ทำ Virtual Training ผ่าน Microsoft Teams สำหรับองค์กร

Mos Noppadol Rattanawisadrat
MSEDUTH
Published in
10 min readApr 30, 2020

มีหลายองค์กร กำลังพยายามทำการอบรมในรูปแบบออนไลน์กันอยู่ ซึ่งบทความนี้ผมจะพยายามแชร์ Best Pactice พร้อม How-to แบบ Step by Step ให้ทุกคนไปทำตามกันนะครับ

Microsoft Teams คืออะไร ?

ตัวอย่าง Case : บริษัทเรามีพนักงานจำนวนมาก ซึ่งมีการจัดอบรม สัปดาห์ละสองครั้ง แบบ Open ใครในองค์กรก็มาเข้าร่วมก็ได้ ทุกคนที่เข้าร่วมคือคนในองค์กร

Expected outcome : เราจะมีห้องที่ พนักงานสามารถเข้ามาเพื่อหาความรู้ได้ ไม่ว่าจะเป็นเรียนสดในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ หรือหาบันทึกการอบรมย้อนหลัง

การเทรนขนาดใหญ่แบบ 20,000 คนพร้อมกัน จะพูดถึงในบทความถัดไปนะครับ

Step 1 สร้างห้อง

หลังจากเริ่มเข้า Microsoft Teams ได้แล้ว เราสามรถเลือกสร้างห้องได้จากปุ่ม Team → Join or create a team ที่อยู่ด้านซ้ายล่าง → Create Team

จากนั้นเลือก Build a team from scratch ถ้าต้องการเริ่มใหม่จาก 0

หรือเลือก Create from… มันจะสามารถไปดึงเอาคนจากทีมเก่า หรือการตั้งค่าจากทีมเก่ามาใช้งานต่อได้ครับ

ถ้าเป็น Account Education จะมีให้เลือกเพิ่มเป็นทีม 4 แบบ ของที่เหมือนกันภาคเอกชนคือ Other

ถ้าเลือก Build from scratch จะมีให้เหลือกลุ่มอีก 3 โหมดนะครับคือ

  • Public ( ทุกคนเห็น )
  • Private ( ต้องเชิญเข้าหรือมี Code เท่านั้น)
  • และแบบ Org wide ( ทุกคนจะเข้ามาอยู๋ในทีมโดยไม่ต้องเชิญ ซึ่งต้องเป็นแอดมินสร้าง และองค์กรขนาดใหญ่ไม่เกิน 10,000 User — กำลังมีการเพิ่มเป็น 20,000 User เร็วๆนี้)

ในตัวอย่างนี้ ผมเลือกแบบ Public นะครับ

การเพิ่มห้องย่อย และ ตั้งค่าห้อง

ถึงตรงนี้ เราจะได้ ทีมโล่งๆ มาห้องนึง ชื่อทีมว่า Contoso Virtual Training กับห้องย่อยๆห้องเดียวชื่อ General

ตรงนี้ผมต้องการสร้างห้องย่อยเพิ่ม ด้วยเหตุผลอะไรบางอย่าง ให้ไปที่ (…) หลังชื่อทีมที่เราต้องการ และ Add Channel

ซึ่งถ้าเป็นห้อง Standard ทุกคนสามารถเขาถึงได้ และ Private มีเฉพาะคนที่เราเชิญเพิ่มถึงเข้าได้ครับ

ป้องกันคนกด Meet now หลายห้องจนงง

ในการตั้งค่าสิทธิห้องย่อย นอกจากตั้งว่าใครเข้าได้ไม่ได้แล้ว เรายังตั้งค่าเพิ่มได้อีกว่า เข้ามาแล้วทำอะไรได้บ้าง

เช่นถ้าเราอยากใช้ห้อง General เอาไว้ประกาศ หรือเข้าเรียน ถ้าทุกคนแย่งกันพิมพ์ แย่งกันสร้าง Meeting Online คงจะวุ่นวายน่าดูครับ

