาหลีเปลี่ยนแปลงเราไปอย่างไร อีกหนึ่งอย่างที่เราอยากจะเตือนทุกคนคือ SOP ไม่ใช่ portfolio ดังนั้นอย่าใส่ผลงานรัว ๆ ไม่งั้นจะเหมือนเป็นการอวดไปเรื่อย ๆ มากกว่า บวกกับถ้าเขียนอะไรลงไปแล้วทำไม่ได้จริง ควรตัดออกทันที อย่างเช่น ถ้าเขียนว่าเราเคยเรียนภาษาจีน แต่ดันเรียนตั้งแต่ประถม+ลืมไปหมดแล้วก็ไม่ควรใส่ เพราะในวันสัมภาษณ์อาจารย์อาจจะพูดจีนใส่เราก็เป็นได้… และสุดท้ายควรตรวจทานแกรมม่าคำผิดให้เรียบร้อยก่อนส่งนะคะ!

Written Examination เนื่องจากเราสอบเข้ารอบที่ 2 เลยต้องสอบข้อเขียนด้วย ปีเราเป็นปีแรกที่ต้องสอบข้อเขียนออนไลน์ (เพราะโควิดอีกแล้ว) ดังนั้นข้อสอบจึงไม่เหมือนกันกับของปีก่อน ๆ ค่ะ ปีนี้สั่งให้เขียน essay มีหัวข้อให้เลือก 4 หัวข้อ ให้เวลาทำประมาณ 2 วันค่ะ limit อยู่ที่ 500–1000 คำ

  1. “Doing well in school is a product of privilege, not ability.” Do you agree?
    Please discuss with examples.
  2. The outbreak of the novel Coronavirus disease (COVID-19) has ignited
    panic all over the world. Some say that a ban on tourists from entering
    countries is understandable and inevitable for health reasons. Others argue that this ban is unreasonable. Which one do you more agree with and why? Discuss and elaborate on your opinion about the ban.
  3. Digital (computer, phone, console, etc.) games have been commonplace
    since the invention of home-use game consoles in the 1970s. Digital games
    have grown significantly more sophisticated since then. Could modern day
    games be given the same level of analysis in the same way that we do film
    and literature in the classroom? If no, Why not? If yes, how might we
    analyze digital games? Discuss with examples.
  4. Has the spread of communication technology been beneficial or harmful to democracy? Please discuss with examples.

เราเลือกทำข้อ 2 ไป เพราะคิดว่าน่าจะง่ายที่สุดแล้ว ซึ่งปีนี้ดีตรงที่เราสามารถค้นหาข้อมูลได้ แต่ต้องมี citation และต้องอธิบายได้ว่าทำไมเลือกใช้ข้อมูลจากที่นี่ ๆ ดังนั้นเราจึงควรใช้ข้อมูลจากที่มาที่น่าเชื่อถือ อย่างเราเขียนเรื่อง COVID-19 ก็จะใช้ข้อมูลจาก WHO พวกวิจัยต่าง ๆ และเว็บไซด์ข่าวที่น่าเชื่อถือ (ซึ่งตอนนั้นเดือนมีนาคม 2020) ข้อมูลยังน้อย ๆ มาก หาลำบากพอสมควร อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญคือ structure ของ essay ควรที่จะถูกต้องตามหลัก

cr. Bethlehem College & Seminary Library

Interview Examination สำหรับการสอบสัมภาษณ์ก็เป็นแบบออนไลน์เช่นกัน เรารู้สึกว่ามันมีข้อดีตรงที่ทำให้เรากดดันน้อยลง เพราะว่าเห็นหน้าอาจารย์แค่ผ่านจอ (หรือเป็นแค่เราคนเดียวก็ไม่รู้) มีอาจารย์ทั้งหมด 2 ท่าน เป็นอาจารย์จาก BALAC 1 ท่าน และเป็นอาจารย์จากภาควิชาภาษาอังกฤษ 1 ท่าน

เริ่มจากให้แนะนำตัวกับบอกเหตุผลที่ทำให้อยากเข้าบาลัค Please introduce yourself and tell us why do you choose BALAC? จากนั้นอาจารย์ก็ถามเราเกี่ยวกับ SOP+essay ที่เป็น written examination เราเขียนใน SOP ว่าเราเริ่มสนใจ culture เพราะว่าชอบ K-POP กับชอบดู K-DRAMA บวกกับข้อเขียนเราเขียนเกี่ยวกับ COVID-19 อาจารย์ก็เลยถามเกี่ยวกับ K-POP industry ในยุคโควิดว่า มันได้รับผลกระทบอะไร และเราคิดว่าจะเป็นอย่างไรต่อ (ช่วงนั้นโควิดพึ่งเริ่ม) เราตอบประมาณว่าพวกงานคอนเสิร์ตหรือแฟนมีตติ้งก็ไม่สามารถจัดได้ แต่น่าจะได้เห็นงานและรายการต่าง ๆ ที่ถูกจัดในรูปแบบออนไลน์มากขึ้น เป็นก้าวใหม่ใน industry และสามารถกลายเป็นหนทางในการสร้างรายได้ที่มากขึ้น เนื่องจากงบที่ต้องใช้น้อยลงและจำนวนคนที่สามารถเข้าชมก็ไม่ถูกจำกัด หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้เราอธิบายความแตกต่างระหว่างการรับมือกับ pandemic ของ Eastern countries กับ Western countries เนื่องจาก culture ที่แตกต่างกัน เราตอบประมาณว่าคน Eastern จะมีความแพนิคที่สูงกว่า และคล้อยตามคนหมู่มากได้ง่าย เลยทำให้คนให้ความร่วมมือกับการสวม mask และเฝ้าระวังมากกว่า ส่วนคน Western จะเชื่อว่าตนเองมีอิสระในการทำอะไรหลาย ๆ อย่าง บางคนจึงไม่ใส่หน้ากากอนามัยเพราะเชื่อว่าเป็นสิทธิของตนเอง (ช่วงนั้นโควิดในประเทศในเอเชียยังระบาดไม่หนักเท่าประเทศอิตาลีกับอเมริกา) ก่อนจบอาจารย์ก็ถามเราว่ามีคำถามอะไรไหม (ซึ่งควรถามนะคะ) ประมาณนี้ค่ะ สำหรับการสอบสัมภาษณ์รอบ admission (หรือรอบที่ 2)

จบแล้วนะคะสำหรับการรีวิว BALAC ซึ่งข้อมูลและประสบการณ์ที่บอกเล่าไปส่วนใหญ่จะมาจากมุมมองของเราเอง ไม่ได้ apply กับหรือ represent BALAC ทุกคนนะคะ เราหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับน้อง ๆ ที่กำลังสนใจหรือค้นหาตัวเอง ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาอ่าน แล้วมาเป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในรั้วจามจุรีด้วยกันนะคะ! พบกันใหม่ในบทความหน้าค่ะ

ps. ใครมีคำถามอะไรสามารถสอบถามเข้ามาได้เลยนะคะ!

--

--