ผมแนะนำให้ไปที่ (…) ที่ห้องย่อย ที่ต้องการ แล้วกด Manage Chanel แล้วจากนั้นเลือก Only owners can post messages

Owners คือมีเจ้าของทีมได้หลายคนครับ เดี๋ยวจะพูดถึงการเปลี่ยนสิทธิให้อีกที

สำหรับ General
สำหรับห้องอื่นๆที่ไม่ใช้ General

ด้านล่างคือสิ่งที่สมาชิกเห็นนะครับ คือ ช่องพิมพ์จะ Disable รวมถึง ปุ่ม Meet now ก็จะกดไม่ได้ด้วยเช่นกัน

STEP 2 : เชิญคนเข้าห้อง

วิธีแรก : ค้นหาได้เลย ถ้าตั้งเป็นทีมแบบ Public โดยไปที่ Join or create a team ซึ่ง ถ้าทีมแบบ Public มีไม่เยอะมากก็จะเจอดังรูปที่แสดงนะครับ แต่ถ้าองค์กรขนาดใหญ่และมีทีมเยอะ ก็ค้นหาด้วยชื่อทีมได้เลยครับ

วิธีที่สอง : สร้างโค้ดเอาไว้ให้คนเข้าร่วม วิธีนี้ผู้ใช้ สามารถเอาโค้ดไปใส่ ตามรูปในช่องด้านบนเลยครับ ( ช่อง Enter Code )

วิธีนี้ เมื่อกรอก Code แล้วจะเข้าร่วมทีมได้เลย ไม่ต้องมีการ Approve เพิ่มเติมใน Private Team

วิธีที่สาม : ส่ง Link หลายคนใช้วิธีการเข้าผ่าน Link แทน การใส่ Code เพราะง่ายกว่าในการอธิบายผู้ใช้ใหม่ หรือบางท่าน นำไปทำ Short link หรือ QR Code ต่อก็ได้ครับ แต่คนที่กด link อย่าลืมให้เขา login MS Teams ก่อนนะครับ

วิธีนี้ เมื่อผู้ใช้กดเข้ามาแล้ว จำเป็นต้องใช้ Admin admit ( มีปุ่ม Admit all ) อีกทีในหน้า Manage team → Pending Request ครับ เฉพาะทีมแบบ Private นะครับ

วิธีที่สี่ : ใส่ชื่อหรือ อีเมลทีละคน… เหมาะกับคนน้อยๆ หรือเชิญกลุ่มเก่าที่ มีอยู่แล้วเช่นเราเชิญ กลุ่มวิทยากรไม่กี่คน ที่เราไม่อยากรอเขา ใส่ Code เข้ามาเอง การเชิญแบบนี้ ปลายทางไม่ต้องกดยอมรับด้วย จะเข้ามาในห้องเลย

จริง Ultimate use case ของวิธีที่สี่คือการเชิญคนนอกองค์กรครับ 3 วิธีแรกทำไม่ได้เลย ต้องพึ่งวิธีนี้ ซึ่งเราเชิญคนนอกได้หมดเลยครับ จะเมล @องค์กรอื่น หรือ @hotmail @gmail ได้หมดเลยครับ ถ้า Admin ขององค์กรท่านไม่ได้ปิด ฟีเจอร์เชิญคนนอกนะครับ

การเชิญคนจะเชิญจาก ชื่อ อีเมล distribution list หรือ จะกลุ่มเมล ก็ได้ครับ

สำหรับ Admin ในการสร้าง Distribution list ผ่าน CSV

วิธีที่ 5 ท่ายาก Admin แต่สะดวก User เอาเข้าแบบ Bulk File อ่านต่อที่นี่

ให้สิทธิ Owners

หลังจากเชิญคนเข้ามาด้วยวิธีต่างๆแล้ว ทุกคนจะเป็น Member ของห้อง ซึ่งเราสามารถเปลี่ยนสิทธิของเขาได้โดยไปที ่(…) หลังชื่อทีม → Manage team → Members

ติด Tag แบ่งกลุ่ม แบ่งแผนก

ในห้องที่ขนาดใหญ่มากๆ เป็นเรื่องยากที่เราจะรู้ว่าใครเป็นใคร เราอาจจะอยากปรึกษาเรื่อง Technical หรืออยากปรึกษากับทีม Dev การนั่งคลิกชื่อทีละคนเพื่อดูว่าใครเป็นใครอาจจะไม่เหมาะ

เราสามารถ ไปที่ Manage Team แล้วติด Tag ให้กับทีมงานแต่ละคนได้เลยครับ เช่น Tag TA

วิธีนี้ จะช่วยให้เราสามารถใช้ @mention ได้อย่างสะดวกมากขึ้นครับ เช่น @TA ก็จะไปเด้ง notification ของทุกคนที่เป็น TA เลย

หรือเรามีอบรมพิเศษสำหรับ HR เราก็ @HR แจ้งให้ HR ทุกคนทราบได้เลย

หรือจะกด คลิกเข้าไปที่ Tag แล้วกด Chat with group ก็ได้ครับ จะสามารถคุยแชทกับคนใน Tag นั้นๆได้

ถ้าคนเยอะมากจริงๆ เราอาจจะอนุญาตให้ member tag ตัวเองเพื่อลดภาระของ Admin ก็ได้ครับ

STEP 3 นัดเวลาสอน การตั้งค่าสิทธิคนเข้าร่วม

เอาหล่ะ ตอนนี้สมมุติว่าเรารวมทุกคนที่ต้องการเข้ามาได้แล้ว ( อาจจะไม่ครบ แต่ว่าต้องประกาศการอบรมครั้งแรกแล้ว )

ให้เรามองหา โลโกรูปกล้อง ใกล้ๆแถบแชทนะครับ

ถ้าต้องการเริ่มทันทีตอนนี้เลยก็กด Meet now ได้เลยครับ มันจะเด้งแชทให้ทุกคนกดเข้าร่วม แต่รอบนี้ผมขอพูดถึงการนัดล่วงหน้านะครับ เราจะกดไปที่ปุ่ม Schedule meeting

ให้ใส่ชื่อวิทยากรทุกคนในช่อง Add required attendees เพื่อที่จะล๊อค Calendar ของเขาโดยอัตโนมัติ เหมือนเชิญด้วยอีเมลปกติ จะ hotmail gmail เมลองค์กรอื่นได้หมดนะครับ

วิทยากรจากภายนอก ก็สามารถร่วมสอนได้เช่นกัน

หน้าตาด้านซ้ายคือของ Owners ทั้งหลาย และ ด้านขวาคือ คำเชิญของคนในทีมทั่วไป

คนที่มีรายชื่อที่เรา Add เข้าไป จะถูก Lock ตารางให้อัตโนมัต ิแต่คนที่เหลือในห้อง จะเหมือนได้รับจดหมายเชิญ ต้องกด Accept ก่อน

เมื่อคลิกเข้าไปแล้ว เราก็สามารถกด Add to Calendar หรือจะกดตอบรับก็ได้ เพื่อนับจำนวนคนเข้าร่วม หรือจะปฏิเสธก็ได้ (แต่เท่าที่ลองมา คนไม่เข้าก็ไม่กดอะไร คนเข้านี่สิ กดบ้างไม่กดบ้าง พอถึงเวลาก็เข้าห้องเลย)

ถ้าเขาอยากเข้าก่อนเวลาเพื่อทดสอบ ก็กด Join ตรงมุมขวาได้เลยครับ

แต่เมื่อห้องประชุมเริ่มแล้ว มันจะมีปุ่ม Join โผล่ขึ้นมาใหญ่ๆเลยครับว่าห้องกำลังเริ่ม

ตอนนี้ทุกคนที่เข้าห้องมาจะได้รับ Role เป็น Presenter ครับ แปลว่า ทุกคนสามารถแชร์หน้าจอได้ กดหยุดบันทึกได้ แปลว่า ถ้ามีคนมือซน ก็จะแย่งพรีเซนท์ จนเกิดการสะดุดได้ครับ

วิธีการแก้ง่ายๆเลยคือ ไปที่ Calendar แล้วเลือก ตารางนัดที่เราจะอบรม

จากนั้นไปที่ Meeting Options แล้วเปลี่ยน Who can present เป็น Only me หรือ ระบุคนเไปเลยครับ

ตรงนี้ จะเป็นค่าเริ่มต้นของทุกคน ซึ่งสามารถให้สิทธิเพิ่ม ระหว่างห้องได้ ดังนั้นผมแนะนำ Only me จะดีสุดครับ

ระวังเเคส คนสร้างห้องลางานนะครับ เผื่อๆ Specific people ไว้สำรองก็ดีครับ

ภาพซ้าย คือหน้าตาของ Member ที่ถูกตั้งค่า Default เป็น Attendee ซึ่งจะแชร์หน้าจอไม่ได้ กดบันทึกไม่ได้

ภาพขวาคือของ Presenter ซึ่งทำได้ทุกอย่างครับ รวมถึงให้สิทธิคนอื่นในการ Present ได้ด้วย โดยไปที่ Paticipants → (…)หลังชื่อคน → Make a presenter

ถ้าจะยึดสิทธิคืนก็ (..) → Make an attendee

ลำดับสิทธิ Organizer → Presenter → Attendee

Setting อื่นๆ ตรง (…) เปิดขึ้นมาจะเจอฟีเจอร์การ Blurr BG หรือ เปลี่ยน Background แล้วก็พวกปุ่ม Record ปุ่ม End meeting

เช็คชื่อคนเข้าห้อง

กดไปที่ Paticipants และมุมขวาบนจะมีปุ่ม Download มาให้ ซึ่งปุ่มนี้มีเฉพาะ Organizer เท่านั้นที่กดได้

จะได้ File Excel ออกมาแบบนี้ พร้อมบอกเวลาเข้าออก ถ้าใครเข้าๆออกๆ ก็บอกหมด

รายละเอียดเพิ่มเติม

STEP 4 เอาหล่ะพูดถึงการสอนกันนิดนึง

การแชร์ PowerPoint การแชร์วีดีโอ การเขียน whiteboard

ซึ่งใน Microsoft Teams นั้นจะมีวิธีการแชร์ทั้งหมด 4 รูปแบบด้วยกันคือ

  1. Desktop — คนในห้องประชุมจะเห็น ทุกอย่างเหมือนที่เราเห็น เป็นการแชร์แบบที่เข้าใจง่ายที่สุด Record ก็จะเห็นแบบที่เราเป็นเป๊ะๆเลย แต่มีข้อควรละวังตรงที่ ถ้าหากเราแอบ Tabs ไปเล่น Facebook หรือมีคนทัก Line มา ทางบ้านก็จะเห็นด้วย ( อย่าลืมปิด line ก่อนแชร์แบบนี้นะครับ )
  2. Window — แปลเป็นภาษาคนคือ แชร์เป็นโปรแกรมๆไป เช่น แชร์เฉพาะ PowerPoint ทางบ้านก็จะเห็นเฉพาะ PowerPoint หรือ แชร์เฉพาะ Web Browser ทางบ้านก็จะเห็นเฉพาะ Web Browser เราจะแอบไปเล่นไลน์ หรือทำเอกสารอื่นๆรอ ทางบ้านก็จะไม่เห็นครับ เวลา Record ก็จะเห็นเฉพาะโปรแกรมที่เราแชร์เท่านั้นด้วย ณ เวลาที่เราแชร์
  3. PowerPoint — อันนี้คือเหมือน อัพโหลดไฟล์เข้าไปใน MS Teams เลยครับ ในเครื่องเราไม่ต้องเปิด PowerPoint เลยครับ เรากดเปลี่ยนหน้า PowerPoint จากในนี้ได้เลย ซึ่งคนทางบ้าน ก็สามารถเปลี่ยนไปหน้าอื่น เหมือนดูล่วงหน้าได้เช่นกันครับ ( มีปุ่มกดย้อนกลับให้ดูหน้าเดียวกับ Presenter และ Presenter สามารถห้ามไม่ให้ดูล่วงหน้าได้) ส่วนการ Reccord จะเหมือนข้อ 2 ครับ คือเห็นแต่ PowerPoint ณ เวลาที่แชร์
  4. Whiteboard — ตรงไปตรงมาครับ แชร์ Whiteboard ที่ทำให้คนทั้งห้องประชุม สามารถเขียนบนกระดานเดียวกับได้แบบReal Time ( เฉพาะคนในองค์กรเดียวกัน) โดยส่วนตัวแล้ว ผมกดปุ่มแชร์ Whiteboard เพื่อแค่เชิญทุกคนในห้องเข้ามา Whiteboard เดียวกันเท่านั้น
  5. Include System Audio — ถ้าใครจะเปิด วีดีโอที่มีเสียงจากเครื่อง ให้คนทางบ้านดู อย่าลืมติ๊กถูกปุ่มนี้ก่อนนะครับ หรือจะประยุกต์ใช้ Kahoot ก็เหมาะนะครับ แต่ต้องระวังเรื่องคนดูผ่านมือถือ แล้วมีอุปกรณ์เดียว จะเข้าร่วมลำบาก

ถ้าหาปุ่มนี้ไม่เจอด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม กด Share Desktop แล้วเอาเม้าส์ไปชี้บนๆ จะเจอปุ่มนี้เช่นกันครับ

สิทธิของแต่ละ role อย่าลืมปรับให้คนเข้าฟังเป็น Attendee นะครับ

และในห้องเทรน เนื่องจากทุกคนสามารถพูดคุยโต้ตอบได้ อย่าลืมแจ้งทุกคนให้ปิดไมค์เมื่อไม่ต้องการพูด แต่จากประสบการณ์ของผมคือ มันต้องมีคนลืมแน่ๆ ดังนั้น เราสามารถปิดไมค์ทุกคนได้ จากการกดรูปหัวคน แล้ว Mute all ได้
( ถ้ามีท่านอื่นกำลังพูดอยู่ อาจจะปิดรายคนก็ได้ครับ (…) หลังชื่อแล้ว mute )

ปุ่ม Raise your hand บางองค์กรจะยังไม่มีนะครับ ทยอยอัพเดท

ในโหมด Whiteboard เมื่อเปิดขึ้นมาแล้วสมาชิกองค์กรทุกคนในห้องจะสามารถเขียนร่วมกันได้ (ถ้ามีคนนอกที่เป็น Guest เข้ามาฟังด้วย เขาจะไม่เห็น)

Whiteboard in Teams

ถ้าต้องการใช้งานฟีเจอร์แบบเต็มๆ สามารถ Download Microsoft Whiteboard จาก Microsoft Store ได้ฟรี (หลายคนไม่รู้ว่ามี MS Store ใน windows 10 ด้วย)

คุณสามารถแชร์ Desktop โดยที่ไม่ต้องกดปุ่ม whiteboard ใน Teams เลยก็ได้ ถ้าเราเขียนคนเดียว

แต่ถ้าอยากให้ทุกคนเขียนด้วย แล้วก็อยากได้ฟีเจอร์แบบเต็มๆด้วย ก็ แชร์ whiteboard ก่อน เพื่อให้ระบบช่วยเชิญทุกคนในห้องเข้า whiteboard ( ไม่งั้นต้องมาเชิญเองทีละคนใน whiteborad)

Whiteboard บน Windows

การปิดการประชุม โดย Organizer

การบันทึก

Presenter/Organizer ของอค์กรนั้นๆสามารถกดบันทึกการอบรมได้ ( Guest speaker แม้จะเป็น Presenter ก็กดบันทึกไม่ได้)

การกดปุ่มจะเป็นเหมือนการส่งสัญญาณบอก Microsoft ว่า เฮ้ บันทึกให้หน่อย คนบันทึกไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องตลอดเวลา ระบบจะหยุดบันทึกเมื่อทุกคนออกจากห้อง หรือเรามาสั่งหยุดเอง ซึ่งคนสั่งหยุด จะเป็น Presenter ท่านอื่นก็ได้ ( นี่เป็นเหตุผลที่ควรตั้งผู้เข้าฟังอบรมเป็น attendee ไม่งั้นจะมีคนซนไปกดเล่น)

เมื่อบันทึกเสร็จแล้ว บันทึกการอบรมจะเปิดให้เข้าดูใต้แชทของปุ่มเข้าร่วม

การ Render และ Store จะทำบน Cloud ทั้งหมด เราไม่ต้องมีคอมพิวเตอร์เครื่องแรงๆเพื่อบันทึกการอบรมยาวๆ หรือ มีพื้นที่เก็บเยอะๆ ซึ่ง ระบบจะเก็บไว้ให้บน Microsoft Streme เราสามารถเข้าไปจัดการเพิ่มเติมได้โดยไปที่ Stream โดยตรง หรือ กด (…) แล้ว Open in Microsoft Streme ก็ได้

โดยจะไปเก็บไว้ใน Video ของคนกด Start record

ซึ่งจากหน้านี้ มันจะเหมือนเราอัพ Clip Youtube แบบลอยๆ ที่สามารถ Downloadได้

จริงๆแล้วเราสามารถจัดการให้มันรวมอยู่ใน Channel เดียวกันได้ เหมือน มีห้อง อบรม 3–4ห้อง คนกดอัด 3–4 คน แต่ว่า อยากให้ทุกคลิป มารวมใน ชาแนล เช่น Video Record Training

ไปที่ My content → Channels → Create Channel

จากนั้นไปที่ Video ที่เราต้องการ → (…) → Add to group/ Channel → Share with Channels ที่ต้องการจะเพิ่มเข้าไป

ถ้าเราไม่ใช่เจ้าของ Channels ให้ติ๊กถูก Owner ให้เจ้าของ Channel ด้วย แล้วค่อยให้เจ้าของ Channel เป็นคนเพิ่ม Video เข้า Channel อีกที

การทำ Knowledge management

หลังจากที่เรารวม Video Record ใส่ในที่เดียวเรียนร้อยแล้ว เราสามารถเอา Channel นี้ ไปแปะเป็นปักหมุด (Tab) ไว้ที่ Teams ของเรา เพื่อให้คนอื่นสังเกตุได้ง่ายได้

กด (+) เพื่อเพิ่ม Tab และเลือก Stream

จากนั้น ค้นหาชื่อ Channel หรือจะเอา Link มาแปะเลยก็ได้เช่นกัน

จริงๆจะแปะแค่วีดีโอเดียวก็ได้เหมือนกันครับ

ผลลัพธ์ที่ออกมา จะมี Video ที่คนในองค์การสามารถกดดูย้อนหลังได้เลยครับ

การทำ Feedback

ทุกครั้งหลังจากจบการอบรม มักจะมีการขอ Feedback ถ้าเป็น Offline เราคงยื่นกระดาษให้ หรือขึ้น Link และ QR code ให้ แต่ถึงอย่างนั้น ก็มักจะมีคนที่ถามอยู่เสมอๆว่า ไปกรอกข้อมูลได้ที่ไหน

ใน Teams เราสามารถปักหมุด การให้ Feedback ไว้ที่ ด้านบนของห้องเรียน อาจจะเป็นข้างๆที่ดูการเรียนย้อนหลัง ซึ่งเป็นที่ ที่คนอื่นสังเกตได้ง่าย

เพียงกด (+) เลือก Forms

ก็สามารถดึงฟอร์มที่สร้างเสร็จแล้ว มาแปะไว้ในทีมได้ ( จะบังคับเก็บชื่อหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับตอนเราตั้งค่าการแชร์ในหน้า Forms เลยครับ )

วิธีการสร้างฟอร์มจะขอพูดถึงในย่อหน้าเรื่องถัดไปนะครับ

เราก็จะได้ฟอร์มที่แปะอยู่ในที่ ที่ทุกคนหาเจอเรียบร้อย

ตัวอย่างคำถามที่แนะนำ

  1. Drop down “Class” — เพื่อสอบถามว่ามาจากคลาสเรียนไหน เนื่องจากมีการอบรมอยู่บ่อยครั้ง การสร้างใหม่ทุกครั้งอาจยากต่อการนำไปวิเคราะห์ต่อ
  2. Net Promoter Score — ต่างจากการให้คะแนน 0–10 แบบปกติตรงที่ ผลลัพธ์ออกมาจะไม่ได้เป็นค่าเฉลี่ย แต่จะแยกคนออกเป็นสามกลุ่ม คือ 0–6 ไม่สนับสนุน, 7–8 รู้สึกเฉยๆ , 9–10 สนับสนุนคลาสเรียนของเรา ซึ่งการแบ่งเป็นสามกลุ่มแบบนี้จะช่วยให้รู้ได้ว่า กลุ่มไม่สนับสนุนเขามีเหตุผลอะไร และอะไรที่ทำดีแล้วในกลุ่มสนับสนุน

ส่วนการดูผลลัพธ์ก็ สามารถกดกลับไปที่ฟอร์มของเรา แล้วเลือก Respones แล้ว Open in Excel ได้เลย

การทำ Test ผ่าน Forms

หลายคนยังไม่ทราบว่า Microsoft Forms สามารถทำแบบทดสอบ ที่ตั้งค่าถูกผิดล่วงหน้าเอาไว้ได้

เปิดเข้ามาแล้วเราจะเจอ Options ในการสร้างฟอร์มอยู่สองแบบ คือ แบบสำรวจปกติ กับ แบบทดสอบ ซึ่งทั้งสองแบบต่างกันแค่ แบบทดสอบเราสามารถกำหนดถูกผิดได้

ถ้าเป็นข้อ Choice เราสามารถตั้งได้ว่าข้อไหนถูก หรือจะมีข้อถูกหลายข้อก็ได้ (ต้องเลือกทั้งหมด) ถ้าตอบผิด เราสามารถให้ Feedback ได้อีกด้วย

สามารถทำการสลับ Choice หรือ สลับข้อได้

หรือจะกระโดดข้ามไปมาด้วย Add Branching ก็ได ้เช่นถ้าคุณมาจากแผนกไฟแนนซ์ให้ข้ามไปทำข้อ 8

ถ้าเป็นข้อเขียน สามารถใส่คำตอบที่ถูกต้องไว้ล่วงหน้าได้ ใส่หลายคำตอบได้

นอกจากนี้ยังสามารถตั้งค่าอื่นๆได้อีกเพียบ ไม่ว่าจะเป็น ตอบได้แค่คนละครั้ง บังคับเวลาเปิดปิด จะเฉลยคำตอบทันทีเลยไหม

การทำ Test ผ่านฟอร์ม ใน Video ( Stream )

นอกจากเราจะดูบันทึกการอบรมย้อนหลังได้แล้ว ผู้จัดอบรมสามารถแทรก Quiz ลงไปในวีดีโอ ได้อีกด้วย (อารมรณ์เหมือนมีโฆษณาขึ้น) หรือจะแทรก Poll เล็กๆ หรือแทรก Feedback forms ก็ได้ครับ

จบแต่เพียงเท่านี้ก่อนครับ

ท่านไหนมีไอเดียหรือ requirement อยากทำอะไรเพิ่มเติม ลองพิมพ์บอกกันได้นะครับผมจะได้อัพเดทให้ท่านอื่นๆทราบด้วย

--

--

Mos Noppadol Rattanawisadrat
MSEDUTH

A guy who passionate on Technology, Psychology, Science and business thing